Category: Featured

IMG_5677

เรือนไทยติ่มซำ อาหารเช้า และเก้าอี้ดนตรี

หากพูดถึงร้านเรือนไทยในความทรงจำของคนเก่าคนแก่เมืองตรัง หลายคนจะนึกถึงร้านอาหารใหญ่ชื่อดังจากอำเภอกันตังที่มีชื่อเสียงเรื่องอาหารทะเลเลิศรส มาถึงคนรุ่นกลางที่รู้จักร้านเรือนไทยในฐานะร้านสุกี้และร้านติ่มซำกลางเมืองตรัง ชื่อเสียงและคุณภาพอาหารก็ยังคงเป็นที่ยอมรับในใจคนตรัง

IMG_1288-1

เขาพับผ้า บรรยากาศป่าเขาลำเนาไพร

ตรังนั้นเป็นเมืองคนช่างกินอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะเมื่อใดที่มีร้านอร่อย ต่อให้อยู่ในตรอกซอกซอยลึก ริมทะเล หรือกลางป่าเขา ก็จะต้องมีนักชิม ดั้นด้นไปแสวงหาความสำราญปาก และถ้าจะหาร้านกาแฟที่บรรยากาศดีสุดๆ  ตอนนี้คงมอบรางวัลชนะเลิศ ให้กับร้าน ‘เขาพับผ้า’ ร้านอาหารกลางป่าบนเขาพับผ้า ริมทางสายตรัง-พัทลุง ที่มีทัศนียภาพของป่าเขียวขจีบนเทือกเขาพับผ้า กว้างไกลสุดสายตา

กุ้งแม่น้ำ ตรัง

กุ้งแม่น้ำ

เมื่อ 30 ปีย้อนหลังขึ้นไป ตามบริเวณฝั่งแม่น้ำตรังตั้งแต่ท่าจีน อำเภอเมืองลงมาถึงอำเภอกันตัง ภาพชาวบ้านหิ้วพวงกุ้ง ปลา มารอรถริมถนนเพื่อเอาไปขายในเมือง มีให้เห็นแทบทุกเช้า และนี่คือที่มาของสำนวน กุ้งสิบร้อยคล้า กุ้งห้าร้อยจาก

หอยปะ - ตรัง

หอยปะ

หอยปะเป็นหอย 2 ฝา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Meretrix Lusoria ที่อื่นอาจเรียกว่า หอยขาว หรือหอยตลับลาย ที่หมู่บ้านปากน้ำปะเหลียน ฝั่งตะวันออกตั้งแต่บ้านหินคอกควาย ฝั่งตะวันตกตั้งแต่บ้านวังวนลงไป บ้านเรือนสองฝั่งมีเปลือกหอยปะทับถมนับล้านๆ ตัว บ่งบอกถึงทรัพยากรที่หล่อเลี้ยงผู้คนมายาวนาน เพราะในร่องน้ำระหว่างสองฝั่งมีเกาะเล็กๆ ชื่อเกาะหอไหร้ ซึ่งปกคลุมด้วยป่าชายเลน เมื่อน้ำขึ้นจะท่วมไปทั้งเกาะ ครั้นพอน้ำลงจะเห็นแนวทรายเป็นบริเวณกว้าง ที่ตรงนี้คือแหล่งหอยปะขนาดใหญ่ อาจจะใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก็เป็นได้ ส่วนด้านปากน้ำตรังก็มีแหล่งหอยปะตั้งแต่บริเวณสถานีวิจัยนิเวศวิทยาป่าชายเลน หมู่บ้านโต๊ะหร้าไปถึงเกาะเคี่ยม และทะเลด้านนอกจนถึงแหลมจุโหย เกาะลิบง ปริมาณหอยด้านนี้น้อยกว่าด้านแม่น้ำปะเหลียน

บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์-ตรัง-พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิบี๊ ณ ระนอง)

บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์-พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิบี๊ ณ ระนอง)

เจ้าเมืองนักพัฒนาผู้สร้างพื้นฐานความเจริญของเมืองตรัง นักปกครองและนักบริหารดีเด่นของกระทรวงมหาดไทย ผู้ได้รับการขนานนามว่า ขุนถนน ได้แผ้วถางบุกเบิกที่ทุรกันดารให้เป็นทางสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้าน ตำบล เมือง ทั่วภูมิภาคของมณฑลภูเก็ต ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ สร้างความเจริญก้าวแก่ภูมิภาคนี้

