Category: โบราณคดี

04

มรดกทางสถาปัตยกรรมในเมืองทับเที่ยง

“เมืองทับเที่ยง” หรือ “เมืองตรัง” เป็นเมืองศูนย์กลางด้านธุรกิจการค้ามาตั้งแต่อดีต เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีชาวจีนเข้ามาบุกเบิกทำสวนพริกไทยกันอย่างกว้างขวางจนเกิดเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อมีการย้ายที่ตั้งเมืองตรังจากตัวเมืองกันตังมาตั้งที่เมืองทับเที่ยง ทำให้ชุมชนตลาดการค้าเริ่มขยายตัวจนกลายสภาพเป็นตัวเมืองตรังดังเช่นในปัจจุบัน ด้วยประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานที่ยาวนานส่งผลให้เมืองทับเที่ยงกลายเป็นแหล่งรวมมรดกทางสถาปัตยกรรมหลากหลายรูปแบบเป็นหลักฐานที่สะท้อนความเจริญรุ่งเรืองของเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี มรดกทางสถาปัตยกรรมในเมืองตรังมีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามกลุ่มชาติพันธ์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในตัวเมืองตรัง ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 กลุ่ม คือ 1) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 2) สถาปัตยกรรมแบบจีน 3) สถาปัตยกรรมแบบนีโคลาสสิค 4) สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส และสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย มรดกทางสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่บริเวณศูนย์กลางธุรกิจการค้าของเมืองทับเที่ยงย่านถนนราชดำเนิน ถนนพระรามที่ 6 และถนนกันตัง หนึ่งในกลุ่มอาคารที่เป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมแบบจักรวรรดิ์นิยม (Colonial Style) ในตัวเมืองตรัง คือ บ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “จวนผู้ว่า”...

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง

พระพุทธสิหิงค์เมืองตรัง พระพุทธสิหิงค์ในเมืองไทยถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง มีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช แต่ละองค์จะมีตำนานแตกต่างกันไปบ้าง แต่ที่ตรงกันคือกล่าวถึงที่มาดั้งเดิมว่ามาจากลังกา ต่อมาก็มีพระพุทธสิหิงค์สกุลช่างนครศรีธรรมราช สังเกตได้ว่าเมืองที่มีพระพุทธสิหิงค์ส่วนใหญ่เป็นเมืองที่เคยเป็นศูนย์กลางการปกครอง จึงน่าภูมิใจว่าเมืองตรังซึ่งเป็นเพียงเมืองท่าหน้าด่านในอดีตก็ยังมีพระพุทธสิหิงค์เป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-รูปปั้นอนุสาวรีย์

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-รูปปั้นอนุสาวรีย์

อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)      อนุสาวรีย์พระยารัษฎาฯ อยู่บนเนินเตี้ยๆ ในบริเวณเขตเทศบาลเมืองตรัง ตรงต้นทางแยกออกสู่ถนนตรัง – พัทลุง พระยารัษฎาฯ ได้จัดสร้างตำหนักรับเสด็จฯ ได้รับพระราชทาน นามจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เมื่อ พ.ศ. 2452 ว่า ตำหนักผ่อนกาย คนเก่าๆ เรียกกันว่า ที่ยน เพราะรอบบริเวณนี้เป็นดินยน (ยน หมายถึงหล่มเลนหรือโคลนดูด) บางแห่งเขียนเป็น ที่ยล โดยให้เหตุผลว่าเปนที่สูงมองทิวทัศน์ออกไปรอบๆ ได้ชัดเจน

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-สถาปัตยกรรมดีเด่น

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-สถาปัตยกรรมดีเด่น

อุโบสถวัดเขากอบ วัดเขากอบตั้งอยู่ที่ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด อุโบสถวัดเขากอบสร้างเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2503 โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคา 2 ชั้น หันหน้าทางทิศตะวันออก มีระเบียงโดยรอบ แต่มีลักษณะพิเศษ คือ มีมุข 3 ด้าน ได้แก่ ด้านหน้า ด้านหลัง และมุขข้างเพียงด้านเดียวคือด้านทิศใต้ ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายฉลุโปร่ง เป็นช่องลมในตัว

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-แหล่งประวัติศาสตร์

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-แหล่งประวัติศาสตร์

แหล่งประวัติศาสตร์เกาะลิบง ตามประวัติเมืองตรัง โต๊ะฮ้าหวาหรือโต๊ะปังกะหวา ผู้นำชุมชนในเกาะลิบง ได้เป็นพระยาลิบงตำแหน่งเจ้าเมือง ต่อมาเมื่อสิ้นพระยาลิบงแล้ว หลวงฤทธิสงครามได้เป็นเจ้าเมือง

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-แหล่งโบราณคดี

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-แหล่งโบราณคดี

แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาสามบาตร ถ้ำเขาสามบาตร บางแห่งเขียน สามบาทเป็นถ้ำบนภูเขาหินปูนเล็กๆ ใกล้แม่น้ำตรังและวัดไพรสณฑ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลนาตาล่วงอำเภอเมืองตรัง ชาวบ้านเล่าว่า มีผู้นำทรัพย์สมบัติมาซุกซ่อนไว้มากถึง 3 บาตรพระ และยังผูกปริศนาลายแทงไว้ว่า ขึ้นต้นขาม (มะขาม) ข้ามต้นทึง (กะทิง) ถึงต้นข่อยคอย (มอง) ลงมา ไม้ค่าวาคัดออก ใครทายออก กินไม่รู้สิ้น

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-โบราณวัตถุ

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-โบราณวัตถุ

พระงาม เป็นพระพุทธรูปประจำวัดพระงาม ประดิษฐานอยู่ในศาลาการเปรียญของวัด วัดตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง ตามประวัติกล่าวว่า วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2224 มีตำนานว่านางเลือดขาวเป็นผู้มาสร้างวัดพระงามและสร้างพระพุทธรูปไว้ในคราวเดียวกับที่สร้างวัดพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์