Category: การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี

ลิเกป่า

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรสพเมืองตรัง-ลิเกป่า

ลิเกป่า ลิเกป่า ลิเกบก ลิเกรำมะนา หรือแขกแดงก็เรียก เป็นศิลปะการแสดงที่เล่นทั่วไปในจังหวัดชายทะเลฝั่งตะวันตก เชื่อกันว่าเริ่มเกิดขึ้นที่ปากแม่น้ำตรัง ในอำเภอกันตังปัจจุบัน เพราะไม่ว่าจะเล่นในจังหวัดใดในบทร้องตามท้องเรื่องแต่เดิมนั้นใช้ฉากที่อำเภอกันตังเป็นหลัก

หนังตะลุงดาวรุ่ง

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรสพเมืองตรัง-หนังตะลุง

หนังตะลุง หนังตะลุงเป็นศิลปะการละเล่นของเมืองตรังที่โดดเด่นของเมืองตรังงานรื่นเริงทุกชนิดของเมืองตรังรวมทั้งงานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ บวชนาค งานศพและงานแก้บนต่างๆ มักจะไม่ขาดหนังตะลุง

กลองยาว

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรสพเมืองตรัง-กลองยาว

กลองยาว ในสังคมเมืองตรัง กลองยาวเป็นดนตรีที่นิยมบรรเลงประกอบงานต่างๆ เช่น นำขบวนแห่ศพ แห่นาค ขบวนขันหมากแต่งงาน ขบวนลากพระ ฯลฯ กล่าวได้ว่ากลองยาวเป็นส่วนหนึ่งในขบวนแห่ มีผู้ร่วมขบวนร่ายรำอย่างสนุกสนาน สร้างบรรยากาศครื้นเครงให้ผู้คน เสริมสร้างความสัมพันธ์ ความสนุกสนานในโอกาสต่างๆ เป็นอย่างดี

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรสพเมืองตรัง-กาหลอ

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรสพเมืองตรัง-กาหลอ

กาหลอ กาหลอเป็นเครื่องประโคมเก่าแก่นิยมเล่นในงานศพมานาน เสี่ยงปี่กาหลอ ผสมผสานกับเสียงฆ้องและกลองประโคมนี้ เชื่อกันว่า เป็นการปลุกวิญญาณผู้ตายให้คลายโศก รวมทั้งได้ปลอบประโลมญาติมิตรที่อยู่ข้างหลังด้วย

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรสพเมืองตรัง-รองเง็ง

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรสพเมืองตรัง-รองเง็ง

รองเง็ง รองเง็ง หร้อแหง็ง หล้อแหง็ง หรือเพลงตันหยง เป็นศิลปะการเต้นรำพื้นเมืองของไทยมุสลิมที่นิยมเล่นกันในท้องถิ่นภาคใต้ เล่นกันว่า ในชายฝั่งตะวันตกเริ่มมีเป็นครั้งแรกที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ในจังหวัดตรังก็มีคณะรองเง็งตามหมู่บ้านมุสลิมตามชายฝั่งและเกาะ

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรสพเมืองตรัง-มโนราห์

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรสพเมืองตรัง-มโนราห์

มโนราห์ มโนราห์หรือโนรา เป็นศิลปะการแสดงที่โดดเด่นของเมืองตรังคู่กับหนังตะลุง สามารถใช้เป็นเครื่องวัดมาตรฐานคุณภาพของชายหนุ่มเมืองตรังในสมัยก่อน จนกล่าวกันว่า เป็นธรรมเนียมผู้ชายไปขอลูกสาว ฝ่ายเจ้าสาวจะต้องถามก่อน 2 ข้อ คือ รำโนราเป็นหรือไม่ กับ ลักควายเป็นหรือไม่ ถ้าไม่เป็นก็หมดโอกาสจะได้ลูกสาว เพราะบิดามารดาของผู้หญิงไม่เห็นว่าจะเลี้ยงเมียได้อย่างไร ที่เป็นเช่นนี้เพราะการเป็นมโนราห์นั้นต้องเป็นคนที่คล่องแคล่วและมีไหวพริบปฏิภาณ ส่วนการขโมยควายนั้นแสดงถึงความกล้าหาญใจนักเลง

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นและกีฬาของผู้ใหญ่-ชนไก่

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นและกีฬาของผู้ใหญ่-ชนไก่

ชนไก่ การชนไก่เป็นกีฬาพื้นเมืองอีกประเภทหนึ่ง ที่มีการสืบทอดตำราลักษณะ ศาสตร์แห่งการเลี้ยง การคัดพันธุ์ และการฝึกฝนเชิงชนเช่นเดียวกับแม่ไม้มวยไทยบนสังเวียนการต่อสู้ ลักษณะของไก่ชน นักเลงชนไก่จะดูลักษณะตามสายพันธ์ โดยทั่วไปจะแบ่งไก่เป็นพันธุ์ไก่แกง กับพันธุ์ไก่ชนโดยดูลักษณะจากสีขน เกล็ด และ ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น เหนียง หงอน หน้าอก เดือย ถ้ามีลักษณะดีตรงตามตำราก็จัดเป็นพันธุ์ไก่ชน การพิจารณาลักษณะไก่ชนเป็นศาสตร์ที่ต้องศึกษากันอย่างลึกซึ้ง และส่วนใหญ่จะประมวลขึ้นจากประสบการณ์ของการดูไก่ชนมานาน ผู้คนในเมืองตรังไม่น้อยนิยมเลี้ยงไก่ชนไว้ขยายสายพันธุ์อย่างแพร่หลาย

