About us

43226019_10217383163993929_9054379135480102912_o

 >>For English Please scroll down

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ iamTrang.com เกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2552 โดยความร่วมมือของทีมงานภาคธุรกิจชาวตรัง ที่มีอุดมการณ์และจิตสำนึกรักบ้านเกิด จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาจังหวัดตรัง โดยมีวัตถุประสงค์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดตรัง ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว  ให้เกิดความอยู่ดีมีสุข ด้วยการส่งเสริมความพร้อมด้านการศึกษา ด้านสถานะเศรษฐกิจ ส่งเสริมสถานะความเป็นอยู่ของประชาชน ให้มีความสมบูรณ์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ สร้างโอกาสและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับสินค้า บริการ และทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น รวมถึงยกระดับความคิดให้ประชาชนในสังคมมีความเป็นปัญญาชนที่ถึงพร้อมด้วย สติปัญญา ความสามารถ คู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรม และระเบียบวินัย  เพื่อให้จังหวัดตรังซึ่งเป็นเมืองที่มีความได้เปรียบอยู่แล้วในเชิงภูมิศาสตร์และทรัพยากร พัฒนาขึ้นเป็นพื้นที่ที่มีคุณภาพและศักยภาพในด้านการอยู่อาศัย ด้านเศรษฐกิจ-การลงทุน และการท่องเที่ยวสูงสุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ จนเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

**********************************************

ผู้ก่อตั้ง / บรรณาธิการบริหาร

คุณวรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์

**********************************************

คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ (ชุดก่อตั้ง)

1. คุณชวน หลีกภัย

2. คุณไมตรี อินทุสุต

3. คุณกิจ หลีกภัย

4. คุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง

5. คุณสลิล โตทับเที่ยง

6. คุณชาลี กางอิ่ม

7. คุณเจษฎา วินสน

8. คุณสวัสดิ์ มีแต้ม

9. คุณระลึก หลีกภัย

10. คุณโสมนัส สุทธินนท์

***********************************************

คณะทำงาน

1. วรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์ / บรรณาธิการบริหาร

2. วศิน ศรีวราธนบูลย์ / บรรณาธิการ

3. วรานนท์ สุทธินนท์ / ผู้ช่วยบรรณาธิการ

4. กุหลาบ อินพรม / ผู้ช่วยบรรณาธิการ

5. สรวิชญ์ หอมสุวรรณ / ช่างภาพ

6. พรทิพย์ ทองขวัญใจ/ กองบรรณาธิการ

**********************************************

หลักการและเหตุผล

จังหวัดตรัง เป็นหนึ่งในจังหวัดภาคใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอันงดงาม มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ทั้งในด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม  มีความเจริญทางเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ดีกินดี มีสังคมที่มีคุณภาพและเป็นพื้นที่ซึ่งประชาชนมีสวัสดิภาพ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีศักยภาพด้านการศึกษาสูงสุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศถึง 5 สถาบัน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้จังหวัดตรังมีศักยภาพในการพัฒนาให้เกิดความเจริญในมิติต่างๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด โดยอาศัยความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ของประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วน ในการวางแผนบริหารจัดการ และพัฒนาทรัพยากรต่างๆ ที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในมิติของ เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวนี้ จะเกิดผลเป็นรูปธรรมขึ้นได้ จำเป็นต้องอาศัยการจัดการในเชิงบูรณาการ โดยเริ่มต้นจากการเก็บรวบรวมและจัดหมวดหมู่ของข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่างๆ ของจังหวัดตรัง นำเสนอและเผยแพร่สู่สาธารณชนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนของประชาชนผู้อยู่อาศัยในจังหวัดตรัง นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและทั่วโลก ผู้บริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ของจังหวัด รวมถึงนักลงทุนทุกระดับ
ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับจังหวัดตรัง ที่ผ่านการเผยแพร่อย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ นอกจากจะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นฐานข้อมูลในการดำเนินงานเชิงพัฒนาในมิติต่างๆแล้ว ยังจะได้ผลในเชิงประชาสัมพันธ์ ทำให้จังหวัดตรังเป็นที่รู้จักในวงกว้าง อันจะนำผลดีในด้านอื่นๆ ตามมาอีกทั้งทางตรงและทางอ้อม

