Category: ประวัติศาสตร์

เล่าเรื่องเมืองตรัง โดย อาจารย์สุพรรณ วังกุลางกูร

เล่าเรื่องเมืองตรัง โดย อาจารย์สุพรรณ วังกุลางกูร

จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ ด้านฝั่งทะเลอันดามัน ที่ตั้งตามพิกัดทางภูมิศาสตร์ เส้นแวงที่ 99 องศา 37 ลิปดาตะวันออก เส้นรุ้งที่ 7 องศา 34 ลิปดาเหนือ แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 87 ตำบล 711 หมู่บ้าน ประชากร 579,361 คน มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน แต่เนื่องจาก ตรังไม่ได้เป็นเมืองรับทัพจับศึก จึงไม่ค่อยมีชื่อในทางประวัติศาสตร์เท่าใดนัก แต่ที่จริงตรังเป็นชุมชนมานานแล้ว มีหลักฐานพอจะอ้างอิงได้ ตั้งแต่ยุคหินใหม่ เป็นต้นมา

ประวัติ-เมืองตรังหลัง พ.ศ. 2475

ประวัติ-เมืองตรังหลัง พ.ศ. 2475

2.12 เมืองตรังหลัง พ.ศ. 2475 การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 และการพระราชทานรัฐธรรมนูญทำให้มีการเลือกตั้งครั้งแรกในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2576 การเลือกผู้แทนราษฎรในสมัยนั้นใช้วิธีเลือกโดยอ้อม คือราษฎรของแต่ละตำบลจะเลือกตัวแทนของตนเข้าไปเลือกผู้ที่สมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดอีกชั้นหนึ่ง การเลือกตั้งคราวนั้นจังหวัดตรังได้ผู้แทนราษฎรคนแรกคือ นายจัง จริงจิตร จากการเปลี่ยนแปลงปกครองทำให้มีการกระจายอำนาจมาสู่ท้องถิ่นมีประกาศให้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 ที่อำเภอทับเที่ยง ตามประกาศลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 ต่อมาก็ยกฐานะเป็นเทศบาลตามราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองตรัง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 มีหลวงวิชิตภักดีเป็นนายกเทศมนตรีคนแรก ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นเทศบาลได้...

ประวัติ-เมืองตรังที่ทับเที่ยง

ประวัติ-เมืองตรังที่ทับเที่ยง

2.11 เมืองตรังที่ทับเที่ยง วันที่ 1 มกราคม 2458 เมืองตรังได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ย้ายไปตั้งที่ตำบลทับเที่ยง อำเภอบางรัด ด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ ที่กันตังไม่ปลอดภัยจากศึกสงครามเพราะในขณะนั้นกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งอยู่ในกลุ่มที่ลุ่มมักเกิดอหิวาตกโรคทุกปี พื้นที่แคบทำให้การขยายตัวของเมืองเป็นไปได้ยาก และไม่เป็นย่านกลางติดต่อราชการเหมือนที่ตำบลทับเที่ยง ซึ่งมีผู้คนมากและการค้าเจริญกว่าตำบลอื่นๆ ในสมัยนี้เมืองตรังยังเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภูเก็ต มีนายพลโทพระยาสุรินทราชา (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา) เป็นสมุหเทศาภิบาล (เดิมเรียกชื่อตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล เพิ่งเปลี่ยนแปลง ใน พ.ศ. 2456) ใน พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เสด็จพระราชดำเนินเมืองตรังอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ได้ทรงทำพิธีเปิดโรงเรียนวิเชียรมาตุในวันที่...

