การตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคประวัติศาสตร์ – อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์

1.2.4 ชุมชนยุคอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้นสมัยอยุธยามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่อเนื่องชุมชนดั้งเดิมจากยุคศรีวิชัย และนครศรีธรรมราช ดังนี้

จารึกผนังถ้ำเขาสามบาตร อำเภอเมือตรัง

จารึกหน้าผา  วัดเขาพระ  อำเภอรัษฎา

ตรารูปวงกลม  ที่ถ้ำตรา  เทือกเขาน้ำพราย  ตำบลปากแจ่ม   อำเภอห้วยยอด

ตรารูปวงกลม  ที่หน้าผา   วัดเขาพระ   อำเภอรัษฎา

จารึกผนังถ้ำเขาสามบาตร สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ 27ทรงอ่านไว้แล้วได้ความว่า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพระพุทธรูปสำคัญประดิษฐานไว้ และชื่อเขาสามบาตรมนภาษาปากของคนท้องถิ่นนั้นที่ถูกต้องคือ เขาสระบาป เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับพิธีรดน้ำสรงน้ำชำระสะสางบาปมลทิน (น่าจะเป็นพิธีกรรมถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา –ผู้เขียน) ชุมชนดั้งเดิมเขาสามบาตรหรือชุมชนใกล้เคียงที่แวดล้อม จึงน่าจะเป็นชุมชนสำคัญ เพราะผู้มาร่วมพิธี สระบาป ย่อมมิใช่สามัญชน

จารึกหน้าผาวัดเขาพระ ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญใดมาอ่านอธิบาย แต่เท่าที่ดูตัวอักขระเห็นว่าร่วมสมัยกับจารึกเขาสาบาตร ซึ่งสมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยาพระองค์นั้นทรงอ่านและอธิบายไว้ว่าเป็นจารึกสมัยอยุธยา

ส่วนตราทั้งสองแห่งนั้นเล่า แม้มีข้อสันนิษฐานของนักโบราณคดีเฉพาะถ้ำตราว่าเป็นแหล่งชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ แต่รูปตราทั้งสองแห่ง อาจจะตั้งข้อสังเกตได้อีกทางหนึ่งว่าน่าจะเป็นตราแผ่นดินรัชกาลใดรัชกาลหนึ่งสมัยอยุธยา ทั้งนี้เพราะปัญญาชนนาน ก.ศ.ร. กุหลาบได้ศึกษาเปรียบเทียบตราแผ่นดินประจำรัชกาลต่างๆ สมัยอยุธยา 28ไว้ อย่างน่าสนใจศึกษาต่อไป

ในที่นี้ประเด็นอยู่ที่ว่า อาณาบริเวณดังกล่าว เป็นชุมชนสำคัญมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ด้วยว่ามีตราแผ่นดินสมัยนั้นประกาศสัญลักษณ์พระราชอาณาเขตไว้

มีหลักฐานการสำรวจชุมชนอย่างจริงจังเป็นทางการ สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2355 ถือได้ว่าเป็นการสำรวจสำมะโนครัวครั้งแรกของเมืองตรัง พบว่า ที่ตั้งหมู่บ้านชุมชนต่างๆ แบ่งออกเป็นสองฝ่าย ถือลำแม่น้ำตรังเป็นหลัก คือฝ่ายตะวันออกและฝ่ายตะวันตก มีรายชื่อหมู่บ้าน ดังนี้