ด้วยแนวคิดนี้ เว็บไซต์ iamTrang.com จึงเกิดขึ้นโดยในเบื้องต้น ได้ริเริ่มขึ้นจาก ความร่วมมือระหว่าง บริษัท ดีพี สตูดิโอ จำกัด และทีมงานนิตยสาร HI-CLASS โดย อ. วรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์ ชาวตรัง ซึ่งเป็นสถาปนิก นักเขียน และนักวิชาการ ร่วมกับ คุณ สลิล โตทับเที่ยง นักธุรกิจชาวตรังที่มีผลงานระดับประเทศ ผู้บริหารโรงแรมธรรมรินทร์ธนา ในฐานะตัวแทนหอการค้าจังหวัดตรัง ผู้อุทิศตัวให้กับการพัฒนาเมืองตรังด้วยความเสียสละ และ คุณโสมนัส สุทธินนท์ ผู้บริหารตลาดสุทธินนท์  ตัวแทนฝ่ายประชาสัมพันธ์หอการค้าจังหวัดตรัง นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมเป็นที่ปรึกษาในวางแผนงานด้านศิลปวัฒนธรรม  และคณะทูตานุทูตจากนานาประเทศ ร่วมเป็นที่ปรึกษาในการประชาสัมพันธ์และพัฒนาข้อมูลข่าวสารสู่ระดับสากล

***********************************************

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็น สื่อกลางในการนำเสนอข่าวสาร เพื่อการพัฒนาจังหวัดตรัง ในด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว เผยแพร่สู่สาธารณชนทั้งในระดับจังหวัด ระดับประเทศ และระดับสากล เสมือนเป็นสื่อมวลชนที่มีศักยภาพแขนงหนึ่ง
  2. เพื่อเป็น ฐานข้อมูลที่ส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดตรัง  ในด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว สำหรับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในภาคประชาชน องค์กรภาครัฐ และเอกชน ได้สืบค้น ใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ
  3. เพื่อเป็น เวทีสาธารณะของชุมชนชาวตรัง ทั้งภายในจังหวัด และในระดับประเทศ ได้ใช้แสดงความคิด ความเห็นที่เป็นประโยชน์ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในเชิงสร้างสรรค์ ของภาคประชาชน เป็นพลังในการพัฒนาจังหวัดตรังให้มีความเจริญก้าวหน้า
  4. เพื่อเป็น ช่องทางเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ รวมถึง การเผยแพร่ทัศนคติ และค่านิยมที่ดีงาม จากแหล่งความรู้ ไปสู่สังคมชาวตรังในวงกว้าง
  5. เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมภาพลักษณ์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดตรังให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

 

