Category: แหล่งมรดกวัฒนธรรม

04

มรดกทางสถาปัตยกรรมในเมืองทับเที่ยง

“เมืองทับเที่ยง” หรือ “เมืองตรัง” เป็นเมืองศูนย์กลางด้านธุรกิจการค้ามาตั้งแต่อดีต เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีชาวจีนเข้ามาบุกเบิกทำสวนพริกไทยกันอย่างกว้างขวางจนเกิดเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อมีการย้ายที่ตั้งเมืองตรังจากตัวเมืองกันตังมาตั้งที่เมืองทับเที่ยง ทำให้ชุมชนตลาดการค้าเริ่มขยายตัวจนกลายสภาพเป็นตัวเมืองตรังดังเช่นในปัจจุบัน ด้วยประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานที่ยาวนานส่งผลให้เมืองทับเที่ยงกลายเป็นแหล่งรวมมรดกทางสถาปัตยกรรมหลากหลายรูปแบบเป็นหลักฐานที่สะท้อนความเจริญรุ่งเรืองของเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี มรดกทางสถาปัตยกรรมในเมืองตรังมีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามกลุ่มชาติพันธ์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในตัวเมืองตรัง ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 กลุ่ม คือ 1) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 2) สถาปัตยกรรมแบบจีน 3) สถาปัตยกรรมแบบนีโคลาสสิค 4) สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส และสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย มรดกทางสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่บริเวณศูนย์กลางธุรกิจการค้าของเมืองทับเที่ยงย่านถนนราชดำเนิน ถนนพระรามที่ 6 และถนนกันตัง หนึ่งในกลุ่มอาคารที่เป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมแบบจักรวรรดิ์นิยม (Colonial Style) ในตัวเมืองตรัง คือ บ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “จวนผู้ว่า”...

ลิเกป่า

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรสพเมืองตรัง-ลิเกป่า

ลิเกป่า ลิเกป่า ลิเกบก ลิเกรำมะนา หรือแขกแดงก็เรียก เป็นศิลปะการแสดงที่เล่นทั่วไปในจังหวัดชายทะเลฝั่งตะวันตก เชื่อกันว่าเริ่มเกิดขึ้นที่ปากแม่น้ำตรัง ในอำเภอกันตังปัจจุบัน เพราะไม่ว่าจะเล่นในจังหวัดใดในบทร้องตามท้องเรื่องแต่เดิมนั้นใช้ฉากที่อำเภอกันตังเป็นหลัก

หนังตะลุงดาวรุ่ง

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรสพเมืองตรัง-หนังตะลุง

หนังตะลุง หนังตะลุงเป็นศิลปะการละเล่นของเมืองตรังที่โดดเด่นของเมืองตรังงานรื่นเริงทุกชนิดของเมืองตรังรวมทั้งงานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ บวชนาค งานศพและงานแก้บนต่างๆ มักจะไม่ขาดหนังตะลุง

วิถีซาไก-feature

วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชนเผ่าซาไก

วัฒนธรรมชนเผ่าซาไก พวกชนเผ่าซาไก หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่าพวกชาวป่า หรือ เงาะ แต่คนเหล่านี้เรียกตัวเองว่า มันนิ ดำเนินชีวิตอยู่ในดินแดนแถบเทือกเขาบรรทัด มีส่วนหนึ่งอยู่ที่บ้านลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง การรวมกลุ่มของซาไกหรือมันนินั้น ปกติและกลุ่มจะประกอบด้วย 2 ครอบครัวขึ้นไป และจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่มจะมีประมาณกลุ่มละ 15 – 30 คน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการหากิน มีหัวหน้าปกครองกลุ่มเมื่อหัวหน้ากลุ่มตายลงก็เลือกกันใหม่ ไม่มีการสืบตำแหน่งตามสายเลือด

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีชาวไทยเชื้อสายจีน

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีชาวไทยเชื้อสายจีน

ชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองตรังได้ถือปฏิบัติประเพณีของบรรพบุรุษมาโดยต่อเนื่อง เมื่อถึงช่วงเทศกาลก็จะจัดให้มีกิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน และยึดมั่นในวัฒนธรรมของตนอย่างเหนียวแน่น        ตรุษจีน ช่วงเทศกาลตรุษจีน เป็นช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ประมาณเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ของทุกปี เตรียมงานกันประมาณ 1 ปักษ์ จะช่วยกันปัดกวาดทำความสะอาดบ้านเรือน เตรียมเสื้อผ้าใหม่

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีชาวไทยมุสลิม

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีชาวไทยมุสลิม

ประเพณีของชาวไทยมุสลิม ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดตรังมีวิถีความเป็นอยู่บนพื้นฐานศาสนธรรมและหลักการของอิสลาม จึงมีประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและชีวิต ดังตัวอย่าง      ประเพณีการถือศีลอด การถือศีลอด (ศีล – อด) หรือปอซา ซึ่งเป็นการงดเว้นการระงับยับยั้ง การครองตน เป็นการงดเว้นบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมเพศ การรักษาอวัยวะทุกส่วนให้พ้นจากการกระทำชั่ว

