Category: แหล่งมรดกธรรมชาติ

chaomai-cover

หาดเจ้าไหม – Hat Chao Mai Marine National Park

หาดเจ้าไหม Arial photography by : วศิน ศรีวราธนบูลย์ www.dp-studio.com อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 144,292.35 ไร่ หรือ 230.87 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมที่ดินป่าคลองไหโละ ป่าคลองปอ และป่าคลองกันตัง ในท้องที่ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา ตำบลบ่อน้ำร้อน ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 36...

17265077_10212500704375490_1307039798251155077_n

เกาะรอก

เกาะรอกเป็นเกาะที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ แต่สามารถเดินทางเข้าถึงได้สะดวกกว่าหากเข้าทางจังหวัดตรัง จึงเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้มาเยือนตรัง นิยมไปเที่ยวชมธรรมชาติ    

น้ำตกลำปลอก

น้ำตกลำปลอก

ต่อไปจากทางแยกน้ำตกไพรสวรรค์ ไม่ต่ำกว่า 10 กิโลเมตร จะมีทางเข้าสู่น้ำตกลำปลอก เป็นน้ำตกบนเขาสูง อยู่ในตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน  คุณค่าของน้ำตกลำปลอกมิใช่เพียงความงามตามธรรมชาติเท่านั้น บริเวณน้ำตกแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และยังมีฝายทดน้ำคลองลำปลอกของการชลประทาน ที่เอื้ออำนวยประโยชน์แก่หมู่บ้านใกล้เคียง ก่อนจะไหลลงสู่คลองปะเหลียน

files111110225900

น้ำตกไพรสวรรค์

อยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลโพรงจระเข้ ห่างจากน้ำตกสายรุ้งเพียง 3 กิโลเมตรบนถนนสายเดียวกัน ทางเดินของสายน้ำจากไพรสวรรค์คือคลองสอ ซึ่งลงสู่คลองปะเหลียน        

files111110225900

น้ำตกสายรุ้ง

อยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว ห่างจากตัวเมือง 35 กิโลเมตรจากเส้นทางอำเภอนาโยง เป็นน้ำตกสูงที่มองเห็นประกายรุ้งในละอองน้ำยามสะท้อนแดดบ่าย และเป็นต้นน้ำที่ไหลลงสู่งคลองลำพิกุล        

43174365_10217373842200890_7676760554152656896_o

น้ำตกช่อง

น้ำตกที่ลือชื่อในอดีตของเมืองตรังคือ น้ำตกช่อง หรือ น้ำตกกระช่อง อยู่ในเขตตำบลช่อง อำเภอนาโยง ห่างจากตัวเมือง 21 กิโลเมตร เป็นสถานที่ซึ่งพระมหากษัตริย์หลายพระองค์เสด็จประพาสมาแล้ว ทั้งรัชกาลที่5 รัชกาลที่6 รัชกาลที่7 รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมรินีนาถ บนก้อนหินใหญ่ริมโตนน้ำปลิว ยังมีพระบรมนามาภิไธยและพระนามาภิไธยย่อจารึกอยู่ให้ชาวตรังได้เห็นเป็นอนุสรณ์

files111110230731

ป่าชายเลน

จากป่าแปดยืนสุดท้ายซึ่งเป็นป่าบกในเขตตรังเขาให้กำเนิดธารน้ำนับร้อย ไหลผ่านที่ราบแห่งตรังนาออกสู่ทะเลอันดามัน ตรงช่วงรอยต่อผสมผสานระหว่างน้ำจืดน้ำเค็มไปจนถึงปากแม่น้ำ ยังมีมรดกชิ้นสำคัญเป็นผืนป่ากว้างใหญ่ที่เรียกกันว่า ป่าชายเลน

files111110235338

ป่าเขาหวาง ป่าควนแคง และป่าน้ำราบ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ซึ่งอยู่ในเขต 2 อำเภอ คือ อำเภอสิเกาและอำเภอกันตัง เป็นต้นกำเนิดคลองยูง คลองไม้แดง คลองห้วยไทร คลองน้ำเค็มไหลลงทะเลอันดามัน ส่วนคลองน้ำราบ คลองสิเหร่ และคลองลุ ไหลลงแม่น้ำตรังในเขตอำเภอกันตัง        

