Category: ทรัพยากร

82950217_2957343244296649_1386653002084909056_o

ธนาคารปูม้าชุมชนบ้านนาชุมเห็ด ตำบลตะเส๊ะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง

ธนาคารปูม้าชุมชนบ้านนาชุมเห็ด ตำบลตะเส๊ะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง เป็นกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ คือ ปูม้า หรือ Blue Swimming Crab ที่มีชาวประมงพื้นบ้านเป็นสมาชิก โดยการบริหารของ ผู้ใหญ่บ้าน ชีวิน หลงกลาง ธนาคารปูม้า คือ กระบวนการหนึ่งในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ และอนุบาลสัตว์น้ำ โดยการนำแม่ปูม้า ที่มีไข่แก่ติดหน้าท้อง มาฝากไว้ในกระชังที่อยู่ในทะเลหรือในถังน้ำในโรงเรือน เมื่อแม่ปูม้าเขี่ยไข่ออกจากหน้าท้อง จึงจะนำแม่ปูม้าไปขาย ไข่ที่ถูกฟักออก ก็จะถูกปล่อยสู่ธรรมชาติ จนเติบโตเป็นปูม้าขนาดใหญ่ต่อไป ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชม คือชาวประมงในท้องถิ่น ช่วยกันนำเอาแม่ปูที่มีไข่นอกกระดอง ที่ยังมีชีวิตอยู่ มาบริจาคให้กับธนาคารปู เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์ ซึ่งขั้นตอนนี้จะไม่สำเร็จเลยหากปราศจากความร่วมแรงร่วมใจของคนในพื้นที่...

cover

รู้จักไหมเอ่ย ลูกหยีทอง อีกหนึ่งของดีเมืองตรัง

ลูกหยีทอง ของดีเมืองตรัง อีกหนึ่งพันธุ์ไม้พื้นเมืองดั้งเดิมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และน่าสนับสนุนให้เป็นพืชเศรษฐกิจ   ลูกหยี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dialium cochinchinense) ทางภาคใต้เรียก เขล็ง กาหยี หรือ บึ้ง ภาคอีสานเรียกเค็ง หรือนางดำ เป็นพืชท้องถิ่นในรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวัก พบในกัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย และเวียดนาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ปัจจุบันอยู่ในสถานะไม้อนุรักษ์ เพราะกำลังใกล้สูญพันธุ์ ไม้ของต้นหยี เป็นแก่นไม้เนื้อแข็ง ที่มีระดับความแข็งมากที่สุด ในภาคใต้มีไม้เนื้อแข็งชื่อว่า “ไม้หลุมพอ” ซึ่งได้ชื่อว่าแข็งมากแล้ว แต่ยังแพ้ “ไม้หยี” หรือที่ภาษาอีสานเรียกว่า...

กุ้งแม่น้ำ ตรัง

กุ้งแม่น้ำ

เมื่อ 30 ปีย้อนหลังขึ้นไป ตามบริเวณฝั่งแม่น้ำตรังตั้งแต่ท่าจีน อำเภอเมืองลงมาถึงอำเภอกันตัง ภาพชาวบ้านหิ้วพวงกุ้ง ปลา มารอรถริมถนนเพื่อเอาไปขายในเมือง มีให้เห็นแทบทุกเช้า และนี่คือที่มาของสำนวน กุ้งสิบร้อยคล้า กุ้งห้าร้อยจาก

หอยปะ - ตรัง

หอยปะ

หอยปะเป็นหอย 2 ฝา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Meretrix Lusoria ที่อื่นอาจเรียกว่า หอยขาว หรือหอยตลับลาย ที่หมู่บ้านปากน้ำปะเหลียน ฝั่งตะวันออกตั้งแต่บ้านหินคอกควาย ฝั่งตะวันตกตั้งแต่บ้านวังวนลงไป บ้านเรือนสองฝั่งมีเปลือกหอยปะทับถมนับล้านๆ ตัว บ่งบอกถึงทรัพยากรที่หล่อเลี้ยงผู้คนมายาวนาน เพราะในร่องน้ำระหว่างสองฝั่งมีเกาะเล็กๆ ชื่อเกาะหอไหร้ ซึ่งปกคลุมด้วยป่าชายเลน เมื่อน้ำขึ้นจะท่วมไปทั้งเกาะ ครั้นพอน้ำลงจะเห็นแนวทรายเป็นบริเวณกว้าง ที่ตรงนี้คือแหล่งหอยปะขนาดใหญ่ อาจจะใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก็เป็นได้ ส่วนด้านปากน้ำตรังก็มีแหล่งหอยปะตั้งแต่บริเวณสถานีวิจัยนิเวศวิทยาป่าชายเลน หมู่บ้านโต๊ะหร้าไปถึงเกาะเคี่ยม และทะเลด้านนอกจนถึงแหลมจุโหย เกาะลิบง ปริมาณหอยด้านนี้น้อยกว่าด้านแม่น้ำปะเหลียน