ประวัติ-เมืองตรังที่กันตัง

ประวัติ-เมืองตรังที่กันตัง

๒.๑๐ เมืองตรังที่กันตัง เมื่อพระยารัษฎาฯ มารับตำแหน่งใน พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้ดำเนินการแก้ปัญหาความทรุมโทรมของเมืองตรัง วิธีการแรกคือการขอผูกขาดภาษีอากรซึ่งเรียกว่าระบบเหมาเมือง เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บเงินบำรุงเมือง โดยวิธีการให้พ่อค้าชาวจีนรับช่วงแทน ทำให้สามารถแก้ปัญหาชาวจีนสร้างกลุ่มอิทธิพลไม่ขึ้นต่อบ้านเมืองด้วยการควบคุมผ่านเจ้าภาษี เมื่อมีปัญหาก็ให้เจ้าภาษีว่ากล่าวจัดการกันเอง ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งในระยะแรกที่พระยารัษฎาฯเข้ามาบริหารเมืองตรัง คือโจรผู้ร้ายชุกชุม วิธีแก้คือการจัดตั้งกองตำรวจประจำเมืองตรัง จัดให้มีเรือกลไฟลาดตะเวน ปรับปรุงระบบการเฝ้าระวังและติดตามจับกุม กำหนดท่าเรือสำหรับจอดเรือ ๖ ท่าเท่านั้น มีกันตัง ลิเกา กะลาเส ท่าพญา หยงสตาร์ เกาะสุกร และยังให้ออกทะเบียนเลขเรือ เพื่อป้องกันการปล้นเรือ ทำให้ปัญหาโจรผู้ร้ายเบาบางลงได้ หลังจากแก้ปัญหาต่าง ๆ แล้ว พระยารัษฎาฯ วางแนวทางพัฒนาเมืองตรังโดยมีนโยบายให้เป็นเมืองเกษตรกรรม...

ประวัติ-เมืองตรังที่ควนธานี

ประวัติ-เมืองตรังที่ควนธานี

๒.๙ เมืองตรังที่ควรธานี ในปี พ.ศ. ๒๓๕๔ มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการในภาคใต้ เนื่องจากเจ้าพระยานครฯ (พัฒน์) ลาออกจากตำแหน่ง พระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) ปกครองเมืองนครศรีธรรมราชต่อไป ในปีนี้ปรากฏว่า หลวงฤทธิสงครามและเจ้าพระยาสงขลาถึงแก่กรรมทางราชธานีเห็นว่าเมืองตรังจะขึ้นกับสงขลาดังเดิมไม่เหมาะสมแล้ว เพราะหลังจากพม่ามาตีถลางใน พ.ศ.๒๓๕๒ ไม่มีหัวเมืองใดเหมาะสมในการดูแลหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตกเท่ากับนครศรีธรรมราช จึงให้เมืองตรังขึ้นกับนครศรีธรรมราชดังเดิม และกำชับให้ทำนุบำรุงเมืองตรังและดูแลระมัดระวังป้องกันข้าศึก ดังความในสารตราเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดี พ.ศ. ๒๓๕๔ ว่า เมืองตรังภูรานั้นเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครศรีธรรมราชมาแต่ก่อน ให้ยกเอาเมืองตรังภูรากลับมาขึ้นแก่เมืองนครศรีธรรมราช ให้พระยานครจัดแจง หลวง ขุน หมื่น กรมการ ที่มีสติปัญญาสัตย์ซื่อมั่นคงไปตั้งเกลี้ยกล่อมแขกไทยมีชื่อให้เขาไปตั้งบ้านเรือนทำนา ปลูกยุ้งฉางรวบรวมเสบียงอาหารทำรั้วโรงไว้เรือรบ เรือไล่ รักษาปากแม่น้ำตรังไว้ขุกมีราชการประการใด...

