ประวัติ-เมืองตรังหลัง พ.ศ. 2475

2.12 เมืองตรังหลัง พ.ศ. 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 และการพระราชทานรัฐธรรมนูญทำให้มีการเลือกตั้งครั้งแรกในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2576 การเลือกผู้แทนราษฎรในสมัยนั้นใช้วิธีเลือกโดยอ้อม คือราษฎรของแต่ละตำบลจะเลือกตัวแทนของตนเข้าไปเลือกผู้ที่สมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดอีกชั้นหนึ่ง การเลือกตั้งคราวนั้นจังหวัดตรังได้ผู้แทนราษฎรคนแรกคือ นายจัง จริงจิตร

จากการเปลี่ยนแปลงปกครองทำให้มีการกระจายอำนาจมาสู่ท้องถิ่นมีประกาศให้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 ที่อำเภอทับเที่ยง ตามประกาศลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 ต่อมาก็ยกฐานะเป็นเทศบาลตามราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองตรัง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 มีหลวงวิชิตภักดีเป็นนายกเทศมนตรีคนแรก ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นเทศบาลได้ ส่วนสุขาภิบาลมีอำเภอละ 1 แห่ง ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลฉบับใหม่ พ.ศ. 2475 หลังจากนั้นเป็นเวลายาวนานจึงเกิดเทศบาลตำบลห้วยยอดในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2530 และเทศบาลใหม่ที่ได้ยกฐานะจากสุขาภิบาล 11 แห่ง ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542

รูปแบบองค์กรการปกครองท้องถิ่นอีกลักษณะหนึ่งคือสภาจังหวัด ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 สภาจังหวัดมีหน้าที่ให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำกรมการจังหวัด คณะกรรมการสภาจังหวัดตรังชุดแรกเปิดประชุมครั้งที่  1 ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 ที่ศาลาเทศบาลเมืองตรัง ส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง และมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ที่โอนอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดมาเป็นอำนาจท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลชุดแรกของจังหวัดตรังเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2539 จำนวน 12 ตำบล และเพิ่มเป็น 81 ตำบลใน พ.ศ. 2540

 

 

เหตุการณ์สำหรับสมัยในสงครามโลกครั้งที่ 2

ในสงครามโลกครั้งที่  2 จังหวัดตรังนับได้ว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์หนึ่งในเป้าหมายของกองทัพญี่ปุ่น วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2584 เป็นวันยกพลขึ้นบกของกองทัพญี่ปุ่น ที่จังหวัดตรังนั้นได้เข้ามาตั้งในที่ต่างๆ หลายแห่ง ในอำเภอกันตังมีการตั้งค่ายบริเวณควนตำหนักจันทน์จวนพระยารัษฎาฯ และจวนพระสถลฯ มีร่องรอยการขุดสนามเพลาะตามบริเวณดังกล่าว ส่วนที่อำเภอเมืองตรังนั้นอยู่ที่บริเวณตำหนักผ่อนกาย ในพื้นที่อื่นๆ ได้แก่ ที่เขาห้วยแห้ง อำเภอห้วยยอด บ้านท่าข้า อำเภอปะเหลียน บ้านนาโยง เป็นต้น ทางการได้มีนโยบายให้ หมู่บ้าน โรงเรียน และสถานที่ราชการขุดหลุมหลบภัย แต่ไม่ปรากฏว่ามีการทิ้งระเบิดในพื้นที่ใด ส่วนในทะเลและแกแม่น้ำตรังมีเรือญี่ปุ่นเข้ามาปฏิบัติการ และได้วางทุ่นระเบิดเอาไว้ป้องกันข้าศึก เรือเหล่านี้ถูกยิงจม 2 ลำ ยังมีซากอยู่ในท้องทะเลระหว่างเกาะลิบงกับเกาะกระดาน นอกจากนี้ยังมีประชาชนที่เข้าร่วมขบวนการเสรีไทยอยู่บ้าง เช่น นายเลียบ นิลระตะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง 86นายมงคล ณ นคร อดีตสมาชิกสภาเทศบาลตำบลกันตัง เป็นต้น 87