แบไรต์

แบไรต์

แบไรต์   ที่ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน ก็เป็นแหล่งแร่แบไรต์ ที่เคยมีการทำแร่เพื่อส่งออก แต่ปัจจุบันเลิกไปแล้ว   กิจกรรมเกี่ยวข้องกับการทำแร่ของจังหวัดตรังในวันนี้ มีเพียง แร่ ในความหมายของกรมทรัพยากรธรณี คือการระเบิดย่อยหินเพื่ออุตสาหกรรมเท่านั้น มรดกจากแหล่งแร่ของเมืองตรังจึงเหลือเพียงตำนาน    

ลิกไนต์

ลิกไนต์

ลิกไนต์   ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง เป็นแหล่งแร่ถ่าน หินประเภทลิกไนต์ซึ่งมีผู้ค้นพบมานานแล้ว สมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีกล่าวถึงในจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู พระนิพนธ์สมเด็จฯเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ว่า “ถึงคลองติงมุ้น เป็นภาษาแขกแปลว่า แตงกวา อยู่ฝั่งขวาใกล้ปากน้ำ ลงเรือเล็กไป 5.25 ถึงบ่อถ่าน 6.25 เขาขุดคูห่างคลองประมาณ 6 วา ขุดลึก 6 ศอก พบถ่านเนื้อพอจะใช้ได้แต่ไม่สู้ดี วิถีถ่านเทลงไปในคลอง ว่าในคลองก็มี…”   ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวเปนที่ให้สัมปทาน แต่การขุดแร่หยุดชะงักไปแล้ว เพราะปริมาณและคุณภาพของถ่านไม่คุ้มการลงทุน  ...

ดีบุก

ดีบุก

ดีบุก   สมัยรัชกาลที่ 5 เหมืองแร่ดีบุกในเมืองตรังสามารถส่งแร่เป็นสินค้าออกได้ถึงปีละ 1,300-1,400 หาบ ในบริเวณอำเภอห้วยยอดเป็นแหล่งที่มีเหมืองแร่มากที่สุด ปัจจุบันดีบุกราคาตกต่ำ และจำนวนแร่มีน้อยลง เหมืองดีบุกจึงเลิกไปหมดแล้ว    

นก

แหล่งนก

  จังหวัดตรังมีแหล่งนกที่นักดูนกรู้จักกันดี โดยเฉพาะที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเกาะลิบง นับเป็นแหล่งนกอพยพจากแดนไกลแหล่งใหญ่ที่สุดในฝั่งทะเลตะวันตก นอกจากนี้ยังมีแหล่งนกประจำถิ่นอีกหลายแห่ง เช่น วังนกน้ำ อำเภอวังวิเศษ อุทยานนกน้ำคลองลำชาน สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์หรือสวนสาธารณะทุ่งน้ำผุดของเทศบาลเมืองตรัง สระกะพังสุรินทร์ ทะเลสองห้อง ที่น้ำตกร้อยชั้นพันวังนั้นเป็นแหล่งของนกแต้วแร้วทองดำ ที่เขาหลักตำบลน้ำผุดจะมีนกเงือก ส่วนตามป่าโปร่งเชิงเขาแถบบ้านหาดเลา แหลมสอม และป่าดงใกล้เคียง จะมีเสียงเพลงเซ็งแซ่จากนกบินหลา หรือนกกางเขน และนกกรงหัวจุก หรือนกปรอด ต่อมานกเหล่านี้ถูกจับไปอยู่ในกรงตามบ้านนักนิยมทั้งในเมืองตรังและต่างจังหวัด เสียงเพลงจากนกน้อยจึงแผ่วลงทุกวัน

Holothuria_atra2 ปลิงทะเล

ปลิงทะเล

ปลิงทะเลมีชื่อวิทยาศาสตร์ Holothuria atra เป็นสัตว์ตัวสีดำแกมเทา ถ้าพลิกท้องจะเห็นเป็นสีขาว รูปร่างทรงกระบอก ยาวประมาณ 5-6 นิ้ว มีปากช่องขับถ่ายอยู่ที่ส่วนหัวและส่วนหาง ผิวขรุขระรอบตัว ฝังตัวอยู่ตามโคลน ทรายหรือตามกอหญ้าทะเล บางทีก็ถูกคลื่นซัดขึ้นมาอยู่ตามชายหาด พบมากตามเกาะต่างๆ ทั้งเกาะลิบง เกาะมุก และเกาะสุกร ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปลิงทะเลตากแห้งจากเกาะลิบงเป็นสินค้าออกที่สำคัญอย่างหนึ่ง