ประวัติ-เกาะลิบง บทบาทของผู้นำท้องถิ่น

ประวัติ-เกาะลิบง บทบาทของผู้นำท้องถิ่น

๒.๘ เกาะลิบง บทบาทของผู้นำท้องถิ่น จากประวัติและตำนานของเกาะลิบงในยุคกรุงศรีอยุธยาที่กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีตำนานต่อไปอีกสรุปได้ว่า เมื่อพระยาแขกมาตั้งเมืองขึ้นที่บ้านพร้าว ด้านทิศเหนือของเกาะลิบงเมืองนี้รุ่งเรืองมาและได้มีสัมพันธไมตรีกับพม่า ต่อมาบุตรชายของเจ้าของเมืองทั้งสองก็ได้เป็นเกลอกันตามประเพณีแล้ว ทุก ๆ ปีเกลอจะต้องผลัดกันไปเยี่ยมเยือนกันประจำ (เรียกว่า วังเกลอ) อยู่มาวันหนึ่งลูกชายของเจ้าของเมืองลิบงเดินทางไปวังเกลอที่เมืองพม่า ทำให้ได้พบและหลงรักลูกสาวเจ้าเมืองพม่าซึ่งเป็นน้องสาวของเกลอตัวเองตามประเพณีน้องเกลอเป็นเสมือนน้องร่วมท้องพี่น้องไม่อาจแต่งงานกันได้ ชายหนุ่มจึงออกอุบายลักพาตัวหญิงสาวมาอยู่กินกันที่เกาะลิบง ทำให้ทางพม่าโกรธมาก และยกทัพมาทำลายเกาะลิบงจนย่อยยับ ตั้งแต่นั้นเมืองก็ร้างไป แม้ว่าตำนานจะไม่ใช่หลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ แต่มักจะมีส่วนที่เป็นแก่น ซึ่งมีข้อเท็จจริงบางประการซ่อนอยู่ นั่นคือความเกี่ยวพันกับพม่าและมลายู ซึ่งมาจากเหตุการณ์ในช่วงปลายอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่มีศึกพม่าอยู่สองครั้ง ข่าวศึกพม่าดังกล่าวอาจเป็นต้นเค้าของการผูกตำนาน โดยจะเป็นเหตุการณ์จริงหรือไม่ก็ได้ พ.ศ. ๒๓๒๘ มีการแบ่งเป็น ๒ ทัพ เนมโยคุงนะรัดเป็นแม่ทัพใหญ่ยกมาตีเมืองชุมพร ไชยา...

ประวัติ-ตรังภูรา

ประวัติ-ตรังภูรา

๒.๗ ตรังภูรา เมืองตรังภูราปรากฏชื่อในรัชกาลที่ ๑ แสดงให้เห็นว่าเมืองตรังในระยะนี้มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไป คือ มีการรวมเมืองที่มีอาณาเขตกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม และมีที่ตั้งเมืองเป็นหลักแหล่ง ดังปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ ว่า …แต่เดิมเมืองตรังแบ่งออกเป็น ๒ เมือง คือ เมือง ภูรา ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำตรัง เป็นเมืองที่มีขนาดเล็ก แต่มีความสำคัญมาก ในฐานะเป็นที่เก็บมูลค้างคาวสำหรับทำดินปืน และที่ร่อนแร่ดีบุกด้วยเมืองหนึ่ง และเมืองตรังตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตก มีบริเวณกว้างขวางมากอีกเมืองหนึ่ง อาณาเขตของเมืองตรังและเมืองภูรามีดังนี้ ทิศใต้ลงไปถึงเกาะลิบง ทิศตะวันตกจดทะเลต่อแดนกับที่ปากกุแหระ แขวงเมืองนครศรีธรรมราชทิศตะวันออกจดที่ปะเหลียน…..ทั้งเมืองตรังและภูราแต่เดิมมีผู้รักษาเมืองเมืองละคน ครั้นต่อมาให้พระภักดีบริรักษ์ (นายจันมีชื่อมหาดเล็ก) ผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราชออกไปเป็นผู้รักษาเมืองตรัง พระภักดีบริรักษ์ได้กราบทูลขอยกเอาเมืองตรังกับภูราเป็นเมืองเดียวกันเรียกว่าเมืองตรังภูรา เมืองตรังแต่เดิมที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำตรังนั้น มีอาณาเขตครอบคลุมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำตรังไปจนจดทะเลและเกาะต่าง...

ประวัติ-เมืองปลายด่านสมัยกรุงธนบุรี

ประวัติ-เมืองปลายด่านสมัยกรุงธนบุรี

๒.๖ เมืองปลายด่านสมัยกรุงธนบุรี เมื่อกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแล้วอำนาจของเมืองนครศรีธรรมราชก็ถูกลดลงกว่าเดิม ทางราชธานีได้มอบหมายให้เจ้านครศรีฯ (หนู) ปกครองแต่เพียงบริเวณหัวเมืองเท่านั้น เพราะได้โปรดเกล้าฯ ยกเมืองขึ้นของเมืองนครศรีธรรมราชเมืองอื่น ๆ คือ ไชยา พัทลุง ถลาง ชุมพร มาขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรีในปี พ.ศ. ๒๓๑๙ และให้แยกเมืองสงขลาออกจากเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๐ หัวเมืองนครศรีธรรมราชในครั้งนั้นจึงมีแต่เมืองตรังและเมืองท่าทอง ซึ่งเป็นเมืองท่าฝั่งทะเลทางตะวันออกและชายฝั่งทะเลตะวันออกเท่านั้น เนื่องด้วยสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เมืองตรังจึงยังคงเป็นเมืองบริวารของเมืองนครศรีธรรมราช

