Category: ทรัพยากรพืช

cover

รู้จักไหมเอ่ย ลูกหยีทอง อีกหนึ่งของดีเมืองตรัง

ลูกหยีทอง ของดีเมืองตรัง อีกหนึ่งพันธุ์ไม้พื้นเมืองดั้งเดิมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และน่าสนับสนุนให้เป็นพืชเศรษฐกิจ   ลูกหยี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dialium cochinchinense) ทางภาคใต้เรียก เขล็ง กาหยี หรือ บึ้ง ภาคอีสานเรียกเค็ง หรือนางดำ เป็นพืชท้องถิ่นในรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวัก พบในกัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย และเวียดนาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ปัจจุบันอยู่ในสถานะไม้อนุรักษ์ เพราะกำลังใกล้สูญพันธุ์ ไม้ของต้นหยี เป็นแก่นไม้เนื้อแข็ง ที่มีระดับความแข็งมากที่สุด ในภาคใต้มีไม้เนื้อแข็งชื่อว่า “ไม้หลุมพอ” ซึ่งได้ชื่อว่าแข็งมากแล้ว แต่ยังแพ้ “ไม้หยี” หรือที่ภาษาอีสานเรียกว่า...

หญ้าทะเล

หญ้าทะเล

หญ้าทะเลเป็นพืชชั้นสูงชนิดหนึ่งที่สามารถเติบโตได้ดีในน้ำทะเล ซึ่งนักพฤษศาสตร์กล่าวว่า หญ้าทะเลเป็นพืชที่วิวัฒนาการมากสาหร่ายทะเล และเคยเป็นพืชที่เจริญเติบโตอยู่บนบก ต่อมาได้ปรับตัวลงไปเจริญเติบโตในทะเลอีกครั้ง เป็นพืชที่พบว่าสามารถเติบโตได้ดีในเขตอบอุ่นถึงเขตร้อน อยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นเป็นปล้องอยู่ใต้ดิน มีรากงอกออกมาตามข้อ กิ่งก้านใบจะงอกชูขึ้นข้างบน มีดอกและมีผล ในจังหวัดตรังพบหญ้าทะเลขึ้นชุกชุมตามแถบชายฝั่งหลายแห่ง ที่พื้นทะเลมีสภาพเป็นดินทรายปนโคลน เช่น เกาะสุกร เกาะลิบง เกาะนก ปากคลองเจ้าไหม เกาะมุก หาดฉางหลาง และแหลมไทร

nypa-3989109_1280

จาก

จาก พืชอีกชนิดหนึ่งที่เป็นพืชตระกูลปาล์มเช่นเดียวกับสาคูคือจาก (Atap palm) ที่อยู่ของจากคือป่าชายเลน บริเวณน้ำกร่อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nypa fruticans Wurmb แหล่งจากของจังหวัดตรังเป็นแนวขนานกับแม่น้ำตรัง เขตอำเภอกันตัง เริ่มตั้งแต่ตำบลบางหมากตอนล่าง ย่านซื่อ คลองลุ บ่อน้ำร้อน ลงมาจนถึงตำบลกันตังใต้ ตามชายฝั่งแม่น้ำปะเหลียนก็มีอยู่ตรงบริเวณบ้านแหลม ตำบลวังวน และพื่นที่อื่นๆ ที่น้ำทะเลขึ้นถึง หมู่บ้านริมแม่น้ำจึงมีอาชีพทำใบจากกันมาแต่ดั้งเดิม แหล่งใหญ่ที่สุดที่ยังคงทำใบจากสำหรับมวนยาสูบส่งขายและสืบทอดวิถีชีวิตริมแม่น้ำกับป่าจากมาจนปัจจุบันคือตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง

sago-palm-6576817_1280

สาคู

จากมรดกพืชพรรณแห่งตรังเขาลงมาสู่พื้นล่าง ตามที่ราบลุ่มตรังนาที่ยังคงความชุ่มชื้นอยู่ได้ เพราะมีพืชพรรณชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เป็นหย่อมๆ ตามแหล่งน้ำกลางทุ่ง นั่นคือ สาคู เป็นพืชตระกูลปาล์ม มี 2 ชนิด ชนิดที่ก้านช่อดอกไม้ไม่มีหนาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Metroxylon sagu Rottb. ส่วนชนิดที่ก้านช่อดอกมีหนามชื่อ Metroxylon rumphii Mart. คำว่าสาคู มาจากภาษามลายู ภาษาอังกฤษเรียกว่า Sago palm