ฝ่ายตะวันออก

1.สุไหงจุปะ   2.ปาตูลันตัง   3. วังกะเปา4. บางหมาก    5.นาป้อ    6.โคกพลับพลา 7. โคกม่วง   8.นาหมื่นราช    9.บ้านควน    10.นาแค    11.นาจิก    12.ห้วยไม้ไผ่   13.นาเบญหลา   14.โคกทราย    15. โคกยูง   16.นาแฟบ    17.ควนขัน   18. ควนขนุน    19. นากระทุ่ม    20. นาทองหลาง   21. นาพรุ   22. นาน้อย   23. บ้านนา   24. นาพระ    25. หัวเขา  26. นาขี้เป็ด   27. บ้านกลาง   28.นาปด   29.นาข้าวเสีย  30.ปะเจาะ  31. นาท่าม32. โคกกรวด   33. ลำภูรา   34. นาทุ่ม   35. นาลิเป36. ถ้ำพระ   37. นากะ

ฝ่ายตะวันตก

1.สุไหงบาตู  2. บางสัก  3. คลองน้ำเค็ม  4. สุไหงสิเหร่5. บางเต่า  6. ไสไทย  7. คลองลุ  8. ท่าส้ม  9. ย่านซื่อ  10. ทุ่งค้อ  11. บางสิเกา  12. นาเมืองเพชร  13. คลองอาลัย  14. เขาวิเศษ  15. เขาจัน  16. เขาปินะ  17. บางกุ้ง  18. บ้านใหม่  19. ชะมวงทุ่ม  20. ท่าประดู่  21. บ้านควน  22. หนองหงส์  23. เขาทด  24.ควนกะตา  25. หนองไม้แก่น  26. หนองแค

รวมทั้งหมด 52 ตำบล 720 ครัวเรือน 29

ครูชาญ ไชยจันทร์ ครูพาสน์ พลชัย ครูโรงเรียนวิเชียรมาตุ ได้ร่วมกันนิพนธ์เป็นกลอนหนังสือสวด เมื่อปี พ.ศ. 2503 อ้างการจัดการเมืองตรังโดยสำรวจสำมะโนครัว เมื่อปี พ.ศ. 2355 ว่า

“บ้านสุไหงจุปะสิบห้าเรือน                                    ไม่คลาดเคลื่อนบัญชีที่เฉลย

บ้านนาแคสิบหกไม่ตกเลย                                    พุทโธเอยนาขี้เป็ดมีเจ็ดครัว

หนองไม้แก่นหนองแคมีแค่เจ็ด                              นาเมืองเพชรสิบกว่าอย่าคิดถัว

บ้านถ้ำพระนากะสิบห้าครัว                                  เบญจหลานับทั่วสิบพอดี

เขาวิเศษ เขาจัน เขาปินะ                                      มีเพียงเก้าเคหาน่าบัดสี

วังกะเปาสี่สิบครบพอดี                                        บางเต่ายี่สิบสี่มีพอควร

บ้านควนยี่สิบห้า นาพระเก้า                                 บางสีเกานับห้าสิบถ้วน

นาหมื่นราชบ้านมะพร้าวเข้าประมวล                     ยี่สิบแปดพอควรไม่มากมาย

บ้านหนองหงส์บ้านควนบ้านเขาทด                       ควนกะตานับหมดทั้งสี่สาย

มีควรเรือนเพียงสี่สิบราย                                      ควนขันได้ยี่สิบสามงามพอดี

บ้านโคกทราย โคกยูง รวมได้แปด                          บ้นนาแฟบมีสามนาปดสี่

นาลิเปมีสิบครบพอดี                                           ต่อไปนี้จักขยายรายตำบล

จำนวนบ้านมีอยู่ตามบัญชี                                    เจ้าหน้าที่คันได้ไม่ขัดสน

เมืองตรังมีมากมายหลายตำบล                             แต่บ้านคนห่างห่างทางกันดาร

บ้านบาตูลันตังทั้งไสไทย                                      คลองอาไลยนาปอขอกล่าวขาน

โคกพลับพลาบ้านนามีมานาน                              ควนทองสีมีด่าเรือผ่านไป

นาข้าวเสีย หัวเจา คลองทลุ                                  นาประดู่พนังน้อยห้วยไม้ไผ่