ป่าสายควนหละ และป่าเขาหวาง

ป่าสายควนหละ และป่าเขาหวาง

อยู่ในเขตอำเภอสิเกา เป็นต้นธารของคลองอ่างทอง น้ำตกอ่างทอง คลองผมเด็นจากตำบลไม้ฝาด ไหลผ่านตำบลนาเมืองเพชรรวมกันเป็นคลองสว่าง และลงสู่แม่น้ำตรังในเขตตำบลนาโต๊ะหมิง อำเภอเมือง อีกสายหนึ่งคือคลองหละ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับทำน้ำประปาใช้ในอำเภอสิเกา ไหลลงทะเลระหว่างหาดปากเมงกับหาดฉางหลาง      

files111110233941

ป่าสายคลองร่มเมือง ป่าสายควน และป่าเกาะอ้ายกลิ้ง

ป่าสายคลองร่มเมือง ป่าสายควน และป่าเกาะอ้ายกลิ้ง อยู่ในอำเภอสิเกา ให้กำเนิดคลองสำคัญของอำเภอคือคลองสิเกา ไหลลงสู่ทะเลอันดามัน      

kjopi

ป่าไส-ป่าแก่

พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม อำเภอวังวิเศษ เป็นต้นกำเนิดคลองลำลุง คลองช่องงาย คลองทรายขาว คลองส้านแดง รวมทั้งคลองชี คลองเหล่านี้ไหลรวมกับคลองชีลงสู่แม่น้ำตรังที่ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง และยังมีคลองกะลาเสใหญ่ ไหลผ่านอำเภอสิเกาลงสู่ทะเลอันดามัน ป่าแห่งนี้ยังเป็นต้นกำเนิดน้ำตกร้อยชั้นพันวังอีกด้วย      

ป่าเขาบรรทัด

ป่าเขาบรรทัด

ป่าเทือกเขาบรรทัดสามารถแบ่งได้เป็น แปลงที่ 1 ตอนที่ 1 อยู่ในเขตอุทยานเขาปู่-เขาย่า พื้นที่อำเภอห้วยยอด เป็นต้นน้ำของน้ำตกปากแจ่ม คลองลำภูรา อีกกลุ่มหนึ่งคือ คลองท่างิ้ว จากตำบลในเตา คลองหินแทนจากตำบลปากแจ่ม ไปรวมกับคลองยางยวน ลงสู่แม่น้ำตรังที่ตำบลเขากอบ ป่าเทือกเขาบรรทัดแปลงที่ 1 ตอนที่ 3 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า อำเภอรัษฎา ซึ่งอยู่เหนืออำเภอห้วยยอดขึ้นไป เป็นต้นกำเนิดคลองสำคัญคือคลองมวน คลองกะปาง และคลองท่าประดู่ ป่าเทือกเขาบรรทัดแปลงที่ 2 ตอนที่ 1 อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัดท้องที่อำเภอปะเหลียน เป็นต้น

มรดกธรรมชาติ – แหล่งแร่

มรดกธรรมชาติ – แหล่งแร่

ตามโครงสร้างทางธรณีวิทยา การดันตัวของทิวเขานครศรีธรรมราชเมื่อประมาณ 120 ปีที่แล้ว ได้ดันเอาแร่สำคัญขึ้นมาด้วย แร่ที่พบมากที่สุดในเมืองตรังได้แก่ดีบุก ส่วนแร่อื่นๆ ก็มีบ้าง เช่น ถ่านหิน แบไรต์ โคลัมไบต์