paco fern 3

ผักกูด

  ตรังเป็นเมืองที่แสนอุดมสมบูรณ์ และหนึ่งในผักพื้นถิ่นยอดนิยมของบ้านเรา ก็คือ ผักกูด ซึ่งเอามาทำอาหารอร่อยได้หลายชนิด โดยเฉพาะยำผักกูด ที่ใครเคยชิมแล้วต้องชอบใจ นึกอยากกินจนน้ำลายสอ ผักกูดเป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Athyrium esculentum Copel. วงศ์ Athyriaceae ชื่อพ้องคือ Diplazium esculentum Sw. ชอบขึ้นตามที่ชื้น พบบริเวณที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ลำน้ำทั่วไป ตั้งแต่ที่ราบตรังนาจนไปถึงตามริมห้วย ในป่าต้นน้ำของเมืองตรังยังมีผักกูดอยู่อีกมาก นับเป็นพืชชั้นล่างที่เป็นตัวดัชนีชี้วัดความชุ่มชื้นของแผ่นดิน เพราะที่ใดมีผักกูดที่นั้นจะไม่ขาดน้ำ

pepper-525696_1280

พริกไทย

พริกไทยเป็นพืชเมืองร้อน ถิ่นกำเนิดเดิมคืออินเดีย จัดเป็นประเภทเครื่องเทศและสมุนไพร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum Linn. วงศ์ Piperaceae พริกไทยที่มีชื่อของเมืองตรังคือพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน

จั๋งน้ำพราย

จั๋งน้ำพราย

พืชสกุลปาล์มในประเทศไทยมีไม่ต่ำกว่า 150 ชนิด อยู่ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ประมาณ 100 ชนิด แต่ละชนิดมีรูปทรง ก้าน ใบ แตกต่างกันออกไปเป็นเสน่ห์เฉพาะตัว ในป่าเมืองตรังมีปาล์มอีกชนิดหนึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักนิยมปาล์มคือจั๋งน้ำพราย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhapis siamensis Hodel ส่วนในภาษาอังกฤษเรียก Lady palm หรือ Rhapis palm ชื่อจั๋งน้ำพรายเป็นการเรียกตามถิ่นกำเนิด เพราะพบครั้งแรกในบริเวณเขาน้ำพราย ตำบลปากคม อำเภอห้วยยอด

ปาล์มเจ้าเมืองตรัง

ปาล์มเจ้าเมืองตรัง

ปาล์มเป็นพันธุ์ไม้อีกกลุ่มที่พบมากในป่าดงดิบชื้นของเมืองตรัง สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้เขาช่องได้รวบรวมพันธุ์ปาล์มไว้มากมายหลายชนิด โดยเฉพาะพวกหวายจะมีเกือบครบทุกชนิด รวมทั้งไม้หายากที่กล่าวกันว่ามีถิ่นกำเนิดในเมืองตรังคือ ปาล์มเจ้าเมืองตรัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Licuala peltata Roxb.

ไม้เทพธาโร

ไม้เทพธาโร

ไม้เทพธาโร   ไม้เทพธาโร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจวงหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum Kosterm. และมีชื่อพ้องว่า C. parthenoxylon Nees มีทั่วไปในป่าดิบบนเขา เนื้อไม้สีเทาแกมน้ำตาล ริ้วสีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นหอมฉุน เนื้อเป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรงหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เหนียว แข็งปานกลาง เลื่อย ไส ตกแต่งง่าย ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง ทำเตียงนอน ตู้และหีบใส่เสื้อผ้าที่กันมอดและกันแมลงตัวอื่นๆ ได้ ในแถบพื้นที่ตำบลคลองมวนเคยมีไม้เทพธาโรนี้เป็นจำนวนมาก แต่ถูกโค่นทำลายปรับพื้นที่เป็นสวนยางหมดแล้ว ปัจจุบันมีผู้ไปขุดรากมาใช้แกะสลักเป็นรูปต่างๆ เพื่อนำมาขายเป็นของที่ระลึก    

ไม้มะริด

ไม้มะริด

ไม้มะริดคือไม้อีกชนิดหนึ่งที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์ของเมืองตรัง เป็นไม้ที่ใช้ส่งส่วยให้เมืองนครศรีธรรมราชมาแต่ดั้งเดิม ในคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเมืองตรัง พ.ศ. 2433 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ถึงเครื่องเรือนเครื่องใช้ประเภทตลับ โถ ที่ทำด้วยไม้มะริด และกล่าวถึงไม้มะริดในเมืองตรังว่า ได้ถามถึงไม้มะริดว่าไม่มีซื้อขายกัน แต่ต้นที่มีอยู่นั้นไม่ใช่บนเขาสูง ที่ต่ำๆ ก็มี

ไม้เคี่ยม

ไม้เคี่ยม

เป็นไม้มีชื่อของเมืองตรังชนิดหนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cotylelo bium melanoxylon Pierre, และมีชื่อพ้องว่า C.lanceolatum Craib เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีชุกชุมในป่าดิบทางภาคใต้ เนื้อละเอียด แข็ง เหนียว หนัก แข็งแรงมาก ใช้ในน้ำทนทานดี เลื่อยไส และตกแต่งได้ไม่สู้ยาก ใช้ทำบ้านเรือน เรือ แพ สะพาน เขื่อน ไม้หมอนรถไฟ และการก่อสร้างอื่นๆ ที่ต้องการความแข็งแรงทนทานมาก จากความแข็งแรงนี้เองทำให้มีสำนวนว่า หนักแน่แก่นเคี่ยม