ประวัติ-อยุธยา และเอกสารต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเมืองตรัง

ประวัติ-อยุธยา และเอกสารต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเมืองตรัง

๒.๕ อยุธยา และเอกสารต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเมืองตรัง ตามประวัติพัฒนาการความเป็นรัฐของไทย ที่ต่อเนื่องถึงปัจจุบันนั้น เริ่มจากยุคสุโขทัย และเป็นปึกแผ่นมั่นคงในยุคอยุธยา โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่สามารถรวมสุโขทัยเข้ากับอยุธยาได้สำเร็จ และขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นครศรีธรรมราชนับเป็นเมืองเอกขึ้นต่ออยุธยา และเป็นตัวแทนของราชธานีปกครองกำกับดูแลหัวเมืองในภาคใต้ ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สมัยอยุธยา ได้ขยายการค้ากับชาติตะวันตกรวมทั้งโปตุเกสซึ่งเข้ายึดครองมะละกาใน พ.ศ. ๒๐๕๔ ในยุคนี้เมืองตรังมีชื่อในเอกสารต่างประเทศด้วย บันทึกของ Tome Piresพ.ศ. ๒๐๕๘ ซึ่งติดต่อกับไทยในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ กล่าวถึงเมืองตรังว่าเป็นเมืองท่าฝั่งตะวันตกของอาณาจักรสยาม อันมี ตะนาวศรี จัง ซี ลอน (ถลาง) ตรัง เคดะห์ (ไทรบุรี)...

ประวัติ-เมืองปะเหลียน เส้นทางสู่ทะเลตะวันตกของเมืองพัทลุง

ประวัติ-เมืองปะเหลียน เส้นทางสู่ทะเลตะวันตกของเมืองพัทลุง

๒.๔ เมืองปะเหลียน เส้นทางสู่ทะเลตะวันตกของเมืองพัทลุง แม้เมืองตรังอยู่ในฐานะเมืองบริวารและเมืองท่า ของนครศรีธรรมราชมานานแต่มีเส้นทางติดต่อกับดินแดนใกล้เคียงอีกแห่งหนึ่งคือเมืองพัทลุง ตลอดเทือกเขาบรรทัดที่แบ่งกั้นเขตแดน ยังมีช่องทางหลายช่องจากแนวเหนือจดใต้ เช่น ช่องไม้ไผ่ ตะเหมก ท้ายสำเภา เขาช่อง บ้านด่าน โคกทราย บ้านตระ เป็นต้น ส่วนหนึ่งของผู้ใช้ช่องทางนี้คือผู้หนีภัยบ้านเมือง หนีการเกณฑ์แรงงาน หนีคดีอาญาข้อหาโจร หรือขบวนต้อนวัวควายที่ซื้อขายหรือลักพาเพื่อจะส่งออกทางท่าเรือ อีกส่วนหนึ่งคือผู้อพยพแสวงหาผืนแผ่นดินอุดมเพื่อการทำมาหากิน จึงมีชาวตรังเชื้อสายพัทลุงอยู่ไม่น้อยในหมู่บ้านตลอดแนวชายเขาปัจจุบันและบางหย่อมย่านในเขตอำเภอปะเหลียน อำเภอย่านตาขาว และอำเภอกันตัง ในตำนานเมืองพัทลุงมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับเมืองตรัง คือ เพลานางเลือดขาวกล่าวถึงสตรีผู้ใฝ่ใจพระพุทธศาสนา เดินทางสร้างวัดและพระพุทธรูปไว้มากมายหลายแห่งรวมทั้งที่เมืองตรัง ซึ่งสอดคล้องกับตำนานพื้นบ้านที่เล่ากันในหมู่ชาวตรัง ทั้งยังมีชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์พุทธสิหิงค์และวัดพระงามขึ้นอยู่กับวัดเขียนบางแก้วและวัดสะทัง ดังใจความว่า โปรดฯให้เบิกวัดทั้งแขวงเมืองนครและพัทลุง ๒๙๘ วัด...