บ้านชะมองคลองน้ำเค็มคนเต็มไป             ทั้งสุไหงบาตูลำภูรา

สุไหงสิเหร่ทุ่งค้อต่อย่านซื่อ                                   ถัดไปคือท่าส้มล้วนเคหา

โคกมะม่วงบางหมากบางกุ้งมา                             ถึงบ้านใหม่เคหาพาเบาบาง

ควนขนุนนากะทุ่มและนาพรุ                                 มีคนอยู่มากกว่านาทองหลาง

บ้านนาท่ามโคกกรวดเรือนเบาบาง             ส่วนนาจิกห่างห่างเพียงห้าครัว

สิริบ้านแขกไทยในเมืองตรัง                                  มิให้พลั้งไปได้สักรายหัว

บ้านนับเสร็จเจ็ดร้อยยี่สิบครัว                                ตำบลทั่งห้าสิบสองต้องลงราย” 30

เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่จะเห็นว่าชุมชนเหล่านี้อยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองตรัง อำเภอกันตัง อำเภอสิเภา ทั้งหมด กับพื้นที่บางส่วนของอำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว เท่านั้น ส่วนอำเภอห้วยยอดฝั่งตะวันออกห่างแม่น้ำตรังไปแถบชายเขาบรรทัด ได้รวมยู่ในท้องที่เมืองนครศรีธรรมราช 31พื้นที่อำเภอปะเหลียนและบางพื้นที่ในอำเภอย่านตาขาว เป็นเมืองปะเหลียน

กรมการเมืองมีตำแหน่งหลวง ขุน หมื่น ตำแหน่งสูงสุดเป็นผู้พยาบาลเมือง คือ หลวงอุภัยราชธานี นอกนั้นสังกัดมหาดไทย กรมปืน นครบาล กรมนา สรรพากร กรมช่างเกณฑ์กำปั่น กองตระเวน ขุนหมื่นใช้ ถือศักดินาสูงสุด 1,600 ต่ำสุด 200 สิริรวม 32 ตำแหน่ง 32

ครูชาญ  ไชยจันทร์ เสนอรายละเอียดการปฏิบัติหน้าที่ของกรมการเมืองฝ่ายด่านภาษี  ซึ่งแสดงความเป็นชุมชนที่มีทรัพยากรเป็นรายได้ต้องเสียภาษีให้ทางราชการ มีรายชื่อกรมการเมืองฝ่ายเก็บภาษี ตามชุมชนด่านภาษีต่างๆ ทั้งทางฝ่ายทะเล และฝ่ายบก ดังนี้

ฝ่ายทะเล

“ท่านหมื่นฤทธิสาคร, จรวาริน                   ปกครองถิ่นเบญจหิงเกาะสิงหา

ท่านหมื่นท่องสาคเรศ, เดชคงคา               ปกครองท่าควนทองศรีมีฤทธิแรง

ท่านหมื่นปราบคงคา, กล้าสาคร                ปกครองตอนพระม่วงอย่างเข้มแข็ง

ท่านหมื่นกล้าสาคเรสผู้เรี่ยวแรง                ประเทศธานีเข้มแข็งท่าลำเลียง

ท่านหมื่นผลาญชลธาร, ด่านนธี                ครองท้องที่ท่ากระดานด่านชื่อเสียง

ฝ่ายบก

ท่านหมื่นปราบธานีมีคู่เคียง                      จบไพรสาณฑ์ฤทธิเพี้ยงทุ่งใหม่ขจาย

หมื่นประเทศไพรสาณฑ์, หาญอรัญ           ครองเขตขัณฑ์ตะเปียไม่เสียหาย

หมื่นชนะสิงขรห่อนกลัวตาย                     จรภูผาช่องไม้ไผ่พนา

ท่านหมื่นเดชคีรี, ธานีประเทศ                   ครอบครองเขตตะเหมกวิเวกผา

พินาศสิงขร, จรอรัญครองมรรคา               เนินพนาท้ายเภาอย่างเอาการ”