***********************************************

เป้าหมาย

  1. เว็บไซต์ iamTrang.com จะเป็นเว็บไซต์ที่รวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาจังหวัดตรัง ในด้าน เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ที่มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด และมีความถูกต้อง เป็นที่ยอมรับเชื่อถือในวงกว้าง ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยมีการนำเสนอข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นๆ ด้วย อาทิ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเยอรมัน เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมเศรษฐกิจการค้า-การลงทุน รวมถึงการแลกเปลี่ยนทางด้านวิชาการและศิลปวัฒนธรรมกับนานาชาติ
  2. เว็บไซต์ iamTrang.com จะเป็นเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชน ซึ่งนำเสนอข่าวสารสำหรับคนตรังที่ได้รับความนิยมสูงสุดในจังหวัดตรัง จนพัฒนากลายเป็นโฮมเพจของประชาชนชาวตรัง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดตรัง ในด้าน เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ที่มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด และมีความถูกต้อง เป็นที่ยอมรับเชื่อถือในวงกว้าง
  3. เว็บไซต์ iamTrang.com จะเป็นสื่อกลางความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์และเป็นรูปธรรมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนชาวตรังทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดตรัง ในด้าน เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว รวมถึงเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนทุกหมู่เหล่า ทั้งภายในจังหวัด ไปจนถึงระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับสากล
  4. เว็บไซต์ iamTrang.com จะเป็นสื่อที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง และสามารถบริหารจัดการในการหารายได้เพื่อเลี้ยงตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความสนับสนุนจากภาครัฐหรือเป็นภาระกับผู้ดำเนินงาน แต่ทั้งนี้ การหารายได้ของเว็บไซต์ iamtrang.com  จะเป็นไปเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเว็บไซต์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักในเชิงพาณิชย์ และตั้งเป้าไว้ว่า เมื่อเว็บไซต์สามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองได้แล้ว จะมอบรายได้ส่วนหนึ่งหลังหักค่าใช้จ่าย เพื่อสนับสนุนกิจกรรมหรือโครงการเพื่อสาธารณประโยชน์ของจังหวัดตรัง
  5. เว็บไซต์ iamTrang.com จะเป็นเว็บไซต์สื่อกลางของสมาชิกหอการค้าจังหวัดตรัง รวมถึงภาคธุรกิจอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ทุกรูปแบบ

008

ประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำของ iamtrang

กรกฎาคม 2552
ริเริ่มทำเว็บไซต์ iamtrang.com
ได้รับความสนับสนุนจาก นิตยสาร HI-CLASS โดย คุณวสิน ทับวงษ์ บรรณธิการสังคม และคุณสรวิชญ์ หอมสุวรรณ ช่างภาพ ในการทำเนื้อหาและถ่ายภาพ
ร่วมกับ บริษัท ดีพี สตูดิโอ จำกัด เอื้อเฟื้อในการออกแบบเว็บไซต์ทีมงานได้ติดต่อขอเข้าพบประธานหอการค้าจังหวัดตรัง เพื่อขอคำปรึกษา ได้รับมิตรภาพและความร่วมมือตั้งแต่แรกเริ่มจาก คุณสลิล โตทับเที่ยง ในการให้คำปรึกษา รวมถึงเสนอให้ความสนับสนุนในการดำเนินงาน โดยจะให้ความอนุเคราะห์ด้านที่พักแก่ทีมงาน นักข่าว และช่างภาพที่ลงไปปฏิบัติงานเก็บข้อมูลที่ตรังหลังจากที่เว็บไซต์ได้รับการออกแบบขั้นเบื้องต้นแล้ว คณะทำงานประกอบด้วย วรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์, วสิน ทับวงษ์ และ สรวิชญ์ หอมสุวรรณ ได้เดินทางไปเก็บข้อมูลที่ตรัง
ตุลาคม 2552

การเริ่มต้นไปเก็บข้อมูลถ่ายภาพและสัมภาษณ์บุคคลที่จังหวัดตรัง ครั้งที่ 1 ได้รับความสนับสนุนสำคัญจาก คุณสลิล โตทับเที่ยง ให้ความอนุเคราะห์ที่พัก แก่นักข่าวและช่างภาพ และคุณระลึก หลีกภัย ให้ความสนับสนุนในการต้อนรับ รวมถึงกรุณาจัดหายานพาหนะ และผู้ช่วยเหลือ (พี่เมี้ยว พี่อู๊ด) นำชมสถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญที่น่าสนใจต่างๆ ในจังหวัดตรัง

ข้อมูลใน iamtrang.com ขั้นเริ่มต้นเป็นการสัมภาษณ์บุคคลสำคัญต่างๆ ที่มีคุณูปการต่อจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นภาคการเมือง ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงองค์กรอิสระต่างๆ

