ปลาตูหนา อาหารโปรดของ พระยารัษฎานุประดิษฐ์

มีตำนานชาวบ้าบกล่าวถึงปลาชนิดหนึ่งในแม่น้ำตรังว่ามีตัวใหญ่ขนาด หูเท่ากระด้ง ปลามีหูชนิดนี้คือปลาไหลหูดำ ปลาตูหนา ตุหนา หรือโตะหนา เรียก ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Anguilla bicolour และชื่อภาษาอังกฤษว่า True eel

 

ปลาตูหนาเป็นปลา 2 น้ำ พบในแม่น้ำลำคลองทั่วๆ ไป จนไปถึงบริเวณต้นน้ำหรืออาจพบในทะเลลึก เพราะเมื่อปลาตูหนาเจริญเติบโตเต็มวัยจะต้องว่ายน้ำออกไปยังทะเลลึกเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ หลังจากนั้นเจ้าปลาวัยอ่อนก็ว่ายทวนน้ำตามสัญชาตญาณเดิมขึ้นมายังถิ่นเก่า จึงไม่แปลกที่ชาวเมืองตรังจะพบปลาตูหนาในคลอง ในแม่น้ำ ไปถึงยอดน้ำตก หรือในถ้ำ นอกจากที่ตรังยังมีข้อมูลว่ พบปลาตูหนาขึ้นไปถึงแม่ปายของแม่ฮ่องสอนและลุ่มน้ำสาละวินของพม่า

 

ปลาตูหนาหูดำเนื้อนุ่มหวาน ชาวบ้านนิยมแกงส้มใส่ส้มจังกระ เล่ากันว่าเป็นอาหารโปรดของพระยารัษฎาฯ อดีตเจ้าเมืองตรัง ยามไปเยี่ยมราษฎรถ้ามีแกงส้มตูหนามาต้อนรับต้องใส่ส้มจังกระ เวลานี้ในหมู่บ้านชนบทของตรังมีต้นส้มจังกระแก่ๆ เหลืออยู่น้อยแล้วน้อยพอๆ กับปลาตูหนาที่ราคาแพงขึ้น และเปลี่ยนไปเป็นผัดเผ็ดหรือต้มยำอยู่ในจานอาหารของภัตตาคาร

 

ในป่าต้นน้ำ ตามสายห้วยลำธารที่อุดมด้วยปลานานาชนิด ชาวบ้านมักกล่าวขานถึง ปลาหวด ปลาแห่งป่าต้นน้ำที่เคยจับได้ตัวโตๆ ปัจจุบันหาได้ยากแล้ว

 

ในแม่น้ำตรังยังมีปลาหลายชนิด ที่เห็นอยู่มากที่สุดคือ ปลากด ซึ่งมีตลอดแม่น้ำ ปัจจุบันก็ยังมีอยู่บ้าง แต่ตัวเล็กลงมาก อันที่จริงปลากดจะมีอยู่ทั่วไปตามสายห้วยลำคลองแห่งที่ราบลุ่มตรังนา ปลากดที่นับว่ารสดีที่สุดคือ ปลากดเหลือง ชาวบ้านเรียกว่า ปลากดขมิ้น

 

 

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>