ตำแหน่งกรมการเมืองตรัง  ถูกจัดวางเป็นระเบียบตามความเหมาะสม  โดยพระอุภัยราชธานี ดังนี้

กรมการฝ่ายไทยพุทธ

มีเจ้าเมือง 1 เจ้ากรมเป็นหลวง 1 ขุน14 หมื่น 1 จางวางเป็นหลวง 1 รองขุน 1 รองหมื่น 12 ปลัดหมื่น 1 เสมียน 5 คนใช้ 56 พัน 12 หมอเฒ่า 2 หมื่นด่าน 10 ปลัดด่าน 10 อำเภอ 60 ทนายในเจ้าเมือง 6 ทนายในกรมการ 132

กรมการฝ่ายไทยอิสลาม

มีหัวเมือง 1 นายที่ 1 ช่วยราชการ 1 กรมการเจ้ากรม 8 รอง 22 ด่านฝ่ายทะเล 2 อำเภอ 23

ด่านบกฝ่ายไทยพุทธ

ด่านตำบลเกาะเสือเบญจหิง ด่านตำบลควนทองศรี ด่านตำบลพระม่วง ด่านตำบลท่าลำเลียง ด่านตำบลท่าคลองกระดาน ด่านตำบลทุ่งใหม่ ด่านตำบลตะเปีย ด่านตำบลช่องไม้ไผ่ ด่านตำบลตะเหมก ด่านตำบลท้ายสำเภา

ด่านทะเลฝ่ายไทยอิสลาม

ด่านเกาะปลีบง  ด่านชายฝั่ง  ด่านตอนใน

การปกครองท้องที่ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็นฝ่ายตะวันออกกับฝ่ายตะวันตก โดยเอาลำน้ำตรังเป็นหลัก ดังต่อไปนี้

ตำบลบ้านไทยพุทธ ไทยอิสลาม ฝ่ายตะวันออก

บ้านสุไหงจุปะ                            มี 15 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านปาตูลันตัง                           มี 34 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านวังกะเปา                             มี 40 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านบางหมาก                            มี 16 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาป้อ                                  มี 11 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านโคกพลับพลา                       มี 16 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านโคกม่วง                               มี 11 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาหมื่นราช                          มี 28 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านควน                                    มี 25 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาแค                                  มี 16 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาจิก                                  มี 5 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านห้วยไม้ไผ่                             มี 9 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาเบญจหลา                       มี 10 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านโคกทราย โคกยูง                   มี 8 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาแฟบ                               มี 3 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านควนขัน                               มี 23 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านควนขนุน                             มี 10 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนากะทุ่ม                             มี 7 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาทองหลาง                        มี 31 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาพรุ                                  มี 10 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านพนังน้อย                             มี 11 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนา                                      มี 8 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาพระ                                มี 9 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านหัวเขา                                 มี 8 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาขี้เป็ด                              มี 7 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านกลาง                                  มี 5 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาปด                                 มี 4 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาข้าวเสีย                           มี 3 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านปะเจาะ                               มี 12 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาท่าม บ้านโคกกรวด           มี 11 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านไร่ลำภูรา                              มี  7 เรือน                      ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนากะทุ่ม                             มี 4 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาลิเป                                มี 10 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านถ้ำพระ บ้านนาตกะ               มี 15 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

รวม 34 ตำบล

บ้านไทยพุทธ ไทยอิสลามฝั่งตะวันตก

บ้านสุไหงปาตู                            มี 21 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านบางสัก                                มี 15 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านคลองน้ำเค็ม                        มี 9 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านสุไหงสิเหร่                           มี 16 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านบางเต่า                               มี 24 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านไสไทย                                 มี 9 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านคลองลุ                               มี 9 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านท่าส้ม                                 มี 4 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านย่านซื่อ                                มี 17 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านทุ่งค้อ                                  มี 17 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านบางสีเกา                             มี 50 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านนาเมืองเพชร                        มี 13 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านคลองอาไลย                        มี 7 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านเขาวิเศษ เขาจัน เขาปินะ       มี 9 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านบางกุ้ง บ้านใหม่                   มี 15 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านชะมวง บ้านท่าประดู่