บุคคลสำคัญที่กรุณาให้เกียรติเผยแพร่บทสัมภาษณ์ แก่เว็บไซต์ iamtrang.com ได้แก่

(เรียงตามลำดับเวลาที่เข้าพบเพื่อทำการสัมภาษณ์)

คุณสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้าจังหวัดตรัง
คุณโสมนัส สุทธินนท์ ประชาสัมพันธ์หอการค้าจังหวัดตรัง
คุณบูรณศักดิ์ ฤกษ์สำรวจ ผู้อำนวยการททท.ตรัง
คุณชาลี กางอิ่ม นายกเทศมนตรี จังหวัดตรัง
อาจารย์มารศรี ตรีรัตนพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบูรณะรำลึก
คุณชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
คุณบุญโชค ชัยเกษตรสิน นายกเทศบาลตำบลทุ่งยาว
คุณอุทิศ มะลิแก้ว ผู้บริหารโรงแรมโกเต็ง
คุณภูษิต พฤกษารัตน์ Executive Assistant Manager โรงแรมอนันตรา สิเกา รีสอร์ท แอนด์ สปา
คุณชิดเชนตร สิทธินันทพันธุ์ ผู้บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด บิ๊กโฮมเฟอร์นิเจอร์ พาร์คมอลล์
คุณพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินนกแอร์
คุณมนัสนันท์ ตันติประสงค์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โอเรียนท์ไทย แอร์ไลน์ จำกัด
คุณสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
คุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง รองประธานหอการค้าไทย
คุณสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์

กุมภาพันธ์ 2553
หอการค้าจังหวัดตรัง โดยคุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง และ คุณสลิล โตทับเที่ยง ได้กรุณาให้เกียรติ ทีมงานเว็บไซต์ iamtrang.com เข้าร่วมงานวิวาห์ใต้สมุทร และทำข่าวกิจกรรมที่น่าสนใจดังกล่าว ทำให้ทีมงานได้มีีโอกาสไปเก็บข้อมูลจังหวัดตรัง และจัดทำบทสัมภาษณ์เพิ่มเติม
เมษายน 2553
นิตยสาร HI-CLASS เผยแพร่ข่าวสารของตรัง จากเว็บไซต์ iamtrang.com ได้แก่ สกู๊ปงานวิวาห์ใต้สมุทร และแนะนำสวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ ลงในคอลัมน์ Escape
ตุลาคม 2553

นิตยสาร HI-CLASS เผยแพร่บทสัมภาษณ์บุคคลสำคัญของจังหวัดตรัง ลงในคอลัมน์ INTERVIEW SCOOP ในชื่อเรื่อง “หอมดอกสะตอ” เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงความสามัคคีและความรักในท้องถิ่นของชาวตรัง ที่ยังคงเหนียวแน่น แม้สถานการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมา ในช่วงกลางปีนั้นจะมีปัญหา ความแตกแยกทางความคิดที่รุนแรง

