Category: ภาษาและวรรณกรรม

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-นักเขียน กวีเมืองตรัง:วรรณกรรม

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-นักเขียน กวีเมืองตรัง:วรรณกรรม

กวีที่ปรากฏชื่อเสียงคนแรกของเมืองตรังคือพระยาตรัง หรือพระภักดีบริรักษณ์ อดีตเจ้าเมืองตรัง กวีเอกผู้หนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีงานวรรณกรรมสำคัญได้แก่ โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย โคลงนิราศถลาง หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่านิราศพระยาตรัง โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเพลงยาวนิราศว่าด้วยครั้งไปวางตราเป็นเจ้าเมืองตรัง เรื่องหลังสุดนี้ปัจจุบันไม่อาจหาต้นฉบับได้

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-บทลิเกป่า

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-บทลิเกป่า

บทลิเกป่า ลิเกป่า เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่นิยมแพร่หลายในหมู่คนไทยฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดตรัง กระบี่ และพังงา การละเล่นเช่นนี้มีมานานเท่าใดไม่ปรากฏ ส่วนใหญ่เชื่อว่าเริ่มมีขึ้นในจังหวัดตรัง

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-เพลงรองเง็งตันหยง

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-เพลงรองเง็งตันหยง

การละเล่นชนิดนี้มีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์คือผู้เล่นต้องร้องกลอนโต้ตอบเพื่อเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหญิงชายส่วนใหญ่เป็นกลอนที่ผูกขึ้นสดๆ โดยมีฉันทลักษณ์ที่ค่อนข้างแน่นอน ตัวอย่างบทชาย บุหงาตันหยง หยงไหรละน้องยังดอกสาวเหล้า แต่งงานกับบังตะน้องสาว ลูกออกมาขาวแล้วน่าชม ถ้าได้ลูกหญิง อิจับแขวนปิ้งให้เรียนดัดผม ลูกออกมาขาวแล้วน่าชม ดัดผมน้องหนอรำหล้อแหง็ง

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-คำคล้องจอง คำร้องเล่น

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-คำคล้องจอง คำร้องเล่น

คนไทยนิยมใช้ภาษาที่มีคำคล้องจองกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ จะเห็นว่าเรามีสำนวนคล้องจองใช้กันมากมาย เช่น ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว รักยาวบั่น รักสั้นให้ต่อ เป็นต้น ในจังหวัดตรังมีถ้อยคำคล้องจอง คำร้องเล่นมากมาย ซึ่งเป็นข้อมูลมุขปาฐะเสียเป็นส่วนใหญ่ และวัยที่ใช้กันมากคือวัยเด็ก เพราะเด็กๆ จะรวมกลุ่มทำกิจกรรมและละเล่นต่างๆ อยู่เสมอ จนทำให้คุ้นหูกับถ้อยคำคล้องจองไปโดยปริยาย เช่น เล่น ฉับโหยง หรือ ขวิดโหยง ก็จะมีบทร้องประกอบว่า “ฉับโหยง โยงไม้เกรียบ ผัวเล่นเกรียบ

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-นิทาน ตำนาน:ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองตรัง

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-นิทาน ตำนาน:ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองตรัง

ความหมายของคำว่า ตรัง มีผู้พยายามหาข้อสันนิษฐานจากเหตุผลต่างๆ ประกอบเพื่ออธิบายความหมายและที่มาของคำว่า ตรัง ไว้หลายแนวความคิด แต่ในที่นี้ยกมาเฉพาะที่เป็นความหมายของำว่า ตรัง ที่ตรวจสอบจากเอกสารแล้วว่ามีแหล่งที่มาชัดเจนสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นหลักในการสันนิษฐานต่อไปได้ ดังนี้

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-ภาษา

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-ภาษา

 ภาษา  ในการศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์ ภาษาถิ่นตรังจัดอยู่ในกลุ่มภาษาภาคใต้ตอนกลางและเขตพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันออก ร่วมกับภาษากระบี่ พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลาบางอำเภอ (ระโนด สทิงพระ กระแสสินธุ์)  ภาษาถิ่นตรังมีลักษณะสำคัญเช่นเดียวกับภาษาถิ่นใต้โดยทั่วไป กล่าวคือ มีสำเนียงพูดห้าวและห้วน ขาดหางเสียง