Category: เอกลักษณ์ท้องถิ่น

rubber-5191097_1280

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-ยางพารา

เมืองตรังเป็นถิ่นกำเนิดยางพารา หลักฐานคือต้นยางพาราต้นแรกของประเทศไทยที่อำเภอกันตัง ชาวตรังจึงเห็นว่าต้นยางพาราเป็นต้นไม้คู่เมือง ยางพาราเป็นต้นไม้ที่มีมากที่สุดของจังหวัด ในปี พ.ศ. 2541 จังหวัดตรังมีพื้นที่ปลูกยางพาราถึง 1,173,468 ไร่ ซึ่งนับเป็นร้อยละ 71.46 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดในจังหวัด ยางพารามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hevea Brasiliensis (Willd. Ex A. Juss.) Muell .Arg. มีต้นกำเนิดมาจากแถบลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ ต่อมามีผู้นำมาปลูกที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย หรือชวาและมลายูในสมัยโน้น

ดอกสรีตรัง

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-ศรีตรัง

ศรีตรังเป็นไม้เมืองร้อน มีต้นกำเนิดที่บราซิล มีผู้นำพันธุ์เข้ามาปลูกในแหลมมลายู เช่นเดียวกับต้นยางพารา ผู้นำเข้ามาปลูกในเมืองตรังคือพระยารัษฎาฯ ชื่อวิทยาศาสตร์ ของศรีตรังคือ Jacaranda obtusifolia ssp. rhombifolia (Meijer) Gentry มีชื่อพ้องว่า J. acutifolia Humb. & Bonpl. และ J.filicifolia (Anders) D.Don วงศ์ Bignoniaceae

ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี : คำขวัญอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง

ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี : คำขวัญอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง

ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี แม้จะเหมือนกับคำขวัญจังหวัดอื่นตรงที่เป็นข้อธรรมะ เป็นนามธรรม แต่เป็นข้อธรรมะที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในหมวดธรรมโดยตรง เป็นการมุ่งเน้นคุณค่าทางด้านประชาธิปไตยมากกว่าคุณค่าทางด้านศีลธรรมดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะวรรคแรก ชาวตรังใจกว้าง ซึ่งถือเป็นความหมายหลัก ส่วนวรรคหลังสร้างแต่ความดี เป็นความหมายรองที่ตามมา

งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ

งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ

งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ : งานประจำปีที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ เป็นงานประจำปีจังหวัดเดียวในประเทศไทย ที่ได้นำเอาสถาบันพระมหากษัตรย์และสถาบันการปกครองแบบประชาธิปไตยมาผสมผสานเข้าไว้ในงานรื่นเริงประจำปีที่ทางรัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้จังหวัดต่างๆ จัดงานประจำปีได้ปีละครั้ง จังหวัดต่างๆ มีอิสระในการจัดงาน

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม-ขนมเค้กเมืองตรัง

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม-ขนมเค้กเมืองตรัง

ขนมเค้กเมืองตรัง : ของฝากที่เป็นเอกลักษณ์จากเมืองตรัง ขนมเค้กเมืองตรังของฝากที่ใครก็ตามได้รับ แค่เห็นกล่องก็บอกได้ว่า นี่เป็นเค้กเมืองตรัง โดยยังไม่ได้ลองลิ้มชิมรสแม้แต่น้อย การที่คนต่างบ้านต่างเมือง แค่เห็นกล่องขนมเค้กของเมืองตรัง ก็บอกได้ว่านั่นเป็นขนมของเมืองตรัง ก็เพราะขนมชนิดนี้บรรจุกล่องแบบนี้ไม่มีที่จังหวัดอื่น แต่ไม่ได้หมายความว่า ส่วนผสมหลัก เนื้อในแบบนี้ รสชาติแบบนี้ ไม่มีที่บ้านอื่นเมืองอื่น

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม-กินหมูย่างกับกาแฟ

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม-กินหมูย่างกับกาแฟ

กินหมูย่างกับกาแฟ : อาหารมื้อเช้า อันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง การกินกาแฟแทนอาหารมื้อเช้าเป็นปกติวิสัยของหมู่คนจีนในเมืองตรังมานานแล้ว และนิยมมาสู่หมู่คนตรังชั้นกลางที่เป็นข้าราชการ นักธุรกิจที่อยู่ในเขตตรังเมือง ชานเมืองเป็นลำดับต่อมา

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-พะยูน

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-พะยูน

ตันหยง ตันหยง หยงไหรละน้อง เจ้าดอกเหฺมฺล บังไปไม่รอดเสียแล้วแด ถูกเหน่น้ำตาปลาดุหยง คดข้าวสักหวัก คิดถึงน้องรักบังกินไม่ลง ถูกเหน่น้ำตาปลาดุหยง บังกินไม่ลงสักคำเดียว บทเพลงรองเง็งบทนี้ร้องกันอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลตะวันตก ซึ่งรวมทั้งที่เมืองตรัง นอกจากการทำหน้าที่สะท้อนความเชื่อแล้ว ยังเป็นเครื่องยืนยันว่ปลาดุหยงหรือพะยูนเป็นที่รู้จักมานานแล้วในแถบนี้ ปลาดุหยงหรือพะยูน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตระกูลเดียวกับช้าง มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น หมูน้ำ เงือก วัวทะเล Dugong Sea cow มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugong มีนิทานชาวบ้าน กล่าวถึงหญิงมีครรภ์ที่อยากกินลูกหญ้าชะเงาซึ่งเป็นหญ้าทะเลชนิดหนึ่ง การกินหญ้านี้ทำให้นางกลายเป็นปลาดุหยงไปในที่สุด สมัยก่อน เรื่องราวของพะยูนคงเป็นรับรู้กันเฉพาะในหมู่เล ทั้งด้วยตำนาน...

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-ภูมิประเทศเมืองตรัง

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-ภูมิประเทศเมืองตรัง

จากเครื่องหมายภูเขา คือตลอดแนวเทือกเขาบรรทัดในเขตภูเขาและเชิงเขา และต่อลงมาถึงพื้นที่เขตลอนลูกฟูกคือที่ราบแคบๆ สลับควนหรือเนิน แทรกด้วยภูเขาหินปูนโดด ที่ลุ่มหนองน้ำอันเกิดจากหลุมยุและหลุมจม ทุกลักษณะมีครบถ้วนในเขตตัวเมืองตรัง กลายเป็นเอกลักษณ์แห่งเมือง พื้นที่ควนที่เหนได้ชัดคือบริเวณที่ตั้งศาล ศาลากลาง และจวนผู้ว่าราชการจังหวัด วัดควนวิเศษ อนุสาวรีย์พระยารัษฎาฯ

00041

ประเพณีงานศพ : เอกลักษณ์ของเมืองตรัง

จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เมืองตรังตรงกันว่า ความเป็นมาของใบประกาศกำหนดงานฌาปนกิจศพของเมืองตรังนั้น เริ่มขึ้นในหมู่คนจีนที่มาอาศัยเมืองตรังยุคแรกๆ เขียนบอกข่าวการตายของญาติพี่น้องมาแขวนปิดไว้ตามร้านกาแฟ ด้วยภาษาจีน เพื่อให้เพื่อนคนจีนด้วยกันได้รับทราบเหตุผลที่ต้องเขียนปิดไว้ตามร้านแฟ เป็นเพราะคนจีนนิยมดื่มกาแฟในตอนเช้า ประการหนึ่งและคงไม่มีเวลาเดินบอกข่าวการตาย