ประวัติ-เมืองตราม้า หน้าด่านของนครศรีธรรมราช

ประวัติ-เมืองตราม้า หน้าด่านของนครศรีธรรมราช

๒.๓ เมืองตราม้า หน้าด่านของนครศรีธรรมราช ความรุ่งเรืองของศรีวิชัยค่อยลดลงตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ และในช่วงนี้เองที่มีชื่ออาณาจักรหนึ่งโดดเด่นขึ้นมาแทนที่ ในฐานะรัฐอิสระที่เป็นศูนย์กลางของเมืองใหญ่น้อยในคาบสมุทรภาคใต้ คือ ตามพรลิงค์ หรือที่รู้จักกันในนาม มัทธมาลิงคัม จากศิลาจารึกเมืองตันซอร์ สมัยพระเจ้าราเชนทร์โจฬะ ที่ ๑ ตัน-มา-ลิง ในบันทึกของจีน และชื่ออื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ชื่อเหล่านี้หมายถึงอาณาจักรนครศรีธรรมราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีหลักฐานเอกสารและตำนานท้องถิ่นกล่าวถึงกษัตริย์ นาม ศรีธรรมาโศกราช (จันทรภาณุ) เป็นผู้ครองอาณาจักรอันรุ่งเรืองทางการค้า และมีความเข้มแข็งถึงขนาดยกทัพไปคุกคามบ้านเมืองในลังกา พร้อมกันนั้นก็ได้รับแบบแผนทางพระพุทธศาสนาจากลังกาเข้ามาด้วย ตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวถึงนางเหมชาลาและพระทันตกุมารนำพระบรมธาตุหนีศึกจากเมืองในอินเดียเพื่อจะไปสู่ลังกา แต่ถูกพายุพัดไปขึ้นฝั่งและเดินบกไปจนถึงหาดทรายแก้วและฝังพระบรมธาตุไว้ ต่อมาพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชมาพบเข้าจึงสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้น...

ประวัติ- เมืองท่าทางผ่าน

ประวัติ- เมืองท่าทางผ่าน

2.2 เมืองท่าทางผ่าน จากชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ผ่านมาถึงสมัยพุทธกาล เริ่มมีหลักฐานที่นำไปสู่ข้อสันนิษฐานพาดพิงถึงเมืองตรัง แต่ยังไม่อาจกล่าวได้แน่ชัดว่าแท้จริงคือเมืองตรังหรือไม่ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๘ บ้านเมืองทางตะวันตกและเอเชียกลางเริ่มใช้เส้นทางทะเลเพื่อติดต่อค้าขายกับอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน เป็นเหตุให้คาบสมุทรมลายูกลายเป็นจุดพักทางผ่านที่เหมาะสมเพราะมีทิศทางลมเป็นปัจจัยส่งเสริม ช่วงนี้เองที่ปรากฏชื่อเมืองท่าสำคัญของชายฝั่งทะเลตะวันตกคือ ตะโกลา ชื่อตะโลกาปรากฏในเอกสารโบราณชิ้นแรกคือ คัมภีร์มิลินทปัญหา ซึ่งพระปิฏกจุฬาเถระรจนาเป็นภาษาบาลีเมื่อ พ.ศ. ๕๐๐ ต่อจากนั้นก็พบในเอกสารโบราณชิ้นที่ ๒ คือ จดหมายเหตุภูมิศาสตร์ปโตเลมี อายุราว พ.ศ. ๖๙๓ หรือ ๗๐๘ และชิ้นที่ ๓ คือคัมภีร์มหานิทเทสภาษาบาลี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๘ นอกจากนี้ยังมีชื่อ ตไลตฺตกฺโกลํ ...

การตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคประวัติศาสตร์ – รัชกาลที่5ถึงปัจจุบัน

การตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคประวัติศาสตร์ – รัชกาลที่5ถึงปัจจุบัน

1.2.5 ชุมชนตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบัน :ความเปลี่ยนแปลงเป็นวัฏสงสาร หมู่เขา ผู้คนประกอบอาชีพเกษตรกรรม อยู่ตามชายเขา เชิงควน ทำนาระหว่างช่องควนยาวไปตามคดโค้งช่องควนนั้น ที่นาลักษณะนี้เรียกว่า ข้าวมักขึ้นงามดี เพราได้ปุ๋ยหน้าดินธรรมชาติที่น้ำฝนชะล้างลงมาจากควนเขา ส่วนสวนผลไม้ก็ทำได้เจริญงอกงามดีเช่นเดียวกัน หมู่เขาที่เป็นชุมชนเก่าสามารถย้อนอดีตไปได้ถึงสมันต้นรัตนโกสินทร์ โดยการสอบถามผู้เฒ่าวัย 80 – 90 ปี ที่ความทรงจำยังเล่าความถึงรุ่นปู่ย่าตายาย และถึงรุ่นทวด ที่ผู้เฒ่าเหล่านั้นเคยได้รับการเลี้ยงดูและรับการสั่งสอน เช่นบ้านเหมก บ้านช่องไม้ไผ่ บ้านสำเภา และบ้านด่าน เป็นต้น ถ้าดูแผนที่จังหวัดตรัง จะพบชื่อชุมชนชายเขาบรรทัดเรียงราย ตั้งแต่อำเภอวังวิเศษ ห้วยยอด รัษฎา...

การตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคประวัติศาสตร์ – อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์

การตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคประวัติศาสตร์ – อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์

1.2.4 ชุมชนยุคอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้นสมัยอยุธยามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่อเนื่องชุมชนดั้งเดิมจากยุคศรีวิชัย และนครศรีธรรมราช ดังนี้ จารึกผนังถ้ำเขาสามบาตร อำเภอเมือตรัง จารึกหน้าผา  วัดเขาพระ  อำเภอรัษฎา ตรารูปวงกลม  ที่ถ้ำตรา  เทือกเขาน้ำพราย  ตำบลปากแจ่ม   อำเภอห้วยยอด ตรารูปวงกลม  ที่หน้าผา   วัดเขาพระ   อำเภอรัษฎา จารึกผนังถ้ำเขาสามบาตร สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ 27ทรงอ่านไว้แล้วได้ความว่า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพระพุทธรูปสำคัญประดิษฐานไว้ และชื่อเขาสามบาตรมนภาษาปากของคนท้องถิ่นนั้นที่ถูกต้องคือ เขาสระบาป เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับพิธีรดน้ำสรงน้ำชำระสะสางบาปมลทิน (น่าจะเป็นพิธีกรรมถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา –ผู้เขียน) ชุมชนดั้งเดิมเขาสามบาตรหรือชุมชนใกล้เคียงที่แวดล้อม จึงน่าจะเป็นชุมชนสำคัญ...

การตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคประวัติศาสตร์ – ยุคนครศรีธรรมราช

การตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคประวัติศาสตร์ – ยุคนครศรีธรรมราช

1.2.3 ชุมชนยุคนครศรีธรรมราชเมื่อพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ แพร่หลายเขามาแทนที่พุทธศาสนานิกายมหายาน (วัชรยาน) อย่างศรีวิชัย ความเป็น ชุมชน ในจังหวัดตรังได้รับการบันทึกไว้ในรูปตำนาน เรื่องเล่า นอกเหนือจากหลักฐานเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ถ้าถือตำนานชุมชนเป็นตัวตั้ง จะพบว่ามีชุมชนตั้งอยู่เรียงรายตามลำแม่น้ำตรังสายหนึ่ง และตั้งอยู่ตามแนวเทือกเขาบรรทัดอีกสายหนึ่ง สายแรกเล่ากันว่าพระภิกษุสงฆ์และอุบาสกจากลังกา นำทรัพย์สมบัติ มี แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นอาทิ ไปบูชาพระบรมธาตุและบูรณะเจดีย์ ตำนานสายนี้ ได้แก่ ตำนานการสร้างวัดย่านเกลื่อน ตำนานการสร้างพระพุทธรูปที่ถ้ำพระองค์กลาง วัดเขาปินะ ตำนานการสร้างวัดหูแกง ฯลฯ ตำนานเรื่องการไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมรา อ้างยุคสมัยสับสนกันอยู่...

การตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคประวัติศาสตร์ – ยุคศรีวิชัย

การตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคประวัติศาสตร์ – ยุคศรีวิชัย

1.2.2 ชุมชนยุคศรีวิชัยอาณาจักรศรีวิชัย มีอายุระหว่าง พ.ศ. 1161 – 1450 โดยประมาณ ตรงกับสมัยราชวงศ์ถัง และเลยมาถึงสมัยห้าราชวงศ์ของจีน (พ.ศ. 1161 – 1503) อาณาจักรศรีวิชัยครอบคลุมแหลมมลายูตลอดถึงหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ – โบราณคดีบ่งบอกว่าศาสนาพุทธนิกายมหายาน เป็นศาสนาประจำอาณาจักรนี้ จังหวัดตรังเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของศรีวิชัย มีความสำคัญด้านการคมนาคมข้ามคาบสมุทรลายูเส้นทางหนึ่งมาแต่โบราณ แม้ไม่พบหลักฐานชิ้นสำคัญฯ อย่างรูปประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตสวร ดังพบที่ไชยา แต่ความเป็นชุมชนสมัยศรีวิชัยมีรูปพระพิมพ์ดินดิบ หรือที่ชาวบ้านอำเภอห้วยยอด เรียกกว่า พระผีทำ เป็นเครื่องบ่งบอกชัดเจน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงบันทึกการสำรวจถ้ำวัดศรีวิชัย อำเภอห้วยยอด ว่า...

การตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคประวัติศาสตร์ – ก่อนศรีวิชัย

การตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคประวัติศาสตร์ – ก่อนศรีวิชัย

1.2 การตั้งถิ่นฐาน ชุมชนยุคประวัติศาสตร์ ความเป็นชุมชน (Community) ปรากฏอยู่ในคำพูดของคนตรังว่า หมู่ ซึ่งออกสำเนียงท้องถิ่นว่า โหฺม อันมีความหมายได้สองนัย คือ หมายถึง หมู่ พวก ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนตามสถานที่อันเหมาะสมกับการดำรงชีพในระบบนิเวศ (eco-system) หนึ่งๆ เช่น หมู่เขา หมู่เล หมู่ทุ่ง หมู่หลาด หมายถึง หมู่ พวก  โดยกลุ่มชาติพันธุ์ตามความเข้าใจตรงกันของคนในท้องถิ่น (native’s view) เช่น หมู่ไทย หมู่แขก หมู่จีน หมู่เงาะป่าซาไก 11...

การตั้งถิ่นฐานชุมชนก่อนประวัติศาสตร์

การตั้งถิ่นฐานชุมชนก่อนประวัติศาสตร์

บทที่ 2 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น   1. การตั้งถิ่นฐาน 1.1 การตั้งถิ่นฐานชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดตรัง มีโบราณวัตถุประเภทเครื่องมือหิน ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะทำจากสะเก็ดหินปูนขนาดใหญ่ และทำจากหินควอร์ตไซต์ (Quartzite) เครื่องมือหินขัดทั้งขวานหินไม่มีบ่าและมีบ่า โบราณวัตถุประเภทดินเผาทั้งแบบเรียบและแบบลายเชือกทาบ และโบราญวัตถุประเภทภาพเขียนสีที่ผนังถ้ำ แหล่งโบราณคดีที่ปรากฏร่องรอยความเป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งผ่านการสำรวจแล้ว ได้แก่ เขาเจ้าไหม   ตำบลเขาลิบง   อำเภอกันตัง ถ้ำเขาไม้แก้ว   ตำบลเขาไม้แก้ว   อำเภอสิเภา ถ้ำหมูดิน   ตำบลปากแจ่ม   อำเภอห้วยยอด เขาหญ้าระ   ตำบลลิพัง   อำเภอปะเหลียน1  ถ้ำซาไก   ตำบลปะเหลียน  ...