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีชาวไทยพุทธ

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีชาวไทยพุทธ

 ชาวไทยพุทธ และชาวไทยเชื้อสายจีนเมืองตรัง ส่วนใหญ่มีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและปฏิบัติต่อเนื่องกันมาจนเป็นประเพณีท้องถิ่น เช่น ตักบาตรปีใหม่ สงกรานต์เดือน 5 ลากพระเดือน 5 และลากพระเดือน 11 ถวายเทียนพรรษา เดือน 8 ลอยกระทงเดือน 12 และมีพิธีอื่นๆ ตามท้องถิ่น เช่น ลาซัง ทำขวัญข้าวซึ่งจัดหลังการเกี่ยวข้าว เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะบางประเพณีที่เด่นชัด

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีท้องถิ่นเมืองตรัง

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีท้องถิ่นเมืองตรัง

เมืองตรังมีประเพณีหลายอย่างตามพื้นฐานของผู้คน มีประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับเทศกาล ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ประเพณีในรอบปี ประเพณีที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่น่าสนใจ ได้แก่      ประเพณีงานศพ เมืองตรังมีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน ประเพณีงานศพเมืองตรังจึงมีพิธีกรรมที่แตกต่างไปตามศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม แต่มีบางอย่างที่เหมือนกันอันแสดงถึงความเป็นตรัง

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-การกินอยู่

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-การกินอยู่

การกินอยู่ ชาวตรังถือว่าการกินอยู่เป็นเรื่องสำคัญ อาหารของเมืองตรังจึงเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาอยู่หลายชนิด ในงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานศพ งานแต่งงาน หรืองานอื่นๆ จะมีการจัดเลี้ยงอาหารกันอย่างเต็มที่เสมอ

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-การแต่งกาย

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-การแต่งกาย

การแต่งกาย การแต่งกายของผู้คนในจังหวัดตรังในอดีตถึงปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงมาตามยุคสมัย ชาวบ้านแต่เดิมโดยทั่วไปนุ่งผ้าโจงกระเบน ผู้ชายมักนุ่งแบบไว้ชายเรียกว่านุ่งเลื้อยชายหรือลอยชาย คือใช้ผ้าทอผืนยาวนุ่งขมวดพกรัดเอวแบบเกี่ยวคอไก่ และจะใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่าหรือรัดเอวทับ ไม่ค่อยจะสวมเสื้อ

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-พิธีกรรมจากความเชื่อ-ไหว้พระภูมิ-พลีเรือน

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-พิธีกรรมจากความเชื่อ-ไหว้พระภูมิ-พลีเรือน

ไหว้พระภูมิ – พลีเรือน การไหว้พระภูมิ – ทำขวัญบ้าน (พลีเริน หรือ พลีเรือน) เป็นประเพณีจากความเชื่อที่ว่า มีพระภูมิเจ้าที่เป็นเทพารักษ์ประจำสถานที่ใช้ปลูกส้รางบ้านเรือนที่อาศัย พระภูมิมีหลายองค์ แต่ที่มักจะออกชื่อในพิธีเซ่นสังเวย มีท้าวกรุงพาลีนางธรณีรักษาแผ่นดิน บริถิวรักษาทางสัญจร ท้าวนาคารักษาห้วงน้ำ

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-พิธีกรรมจากความเชื่อ-ไหว้ครูหมอ-ตายาย

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-พิธีกรรมจากความเชื่อ-ไหว้ครูหมอ-ตายาย

ไหว้ครูหมอ – ตายาย ครูหมอและตายาย เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้านอันเป็นที่พึ่งพาช่วยเหลือปกปักรักษาลูกหลาน หมอชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีครูหมอ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยช่วยเหลือดูแลในการรักษาคนไข้ หรือตายายซึ่งเป็นบรรพบุรุษที่เคารพนับถือเป็นผู้ช่วยเหลอปกปักรักษาบุตรหลาน จึงพบเห็นการตั้งหิ้งบูชาไว้ที่บ้าน ใช้ผ้าขาวดาดเพดานไว้เหนือหิ้ง มีพานหมากพลู (เรียกว่า เชี่ยนครู) มีเทียนครูปักไว้ในพานและกระถางธูปบูชาประจำบ้าน

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ความเชื่ออื่นๆในจังหวัดตรัง

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ความเชื่ออื่นๆในจังหวัดตรัง

ความเชื่อมีอิทธิพลต่อแนวคิดและการประพฤติปฏิบัติของบุคคลและชุมชน ความเชื่อของชาวตรังก็เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ ในภาคใต้คือเป็นความเชื่อที่มีพื้นบานมาจากลัทธิศาสนา เท่าที่มีอยู่ทั่วไปจะเป็นความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ และอาจเชื่อในเรื่องของไสยศาสตร์ ซึ่งจะมีเกร็ดความเชื่อต่างๆ ในจังหวัดตรัง ดังนี้  