พฤษภาคม 2553 เว็บไซต์ iamtrang.com ได้ทำจดหมายเรียนเชิญบุคคลสำคัญ ที่มีคุณูปการต่อจังหวัดตรังในทุกสาขา มาร่วมเป็น คณะที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และได้รับความร่วมมือตอบรับมาเป็นอย่างดีจากทุกท่าน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการเมือง และองค์กรอิสระต่างๆ
พฤศจิกายน 2553 ทีมงานเว็บไซต์ iamtrang.com และนิตยสาร HI-CLASS ได้รับเชิญให้ไปร่วมทำข่าว โครงการเซ็นทรัลมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษา ณ โรงเรียน บ้านโคกยาง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งนอกจากจะได้นำเสนอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคมของเซ็นทรัล (ซึ่งได้ขยายธุรกิจมาสู่เมืองตรัง โดยการเปิด ห้างโรบินสันตรัง และมีพิธีเปิดในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553) ยังได้ไปร่วมเดินทางท่องเที่ยวทะเลตรัง เที่ยวถ้ำมรกต เกาะมุก โดยความอนุเคราะห์จาก อบจ. ตรัง คุณกิจ หลีกภัย นายก อบจ. ตรัง และ คุณสมชาย…. รองนายก อบจ. (ผู้ค้นพบถ้ำมรกต)ทีมงาน iamtrang.com ได้สัมภาษณ์ นายก และรองนายก อบจ. ตรัง และนำเสนอโครงการพัฒนาสื่อเว็บไซต์ iamtrang.com ให้ท่านทั้งสองพิจารณาทีมงาน iamtrang.com ได้รับเกียรติจาก คุณไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ซึ่งกรุณาตอบรับเป็นที่ปรึกษาของเว็บไซต์ฯ ให้เข้าพบเพื่อขอคำแนะนำ หารือ แนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อจังหวัดตรัง โดยท่านผู้ว่าฯ ได้กรุณาให้ข้อคิด และหลักการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ รวมถึงให้คำสัญญาว่า จะกรุณาให้ความอนุเคราะห์แก่ทีมงานในการ จัดทำข้อมูล พัฒนาเนื้อหาของเว็บไซต์อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ท่านผู้ว่าฯ ได้กรุณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ iamtrang.com ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ผ่านสื่อวิทยุของทางจังหวัด ในรายการ ผู้ว่าอาสางาน
ธันวาคม 2553 8 ธันวาคม 2553 / ทีมงาน iamtrang.com ได้มีโอกาสรู้จัก กับคุณ Nititnant กับผู้บริหารเว็บไซต์ Pixtrang.com โดยการแนะนำของ คุณอิงอร เจ้าหน้าที่สำนักงาน ททท. ตรัง เนื่องจาก เว็บไซต์ iamtrang.com ลงรูปแหล่งท่องเที่ยวผิดพลาด แต่ไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลได้ จึงต้องขอความอนุเคราะห์จากทาง Pixtrang.com ซึ่งเป็นช่างภาพมืออาชีพ ชาวตรัง ที่ทำงานถ่ายภาพและสร้างชุมชนช่างภาพขึ้นในโลกไซเบอร์ เพื่อบริการสังคมด้วยจิตสาธารณะ ทำให้เว็บไซต์ iamtrang.comความรู้จักในครั้งนี้ นับเป็นหนึ่งในก้าวสำคัญของการแสวงหาพันธมิตร และเครือข่ายของท้องถิ่นตรัง ทำให้ได้รับการสนับสนุนภาพถ่ายที่สวยงาม จากเว็บไซต์ Pixtrang.com ในการนำเสนอข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผู้บริหาร pixtrang.com ยังได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ ในการพัฒนาแก่ iamtrang.com มากมาย เช่นการเปิดเว็บบอร์ด และการทำพื้นที่สำหรับโหลดภาพถ่าย ทำให้เว็บไซต์ iamtrang.com ได้เปิดใช้ webboard ขึ้นครั้งแรกในวันที่ 9 ธันวาคม 2553.12 ธันวาคม 2553 / คุณไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้ให้เกียรติแก่ วรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์ ผู้บริหารเว็บไซต์ iamtrang.com เข้าร่วมเป็นวิทยากรใน โครงการพัฒนาข้าราชการสู่ความเป็นมืออาชีพ เพื่อประชุมสัมมนาหัวหน้าส่วนราชการ / หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ / นายอำเภอทุกอำเภอ / ผู้บริหารสถานศึกษา / หัวหน้ากลุ่ม / หัวหน้าฝ่าย และผู้ปฏิบัติงานของส่วนราชการ / หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และอำเภอ จำนวน 400 คน ให้มีสมรรถนะเพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาตนเอง ไปสู่ความเป็นข้าราชการมืออาชีพ ทำให้เว็บไซต์ iamtrang.com ได้มีโอกาสขยายความรับรู้ไปสู่กลุ่มนักบริหารภาครัฐของตรัง อย่างกว้างขวาง

