Category: ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น

ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น

การพัฒนานั้น จะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ ภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ก็คือ เรื่องราวทางสังคมวิทยาคือนิสัยใจคอของคนนั่นเอง…

ตรังนา : กับภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ที่จำต้องผสมผสาน เพื่อความอยู่ได้

ตรังนา : กับภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ที่จำต้องผสมผสาน เพื่อความอยู่ได้

ความเป็นตรังนา มิได้เป็นเหมือนชุมชนชาวนาภาคกลางที่มีพื้นที่นาสุดลูกหูลูกตาเป็นร้อย ๆ ไร่ ผืนที่นาของเมืองตรังมีอยู่เป็นแปลงเล็กแปลงน้อยกระจายกันอยู่ตามที่ราบลุ่มระหว่างควน ริมห้วย ริมคลอง ริมบ้าน ริมพรุ หมู่ตรังนาไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำนาบนพื้นที่นาสี่ไร่ห้าไร่ เป็นการทำนาเพื่อเก็บไว้กินเอง ไม่เหลือพอที่จะขายข้าว หมู่ตรังนาจึงต้องทำนาปี ผสมผสานไปกับการเลี้ยงสัตว์ปลูกผัก

ตรังเขา ตรังนา ตรังเล

ตรังเขา ตรังนา ตรังเล

สภาพภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์เป็นตัวกำหนดภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ถ้าจะถือเอาสภาพภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์เป็นตัวตั้ง ชุมชนเมืองตรังแบ่งได้ 3 เขต คือ ชุมชนที่ราบเชิงเขา ชุมชนทุ่งนา ชุมชนชายฝั่ง ไม่นับชุมชนเมืองเพราะเป็นชุมชนใหม่ที่เกิดมาจากชุมชนทุ่งนา

เกลอเขา-เกลอเล

นิทานพื้นบ้านเรื่องไอ้เกลอเขา – ไอ้เกลอเล

หากนิทานพื้นบ้านยังเป็นที่เชื่อถือและยอมรับกันว่า ตัวละครในเรื่องคือภาพลักษณ์และพฤติกรรมของสังคมนั้นในยุคนั้น ตัวละครคือสภาพทางสัมคมศาสตร์ อันหมายถึงนิสัยใจคอของผู้คน เรื่องราวไอ้เกลอเขา – ไอ้เกลอเล คือภาพลักษณ์และพฤติกรรมของคนเมืองตรังในครั้งกระโน้น แม้จะไม่ทุกส่วน แต่มีลักษณะเป็นองค์รวมของความเป็นคนเมืองตรังอย่างแน่นอน 

ภูมิปัญญาตรัง กับหมอยาพื้นบ้านและการใช้สมุนไพร

ภูมิปัญญาตรัง กับหมอยาพื้นบ้านและการใช้สมุนไพร

คงไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า สมุนไพรตัวใด ยาพื้นบ้านขนานใด เป็นการค้นพบโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นตรัง ด้วยความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรรักษาโรคนั้นมีมาช้านาน จากประวัติในสมัยพุทธกาลมีการบัญญัติและกล่าวถึงสมุนไพรในพระไตรปิฎก เช่น ขมิ้น ขิง ดีปลี สมอ มะขามป้อม มหาหิงค์ เป็นต้น จากการที่รัชกาลที่ 3 โปรดให้จารึกตำรายาไว้ที่ฝาผนังวัดพระเชตุพนฯ ถือเป็นการยืนยันความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรเป็นอย่างดี และถือเป็นการตรวจสอบมาตรฐานสรรพคุณไปด้วยในตัว ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อโรงเรียนแพทย์เปิดสอนครั้งแรก พ.ศ. 2432 โรงพยาบาลศิริราช ใช้ยาสมุนไพรตามแผนโบราณทั้งหมด

ตรังเมือง : กับภูมิปัญญาการสื่อสารข่าว

ตรังเมือง : กับภูมิปัญญาการสื่อสารข่าว

ตรังเมืองมีคนจีนพลัดถิ่นมาทำมาหากินในยุคแรกๆ อย่างน้อยสามกลุ่มคือ เปิดร้านขายน้ำชากาแฟ ซื้อของเก่า และปลูกผักขาย ความเป็นคนพลัดถิ่นได้ถักทอความรักความอาทรห่วงใยไว้อย่างเหนียวแน่น แม้ว่างานบีบรัดแบบปากกัดตีนถีบ ไปมาหาสู่ไม่ได้ แต่ข่าวคราวติดต่อสื่อสารกันมิได้ขาด ร้านนน้ำชากาแฟคือศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน มีทั้งสื่อตรงระหว่างกัน และบอกต่อปากต่อปาก

ตรังเล

ตรังเล : กับภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่ทำลายล้าง

ตลอดระยะเวลา 119 กิโลเมตรของทะเลตรัง ชุมชนตรังดำรงชีวิตอยู่ด้วยทรัพยากรทางทะเลเกือบร้อยเปอร์เซนต์ ในช่วงแรก ทำการประมงแบบยังชีพ ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมไม่ทำลายล้าง ตามชายฝั่งน้ำตื้น แต่ต่อมารัฐได้ให้สัมปทานป่าชายเลนเพื่อเผาถ่าย ใช้เรืออวนลากทำการประมงเชิงพาณิชย์เพื่อการส่งออก ป๊ะบู นวลศรี ปราชญ์ชาวบ้านตรังเล บ้านแหลมมะขาม อำเภอสิเกา ได้ฉายภาพความเป็นตรังเลแต่อดีตสู่ปัจจุบันไว้ดังนี้

ตรังเขา : กับภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่เกิดจากการสั่งสมสืบทอดบนวงเวียนชีวิต

ตรังเขา : กับภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่เกิดจากการสั่งสมสืบทอดบนวงเวียนชีวิต

ความเป็นตรังเขา เริ่มต้นชีวิตกลางป่า และจบชีวิตลงกลางป่า มาหลายชั่วอายุคนแล้ว คือ ใบปริญญาที่รับรองว่า หมู่ตรังเขา มีภูมิปัญญา ดำรงชีพ ดำรงชีวิตอยู่กับป่า กับสัตว์ป่า ภายใต้กฎเกณฑ์ เสพ – สร้าง ระหว่างกันโดยไม่เสียสมดุล กลมกลืนอยู่ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ดังจะยกให้เห็นพอเป็นรูปธรรม

บทสรุปบนเส้นทางภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ตรังเขา ตรังนา ตรังเล

บทสรุปบนเส้นทางภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ตรังเขา ตรังนา ตรังเล

บนเส้นทางภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ตรังเขา ตรังนา ตรังเล บนเส้นทางการพึ่งพาตนเอง และการพึ่งพิงเพื่อนบ้านย่านเคียงภายใต้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมไม่ทำลายล้าง ทั้งตนเอง ผู้อื่น และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของตรังเขา ตรังนา และตรังเล ที่ผ่านมาถูกละเลยลืมเลือนไปบ้าง แต่วันนี้ของตรังเขา ตรังนา ตรังเล รู้แล้วว่า อะไรเป็นอะไร