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ศาสนา-พราหมณ์ในจังหวัดตรัง

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ศาสนา-พราหมณ์ในจังหวัดตรัง

พราหมณ์ในจังหวัดตรัง หลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับพราหมณ์ในจังหวัดตรังไม่ปรากฏชัด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเมืองตรังเป็นเพียงทางผ่านของอารยธรรมจากอินเดียเข้าสู่ศูนย์กลางความเจริญที่อยู่ลึกเข้าไป คือ ศรีวิชัย นครศรีธรรมราช และพัทลุง จึงไม่ปรากฏหลักฐานโบราณวัตถุหรือโบราณสถานใดๆ ที่เกี่ยวกับพราหมณ์ในจังหวัดตรัง จะมีเพียงบุคคลผู้สืบสายสกุลจากพราหมณ์

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ศาสนา-คริสต์ศาสนาในจังหวัดตรัง

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ศาสนา-คริสต์ศาสนาในจังหวัดตรัง

คริสต์ศาสนาในจังหวัดตรัง คริสตชนในจังหวัดตรังเริ่มแรกจำกัดอยู่ในหมู่ตลาดของเขตตรังเมือง ต่อมาจึงแพร่หลายออกไปตามเขตอื่นบ้าง แต่ไม่มาก คือไม่ถึงร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด และยังแบ่งเป็น 2 นิกาย ได้แก่ โปรเตสแตนต์ กับโรมันคาทอลิก

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ศาสนา-ศาสนอิสลามในจังหวัดตรัง

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ศาสนา-ศาสนอิสลามในจังหวัดตรัง

ศาสนาอิสลามในจังหวัดตรัง ราวๆ ต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศาสนาอิสลามเข้ามาในแหลมมลายูพร้อมกับการค้าของชาวอาหรับและแพร่หลายไปมั่วในกลุ่มคนพื้นเมืองมลายู ต่อเนื่องมาจนถึงทางภาคใต้ของไทยและเมืองตรัง ที่เมืองตรังจะแพร่หลายอยู่ในชุมชนชายฝั่งทะเลเป็นส่วนมาก ประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดตรังส่วนใหญ่จึงเป็นหมู่เลอยู่ในเขตอำเภอสำเกา กันตัง ปะเหลียน ย่านตาขาว และกิ่งอำเภอหาดสำราญ      หลักฐานที่ปรากฏชัดถึงการมีอยู่และเป็นที่ยอมรับว่าศาสนาอิสลามและมุสลิมเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของเมืองตรัง คือในทำเนียบกรมการเมืองของเก่า พ.ศ. 2355 กล่าวถึงตำแหน่งกรมการเมืองต่างๆ รวมทั้งกรมการเมืองฝ่ายอิสลาม ซึ่งมีด่านทะเลฝ่ายไทยอิสลามมีด้านเกาะลิบง ด่านชายฝั่ง ด่านตอนใน และประวัติบอกเล่าของกลุ่มคนในตระกูลเก่าของอำเภอปะเหลียน กล่าวว่า เมื่อบ้านหยงสตาร์และบริเวณใกล้เคียง มีกลุ่มไทยมุสลิมอาศัยอยู่หนาแน่น ทางการได้แต่งตั้งหลวงจางวางราชสมบัติ (จอมซินตรี) ดูแลกลุ่มมุสลิมแถบชายทะเล      ปัจจุบัน ตรังเป็นจังหวัดหนึ่งที่ราชการกำหนดให้มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ดูแลกลุ่มชนมุสลิมตรังในด้านการปฏิบัติกิจทางศาสนาและพิธีกรรมให้เกิดความสะดวกและเป็นไปด้วยความเรียบร้อย     ...

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ศาสนา-พุทธศาสนาในจังหวัดตรัง

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ศาสนา-พุทธศาสนาในจังหวัดตรัง

พุทธศาสนาในจังหวัดตรัง การเผยแผ่พุทธศาสนาเข้าสู้จังหวัดตรังมีมานานแล้ว หลักฐานที่ปรากฏ คือโบราณวัตถุประเภทพระพิมพ์ดินดิบในถ้ำต่างๆ แถบอำเภอห้วยยอด แสดงอิทธิพลของพุทธศาสนามหายาน เป็นหลักฐานร่วมสมัยกับอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งมีอายุประมาณตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 – 15 ต่อมามีตำนานพื้นบ้าน เช่น ตำนานนางเลือดขาวสร้างวัด สร้างพระพุทธรูปและนำพระพุทธสีหิงค์เข้ามาเมืองตรัง ตำนานการเดินทางไปร่วมบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช

กลองยาว

มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรสพเมืองตรัง-กลองยาว

กลองยาว ในสังคมเมืองตรัง กลองยาวเป็นดนตรีที่นิยมบรรเลงประกอบงานต่างๆ เช่น นำขบวนแห่ศพ แห่นาค ขบวนขันหมากแต่งงาน ขบวนลากพระ ฯลฯ กล่าวได้ว่ากลองยาวเป็นส่วนหนึ่งในขบวนแห่ มีผู้ร่วมขบวนร่ายรำอย่างสนุกสนาน สร้างบรรยากาศครื้นเครงให้ผู้คน เสริมสร้างความสัมพันธ์ ความสนุกสนานในโอกาสต่างๆ เป็นอย่างดี