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นและกีฬาของผู้ใหญ่-ชนวัว

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นและกีฬาของผู้ใหญ่-ชนวัว

ชนวัว การชนวัวเป็นกีฬาพื้นเมืองที่นิยมเล่นกันทั่วไปในภาคใต้ นักเลงวัวชนพากันสรรหาและเลี้ยงวัวตัวผู้หนุ่มถึกไว้ประลองกำลังกันในชั้นเชิงฝึกปรือดูลีลาเพลงชนของวัวเพื่อนำไปเปรียบคู่ชนกันในงานเทศกาลต่างๆ จนมีการจัดให้มีสนามชนวัวเกิดขึ้นเป็น บ่อนชนวัว ควบคู่กับการคัดเลือกสรรหาวัวชนเข้าสู่บ่อนชนแบบถาวร

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นและกีฬาของผู้ใหญ่-สะบ้า

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นและกีฬาของผู้ใหญ่-สะบ้า

 สะบ้า  การเล่นสะบ้า หรือ ยิงลูกบ้า เป็นที่นิยมของคนเมืองตรังมานาน โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ ในเมืองตรังยังมีเล่นกันอยู่บ้างตามหมู่บ้านบางแห่ง      สะบ้าเป็นไม้เถา ลูกเป็นฝักยาวๆ ห้อยลงมา แต่ละฝักจะมีลูก 3 – 8 เม็ด ลูกสะบ้ามีลักษณะกลมแบน ตรงกลางนูนเล็กน้อย ใช้กลิ้งหมุนไปบนพื้นเรียบๆ ได้ดี เหมาะที่จะนำมาใช้เล่นพลิกแพลงต่างๆ    

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-โจรลักวัว

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-โจรลักวัว

โจรลักวัว การเล่นเริ่มด้วยการตกลงแบ่งกลุ่มผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ ฝ่ายโจร กับ ฝ่ายนาย (ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่) กี่คนก็ได้ ส่วนคนหนึ่งเป็นเจ้าของบ้าน หรือเจ้าของวัว และมีคนเล่นเป็นวัวอีกคนหนึ่งหรือ 2 – 3 คน

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-เล่นเตย

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-เล่นเตย

การเล่นเตยเป็นการออกกำลังกายกลางแจ้งของเด็กๆ ที่ให้ความสนุกสนานสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มและฝึกปฎิบัติตามกติกาที่ตกลงร่วมกัน สถานที่เล่นจะเป็นตามลานที่กว้างพอสมควร  การเล่นเตย มี ๒ ชนิด คือ เตยหลัก และเตยวง 

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-ซ่อนหา หรือปิดตาลักซ่อน

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-ซ่อนหา หรือปิดตาลักซ่อน

ซ่อนหา หรือปิดตาลักว่อน หรือเคาะกระป๋อง การเล่นซ่อนหาของเด็ก เรียกว่า ปิดตาลักซ่อน สถานที่เล่นส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่กว้างสามารถหลบซ่อนได้ มีการกำหนดเขตบริเวณที่จะหลบซ่อนในระยะใกล้ๆ โดยมีผู้เล่นเป็นฝ่ายผู้หาคนหนึ่งหรือ ๒ คน เด็กที่เหลือเป็นฝ่ายซ่อน ถ้ามีกระป๋องเป็นอุปกรณ์ก็เรียก เคาะป๋อง กระป๋องที่ใช้มักเป็นกระป๋องนมข้นใส่ก้อนหินไว้ข้างใน แล้วใช้ไม้หรือก้อนหินหนักๆ ทุบปากกระป๋องให้ปิดสนิท ไว้ใช้เคาะเป็นเสียงสัญญาณว่าพบผู้ซ่อนแล้ว

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-ซัดราว ฟัดราวหรืออีฟัด

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-ซัดราว ฟัดราวหรืออีฟัด

ซัดราว ฟัดราว หรืออีฟัด การเล่นชัดราวเป็นการเล่นเพื่อความสนุกสนาน ผู้เล่นเป็นชายหรือหญิงก็ได้ไม่จำกัดจำนวน มักจะเล่นกันในบริเวณที่โล่งกลางแจ้งตอนแดดร่มอันเป็นการเสริมสร้างสุขภาพให้เด็กได้ออกกำลังกาย และเป็นการรวมกลุ่มของเด็กในช่วงเวลาการทำงานของผู้ใหญ่

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-ขบลูกยาง

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-ขบลูกยาง

ขบลูกยาง เมืองตรังเป็นถิ่นช่วงหน้าแล้งใบไม้ร่วง ลูกยางพาราจะแตกออกจากผลหล่นกระจายอยู่ในสวน เด็กๆ ก็จะไปเก็บเอามาเล่นเรียกว่า ขบลูกยาง