Donax scortum Linn. หอยตะเภา

หอยตะเภา

หอยตะเภา เป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปในท้องถิ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Donax scortum Linn. มีชื่อพ้องว่า Hecuba scortum Linn. บริเวณที่พบหอยตะเภามากที่สุดคือที่หาดปากเมง อำเภอสิเกา ที่หาดสำราญก็มีบ้าง บริเวณที่มีหอยตะเภามักจะพบหอยเจดีย์หรือหอยหลักไก่อาศัยอยู่ด้วย

Solen-strictus-Gould. หอยหลอด

หอยหลอด

หอยหลอด ชาวบ้านเรียกหอยชนิดนี้ว่าหอยยอน ชื่อวิทยาศาสตร์ Solen strictus Gould. พบมากที่บริเวณชายหาดสำราญของกิ่งอำเภอหาดสำราญ ชาวบ้านมีวิธีหาหอยหลอดแบบง่ายๆ คือสังเกตดูว่ามีมูลหอยอยู่ที่ใด เมื่อพบให้ใช้ส้นเท้าย่ำลงบนพื้นดินตรงนั้น ถ้ามีหอยอยู่ รูหอยจะเปิดขึ้นพร้อมกับที่หอยบ้วนน้ำ การจับหอยต้องใช้ก้านมะพร้าวอันเล็กๆ กัดปลายให้แตกบานออกเล็กน้อย เพื่อให้ติดน้ำยาซึ่งทำด้วยปูนขาวผสมพริกชี้ฟ้าตำละเอียด ละลายน้ำให้ข้นๆ เอาก้านมะพร้าวจุ่มน้ำยาแหย่ลงไปในรู หอยทนพิษยาไม่ไหวก็จะขึ้นมาให้เห็นจนถึงขึ้นมาได้

oyster หอยนางรม

หอยนางรม

หอยนางรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crassostrea commerciallis ภาษาอังกฤษเรียก oyster ชาวบ้านเรียกว่าหอยแตะหรำ คำนี้ยังเป็นชื่อหมู่บ้านในอำเภอกันตัง คำว่า แตะหรำ มาจาก ติรัม ภาษามลายู แปลว่า หอย บริเวณปากแม่น้ำปะเหลียนโดยเฉพาะตรงบ้านแหลมเป็นแหล่งหอยนางรมธรรมชาติที่ใหญ่มากแหล่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นหอยสีขาวที่มีคุณภาพซึ่งราคาดีมาก แต่ด้วยการเก็บเกี่ยวเพื่อขายมากขึ้นทำให้หอยลดน้อยลงทุกที

ปลาตุหนา ปลาไหลดำ

ปลาตูหนา อาหารโปรดของ พระยารัษฎานุประดิษฐ์

มีตำนานชาวบ้าบกล่าวถึงปลาชนิดหนึ่งในแม่น้ำตรังว่ามีตัวใหญ่ขนาด หูเท่ากระด้ง ปลามีหูชนิดนี้คือปลาไหลหูดำ ปลาตูหนา ตุหนา หรือโตะหนา เรียก ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Anguilla bicolour และชื่อภาษาอังกฤษว่า True eel

Capricornis-sumatraensis

เลียงผา

เลียงผา เรียกชื่อตามชาวบ้านว่า คุรำ คูรำ หรือโครำ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis sumatraensis รูปร่างคล้ายแพะ ต่างกันแต่เลียงผาไม่มีเคราอย่างแพะ สีดำตลอดลำตัว มีเขาเป็นรูปกรวยโค้งไปข้างหลัง มีนิสัยชอบกระโดดปีนป่ายไปตามหน้าผาหิน เลือกกินใบไม้อ่อนๆ เป็นอาหาร ซึ่งมีหลายชนิด เช่น เหยื่อคุรำ เป็นไม้ล้มลุก มีผู้นิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับด้วย อื่นๆ ก็มี เกล็ดมังกร และใบเข็มป่า เป็นต้น

หญ้าทะเล

หญ้าทะเล

หญ้าทะเลเป็นพืชชั้นสูงชนิดหนึ่งที่สามารถเติบโตได้ดีในน้ำทะเล ซึ่งนักพฤษศาสตร์กล่าวว่า หญ้าทะเลเป็นพืชที่วิวัฒนาการมากสาหร่ายทะเล และเคยเป็นพืชที่เจริญเติบโตอยู่บนบก ต่อมาได้ปรับตัวลงไปเจริญเติบโตในทะเลอีกครั้ง เป็นพืชที่พบว่าสามารถเติบโตได้ดีในเขตอบอุ่นถึงเขตร้อน อยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นเป็นปล้องอยู่ใต้ดิน มีรากงอกออกมาตามข้อ กิ่งก้านใบจะงอกชูขึ้นข้างบน มีดอกและมีผล ในจังหวัดตรังพบหญ้าทะเลขึ้นชุกชุมตามแถบชายฝั่งหลายแห่ง ที่พื้นทะเลมีสภาพเป็นดินทรายปนโคลน เช่น เกาะสุกร เกาะลิบง เกาะนก ปากคลองเจ้าไหม เกาะมุก หาดฉางหลาง และแหลมไทร