มรดกธรรมชาติ – สัตว์

มรดกธรรมชาติ – สัตว์

ในพื้นที่จังหวัดตรังมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2 เขต และเขาห้ามล่าสัตว์ป่า 3 เขต ครอบคลุมพื้นที่ทั้งเป็นป่าดงดิบชื้น รวมลงมาถึงป่าผสมภูเขาหินตามเขาหินปูนโดด จนถึงเขตทะเลและชายฝั่ง เป็นที่อยู่ของสัตว์มากมายหลายชนิด รวมทั้งบรรดาสัตว์สงวนที่ปัจจุบันยังมีเหลืออยู่และที่เกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ยังมีผู้เคยได้เห็นในอดีต และร่วมกันถ่ายทอดเพื่อบันทึกไว้เป็นมรดกทางความทรงจำให้คนรุ่นหลังได้รับรู้

17353567_10212500708775600_1025375532598557347_n

มรดกธรรมชาติ – เกาะในทะเลตรัง

น่านน้ำเมืองตรัง มีเกาะใหญ่น้อยจำนวนทั้งหมด 46 เกาะ แต่ละเกาะมีลักษณะธรรมชาติแตกต่างกัน บางเกาะเป็นที่อยู่อาศัย บางเกาะเป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวหรือแห่งทรัพยากรสำคัญ

มรดกธรรมชาติ – หาดทราย

มรดกธรรมชาติ – หาดทราย

จังหวัดตรังมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 119 กิโลเมตร และมีหาดทรายสวยงามหลายแห่ง จนในคำขวัญ่งเสริมการท่องเที่ยววรรคหนึ่งของเมืองตรังกล่าวว่า เสน่ห์หาดทรายงาม

มรดกธรรมชาติ – ถ้ำ

มรดกธรรมชาติ – ถ้ำ

ในเขตพื้นที่ลอนลูกฟูก มีผลงานสร้างสรรค์ของธรรมชาติทำให้เกิดเขาหินปูนกระจายอยู่ในเขตเขาจนลงมาถึงกลางทุ่งของเมืองตรัง เบางลูกถูกน้ำกัดเซาะอย่างต่อเนื่องกลายเป็นโพรงประดับประดาด้วยหินงอกหินย้อยงดงาม บางแห่งมีสายน้ำคดเคี้ยวไปตามโพรง บางแห่งเป็นแหล่งโบราณคดี บางแห่งได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

มรดกธรรมชาติ – แหล่งน้ำ

มรดกธรรมชาติ – แหล่งน้ำ

การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของเปลือกโลกและการกระทำงน้ำใต้ดิน ก่อให้เกิดพื้นที่ซึ่งเรียกว่า หลุมยุบและหลุมจม และกลายป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ บางส่วนเคยเป็นที่น้ำทะเลท่วมถึง บางแห่งมีแร่ธาตุในดินทำให้เกิดน้ำร้อน น้ำพราย สภาพธรรมชาติเช่นนี้ปรากฎให้เห็นทั่วไปในเมืองตรัง ทั้งในรูปของห้วย หนอง คลอง วัง สระ บ่อ ดังนี้

43317173_10217373842840906_4413989953692762112_o

มรดกธรรมชาติ – น้ำตก

มรดกอันยิ่งใหญ่จากผืนป่าต้นน้ำ คือสายธารที่ไหลมาหล่อเลี้ยงชีวิตชาวตรังก่อนจะไหลลงสู่ที่ราบลุ่ม สายน้ำเหล่านี้ต่างเดินทางผ่านโขดเขา ผาสูง และแนวป่า กลายเป็นน้ำตกที่ยังนับจำนวนได้ไม่หมด มีทั้ง โตน น้ำตกที่กระโจนจากหน้าผาสูง และหนาน น้ำตกที่ไหลเลาะผ่านชั้นหินเตี้ยๆ