line

หมายเหตุ

  1. ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับจังหวัดตรังที่นำมาเผยแพร่ในคอลัมน์ Trang Knowledge เว็บไซต์ IamTrang.com เป็นสาระที่นำมาจากหนังสือ “วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดตรัง” จัดทำโดย คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542
  2. งบประมาณในการดำเนินงานทั้งหมดของเว็บไซต์ IamTrang.com ได้รับความสนับสนุนจาก บริษัท ดีพี สตูดิโอ จำกัด www.dp-studio.com

line

007

ABOUT: TRANG PROVINCE, THAILAND

Trang (Thai: ตรัง, pronounced [trāŋ]), also called Mueang Thap Thiang, is one of the southern provinces (changwat) of Thailand, on the west side of the Malay Peninsula facing the Strait of Malacca. Neighboring provinces are (from north clockwise) Krabi, Nakhon Si Thammarat, Phatthalung, and Satun.
.
Trang was formerly a port involved in foreign trade. It was the first place where rubber was planted in Thailand.
.
Phraya Ratsadanupradit Mahison Phakdi brought rubber saplings from Malaya and planted them here in 1899, and rubber is now an important export of the country. The Trang River flows through the province from its origin in the Khao Luang mountain range, and the Palian River flows from the Banthat mountains. The province of Trang has an area of approximately 5,000 square km and 199 km of Strait of Malacca shoreline.
.
The province is on the coast of the Strait of Malacca, and contains 46 islands together with the mainland area. There are only few plains, and most of the area is hills. The Khao Luang and the Banthat mountain range are the sources of the two main rivers of the province, the Trang River and the Palian River.
.
The southern coast of the province is protected in the Mu Ko Phetra National Park. The estuary of the Trang River together with the Hat Chao Mai Marine National Park and Ko Libong Non-hunting Area are also registered Ramsar wetlands.
.
Trang was an important seaport in southern Thailand. Legend says that ships always arrived in the morning, which led to the town’s name. “Trang” derives from the Malay word for light (terang). The province was once a part of the Srivijaya empire, an ancient Hindu-Buddhist Melayu Kingdom and the Malay Sultanate of Kedah until 1810.
.
According to cultural records Trang was one of 12 satellite towns that existed about 900 years ago, but it was during the reign of King Rama II that the province got its first governor. The first Westerner to arrive in Trang was Captain James Low, who came in 1838 to negotiate commercial benefits.
.
The original town was in Khuanthani (now a tambon in district Kantang). In 1893, the governor, Phraya Ratsadanupradit Mahison Phakdi, also known as Khaw Sim Bee na Ranong, decided to make Trang an important seaport and relocated the town to Kantang District on the Trang River delta. It was moved again to its present location 26 km inland in 1916 by King Rama VI because of repeated flooding.
.
Trang was the first area of Thailand where rubber trees were planted, brought there by governor Phraya Ratsadanupradit Mahison Phakdi from British Malaya in 1899.
.
The seal of the province shows a lighthouse bridge above a sea of waves. The lighthouse bridge refers to Trang as a seaport trading with foreign countries.
.
The provincial symbolic flower and tree is the green ebony (Jacaranda filicifolia). The plant was imported from Australia by the same governor who imported the rubber tree, and it quickly got the name “si trang” by the citizens.
.
The provincial slogan เมืองพระยารัษฏา ชาวประชาใจกว้าง ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา translates as “Phraya Rasda’s town, generous people, delicious roast pork, the first city where para rubber was planted, the Si Trang provincial flower, underwater coral reefs, scenic beaches and waterfalls.”
…..
References
1. “Trang”. Tourism Authority of Thailand (TAT). Retrieved 18 May 2015.
2. “Hat Chao Mai National Park”. Department of National Parks (DNP) Thailand. Retrieved 24 May 2015.
3. “Symbol of Trang”. OSM Andamnan: The Office of Strategy Management for Southern Province Cluster. Retrieved 26 May 2015.
4. “Trang Airport”. Department of Civil Aviation (DCA): Trang. Retrieved 24 May 2015