nypa-3989109_1280

จาก

จาก พืชอีกชนิดหนึ่งที่เป็นพืชตระกูลปาล์มเช่นเดียวกับสาคูคือจาก (Atap palm) ที่อยู่ของจากคือป่าชายเลน บริเวณน้ำกร่อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nypa fruticans Wurmb แหล่งจากของจังหวัดตรังเป็นแนวขนานกับแม่น้ำตรัง เขตอำเภอกันตัง เริ่มตั้งแต่ตำบลบางหมากตอนล่าง ย่านซื่อ คลองลุ บ่อน้ำร้อน ลงมาจนถึงตำบลกันตังใต้ ตามชายฝั่งแม่น้ำปะเหลียนก็มีอยู่ตรงบริเวณบ้านแหลม ตำบลวังวน และพื่นที่อื่นๆ ที่น้ำทะเลขึ้นถึง หมู่บ้านริมแม่น้ำจึงมีอาชีพทำใบจากกันมาแต่ดั้งเดิม แหล่งใหญ่ที่สุดที่ยังคงทำใบจากสำหรับมวนยาสูบส่งขายและสืบทอดวิถีชีวิตริมแม่น้ำกับป่าจากมาจนปัจจุบันคือตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง

sago-palm-6576817_1280

สาคู

จากมรดกพืชพรรณแห่งตรังเขาลงมาสู่พื้นล่าง ตามที่ราบลุ่มตรังนาที่ยังคงความชุ่มชื้นอยู่ได้ เพราะมีพืชพรรณชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เป็นหย่อมๆ ตามแหล่งน้ำกลางทุ่ง นั่นคือ สาคู เป็นพืชตระกูลปาล์ม มี 2 ชนิด ชนิดที่ก้านช่อดอกไม้ไม่มีหนาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Metroxylon sagu Rottb. ส่วนชนิดที่ก้านช่อดอกมีหนามชื่อ Metroxylon rumphii Mart. คำว่าสาคู มาจากภาษามลายู ภาษาอังกฤษเรียกว่า Sago palm

paco fern 3

ผักกูด

  ตรังเป็นเมืองที่แสนอุดมสมบูรณ์ และหนึ่งในผักพื้นถิ่นยอดนิยมของบ้านเรา ก็คือ ผักกูด ซึ่งเอามาทำอาหารอร่อยได้หลายชนิด โดยเฉพาะยำผักกูด ที่ใครเคยชิมแล้วต้องชอบใจ นึกอยากกินจนน้ำลายสอ ผักกูดเป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Athyrium esculentum Copel. วงศ์ Athyriaceae ชื่อพ้องคือ Diplazium esculentum Sw. ชอบขึ้นตามที่ชื้น พบบริเวณที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ลำน้ำทั่วไป ตั้งแต่ที่ราบตรังนาจนไปถึงตามริมห้วย ในป่าต้นน้ำของเมืองตรังยังมีผักกูดอยู่อีกมาก นับเป็นพืชชั้นล่างที่เป็นตัวดัชนีชี้วัดความชุ่มชื้นของแผ่นดิน เพราะที่ใดมีผักกูดที่นั้นจะไม่ขาดน้ำ

pepper-525696_1280

พริกไทย

พริกไทยเป็นพืชเมืองร้อน ถิ่นกำเนิดเดิมคืออินเดีย จัดเป็นประเภทเครื่องเทศและสมุนไพร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum Linn. วงศ์ Piperaceae พริกไทยที่มีชื่อของเมืองตรังคือพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน

จั๋งน้ำพราย

จั๋งน้ำพราย

พืชสกุลปาล์มในประเทศไทยมีไม่ต่ำกว่า 150 ชนิด อยู่ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ประมาณ 100 ชนิด แต่ละชนิดมีรูปทรง ก้าน ใบ แตกต่างกันออกไปเป็นเสน่ห์เฉพาะตัว ในป่าเมืองตรังมีปาล์มอีกชนิดหนึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักนิยมปาล์มคือจั๋งน้ำพราย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhapis siamensis Hodel ส่วนในภาษาอังกฤษเรียก Lady palm หรือ Rhapis palm ชื่อจั๋งน้ำพรายเป็นการเรียกตามถิ่นกำเนิด เพราะพบครั้งแรกในบริเวณเขาน้ำพราย ตำบลปากคม อำเภอห้วยยอด