ปลาตุหนา ปลาไหลดำ

ปลาตูหนา อาหารโปรดของ พระยารัษฎานุประดิษฐ์

มีตำนานชาวบ้าบกล่าวถึงปลาชนิดหนึ่งในแม่น้ำตรังว่ามีตัวใหญ่ขนาด หูเท่ากระด้ง ปลามีหูชนิดนี้คือปลาไหลหูดำ ปลาตูหนา ตุหนา หรือโตะหนา เรียก ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Anguilla bicolour และชื่อภาษาอังกฤษว่า True eel

Capricornis-sumatraensis

เลียงผา

เลียงผา เรียกชื่อตามชาวบ้านว่า คุรำ คูรำ หรือโครำ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis sumatraensis รูปร่างคล้ายแพะ ต่างกันแต่เลียงผาไม่มีเคราอย่างแพะ สีดำตลอดลำตัว มีเขาเป็นรูปกรวยโค้งไปข้างหลัง มีนิสัยชอบกระโดดปีนป่ายไปตามหน้าผาหิน เลือกกินใบไม้อ่อนๆ เป็นอาหาร ซึ่งมีหลายชนิด เช่น เหยื่อคุรำ เป็นไม้ล้มลุก มีผู้นิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับด้วย อื่นๆ ก็มี เกล็ดมังกร และใบเข็มป่า เป็นต้น

IMG_0096

ตลาดสดเทศบาลเมืองตรัง ลมหายใจแห่งวันวาน

ไม่ว่ามุมมองแรกที่คุณเห็นเมืองตรัง จะเป็นภาพมุมสูงจากหน้าต่างเครื่องบิน หน้าต่างรถทัวร์ หรือหน้าต่างรถไฟ คนส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวตรังมักคิดถึงการไปเที่ยวทะเล เที่ยวเกาะ เป็นอันดับต้นๆ แต่สำหรับผู้ที่อยากรู้จักเมืองตรังให้มากขึ้น ในมิติของวิถีชีวิตและวัฒนธรรม หรือเรียกง่ายๆ ว่าไลฟ์สไตล์แบบชาวตรัง อาจจะแบ่งเวลาวันสุดท้ายก่อนเดินทางกลับเอาไว้ สำหรับการท่องเที่ยวตัวเมืองตรัง เพื่อสัมผัสวิถีการใช้ชีวิตที่น่าสนใจและน่าอิจฉาของคนเมืองตรัง ที่มีชื่อเสียงว่าเป็น เมืองแห่งนักกิน คุณจะพบว่า วิถีของคนตรังก็มีเสน่ห์ไม่น้อย

thumb91111101335

เลาะลำน้ำตรัง เลียบฝั่งอันดามัน

แม้จะไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวยอดฮิตของภาคใต้ จนติดอันดับในใจนักท่องเที่ยวทั่วโลกอย่างภูเก็ตหรือกระบี่ แต่ความหลากหลายของภูมิทัศน์ และวิถีวัฒนธรรมที่มีสีสันยิ่ง ของอดีตเมืองท่าสำคัญของฝั่งทะเลอันดามันอย่างเมืองตรัง ก็ทำให้ผู้ที่เคยมาเยือนหลายคนติดอกติดใจ จนต้องกลับมาเยี่ยมชมและชิมของอร่อยมากมายในเมืองนี้อย่างสม่ำเสมอ

ริชชี่-ตรัง

ริชชี่ ถนนรัษฎา

ชื่อของร้านริชชี่คุ้นหูชาวตรังมานานในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกร้านอาหารแนวร่วมสมัย ที่พยายามสอดใส่ความเก๋ไก๋ลงไปในรูปแบบหน้าตาอาหาร และสถานที่ อาหารร้านนี้มีทั้งอาหารคาว และเบเกอรี่ ซึ่งอาจจะดูแปลกไปจากร้านบ้านๆ ที่มีทั่วไปในเมืองตรัง แม้ร้านจะอยู่กลางเมืองแต่ภายในร้านก็สงบไม่พลุกพล่าน