จั๋งน้ำพราย

พืชสกุลปาล์มในประเทศไทยมีไม่ต่ำกว่า 150 ชนิด อยู่ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ประมาณ 100 ชนิด แต่ละชนิดมีรูปทรง ก้าน ใบ แตกต่างกันออกไปเป็นเสน่ห์เฉพาะตัว ในป่าเมืองตรังมีปาล์มอีกชนิดหนึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักนิยมปาล์มคือจั๋งน้ำพราย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhapis siamensis Hodel ส่วนในภาษาอังกฤษเรียก Lady palm หรือ Rhapis palm ชื่อจั๋งน้ำพรายเป็นการเรียกตามถิ่นกำเนิด เพราะพบครั้งแรกในบริเวณเขาน้ำพราย ตำบลปากคม อำเภอห้วยยอด

 

รูปทรงของจั๋งน้ำพรายเป็นปาล์มขนาดเล็ก แตกกอคล้ายไม้ไผ่ มีทรงพุ่มโปร่ง ก้านใบยาว ใบสีเขียวเป็นมัน จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั้งในกระถางและลงดิน ปัจจุบันจั๋งน้ำพรายในสภาพธรรมชาติมีเหลือน้อยเนื่องจากถูกขุดย้ายออกไปจากพื้นที่เดิม เมื่อขุดไปแล้วอัตราการรอดก็น้อยเพราะต้องไปอยู่ในที่ผิดธรรมชาติ ประกอบกับการติดผลน้อย เมล็ดพันธุ์ที่กระจายตามธรรมชาติก็พลอยน้อยไปด้วย หากสภาพการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป จั๋งน้ำพรายอาจจะหมดไปจากเขาน้ำพราย เช่นเดียวกับที่ปาล์มเจ้าเมืองตรังไม่มีเหลือในป่าเมืองตรัง

 

 

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>