บ้านควน บ้านหนองพงษ์             มี 11 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านเขาขาด บ้านควนกะตา          มี 14 เรือน                     ตั้งนายอำเภอ 2 คน

บ้านหนองไม้แก่น บ้านหนองแค    มี 7 เรือน                       ตั้งนายอำเภอ 2 คน

รวม 18 ตำบล 33

ต่อมาเมื่อพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง ได้จัดราษฎรบุกเบิกที่นา ทำสวนยางพารา สวนผลไม้จันทน์เทศ ซึ่งเป็นการบุกเบิกที่ตั้งชุมชนไปด้วย

โดยเฉพาะที่นา ครูชาญ  ไชยจันทร์ ได้เรียบเรียงเป็นกลอนสวดไว้น่าสนใจ รวมชื่อนาที่มีตั้งเดิมและที่บุกเบิกใหม่ ดังนี้ (จนมีผู้สรุปเป็นคำพังเพยว่า เมืองลุงมีดอน เมืองคอนมีท่า เมืองตรังมีนา สงขลามีบ่อ)

“ถึงฤดูทำนาพระยารักษฏ์             ลงมือจัดตรวจแดนตามแผนผัง

ให้ชาวนาทำนาเต็มกำลัง                          อย่าให้พลั้งทุกปีพอมีกิน

นาโยงเหนือนาโยงใต้ทำให้หมด                ทั้งนาปดรีบระดมสมถวิล

นาโต๊ะเป้านาป้อทำพอกิน             ทำให้สิ้นนาหว้านาทุ่งตาล

นาข้าวเสียนาบัวนาฟ้าผ่า             นาหนองคล้าอย่าพลั้งทั้งนาทาน

นาหลวงหลังนาเขาต้องเอาการ                 ไม่กันดารน้ำท่าทั้งนาเกลือ

นาโต๊ะแซะนาแคและนาคะ                      ทั้งนาพระนางงามนาท่ามเหนือ

นาท่ามใต้นายามาจุนเจือทั้ง                     นาเหนือนาปะยานาหัวทิง

นาโต๊ะโตงนาหลวงนาม่วงเสร็จ                 นาเมืองเพชรแล้วมานาโต๊ะหมิง

นานางสวยนาทุ่งมุ่งทำจริง                       ไม่รอนิ่งรีบมานาคมบาง

เสร็จนาวงลงมานาชุมเห็ด                        นาขี้เป็ดทุ่งขมิ้นนาหินขวาง

นาทุ่งนุ้ยคุยได้ดีหลายทาง                        นาทองหลางทำหลังนาลังกา

นายายหม่องดีกว่าข้าวนาแขก                   นาหนองแฝกเสมอถิ่นนาบินหลา

นาชุมแสงไหนจะแข่งข้าวบ้านนา               นาโต๊ะหล้านานอนค่อนข้างดี

นายอมงามนาท่อมไม่ยอมรั้ง                     นาแฟบยังน้อยหน้านาหมื่นศรี

นาโต๊ะมูลพูนสุขทุกตาปี                           ข้าวกล้าดีเคียงบ่ากับนาเล

นาตาล่วงนาพรุรู้กันสิ้น                            นาคลุ้มดินดีกว่านาเหมร

นาหมื่นราชนาข่านาลิเป                           นาโต๊ะกาทำเลดีเหมือนกัน

ตรังมีนาไม่น้อยกว่าร้อยชื่อ                        ตามเสียงลือเล่าดังฟังน่าขัน

ลุงมีดอนคอนมีท่าดีครัน                          ตรังมีนาสงขลานั้นบ่อมากมาย

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>