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วประเทศ แต่เมืองตรังได้รับผลกระทบน้อย เพราะยางพาราที่พระยารัษฎาฯ วางพื้นฐานไว้เป็นอย่างดี มีราคาสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดโลกจนถึงกิโลกรัมละ 40 บาท ทำให้จังหวัดตรังมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด

 

สถานการณ์พรรคคอมมิวนิสต์แหงประเทศไทยในจังหวัดตรัง

การจัดตั้งและดำเนินการของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2490 ซึ่งเมื่อกลุ่มนักการเมืองดำเนินการจัดตั้งกลุ่มและสมาคม แต่เมื่อถึงปี พ.ศ. 2501 – 2502 ก็มีการจับกุมและกวาดล้างนักการเมืองจนต้องสลายตัว

พ.ศ. 2507 มีการดำเนินงานขึ้นอีกในกลุ่มสมาชิกเก่า และมีสมาชิกบางคนที่ผ่านการศึกษาอบรมจากประเทศเวียดนามเหนือเข้ามาจัดตั้งและขยายมวลชน โดยใน พ.ศ. 2508 88ได้จัดตั้งค่ายพักขึ้นเป็นครั้งแรกในพื้นที่ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง พร้อมกันนั้นทางการเริ่มดำเนินการกวาดล้างอย่างจริงจัง ทำให้ชาวบ้านที่เป็นญาติพี่น้องหรือผู้ที่เคยสนับสนุนกลุ่มเหล่านี้เกิดความหวาดกลัวหนีเข้าป่าเป็นการขยายมวลชนให้ พคท. มากขึ้น

การดำเนินงานของ พคท. ในจังหวัดตรังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นใน พ.ศ. 2512 มีการประสานงานระหว่าง พคท. จังหวัดตรัง อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน และอำเภอสิเกา ทางราชการจึงจัดให้มีหน่วยงานเฉพาะกิจ 5 มาตั้งอยู่ที่อำเภอย่านตาขาว 89

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ถือเป็นยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน มรขบวนการนักศึกษาประชาชนกลุ่มหนึ่งในจังหวัดตรังร่วมกันทำกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย จนถูกจับตามองจากทางการว่าเป็นแนวร่วมของ พคท. เมื่อเหตุการณ์ 6 ตาลาคม 2519 ที่มีการกวาดล้างขบวนการนักศึกษาจนเกิดการนองเลือดขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ขบวนการผู้รักประชาธิปไตยในจังหวัดตรังก็ถูกผลกระทบจนต้องสลายกลุ่มและหนีเข้าป่าเป็นจำนวนมากแม้แต่นายชวน  หลีกภัย ซึ่งเป็นรัฐมนตรีในสมัยนั้นก็ยังถูกกล่าวหาว่าเป็นฝ่าย พคท. จนตั้งเก็บตัวชั่วคราว

หลัง พ.ศ. 2519 การประทะระหว่างทางการและ พคท. เป็นไปอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น มีประกาศจัดตั้งหมู่บ้าน อพป.ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 และมีคำสั่งกองทัพบกจัดตั้งหน่วยกองพันที่ 4 กรมทหาราบที่ 15 ขึ้นที่บ้านลำภูรา อำเภอห้วยยอด 90 เพื่อปฏิบัติการทางทหารควบคู่กับการรุกทางการเมือง

พ.ศ. 2523 มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เน้นการปฏิบัติงานทางการเมืองมากขึ้น ประกอบกับความขัดแย้งทางความคิด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ปฏิบัติการของ พคท. ในประเทศไทย ทำให้สมาชิกบางส่วนเริ่มทยอยคืนเมืองอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติการทางทหารของ พคท. ในจังหวัดตรังเริ่มลดลงตั้งแต่นั้นมา

 

 

กรณีเผาที่ว่าราชการอำเภอกันตัง

วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดตรัง หลังการนับคะแนนและประกาศผลการเลือกตั้งต่อมาอีก 1  วัน มีประชาชนบางตำบลใน อำเภอกันตังเกิดความสงสัยในการนับคะแนน กรณี ผู้สมัครหมายเลข 7 อิสระ คือนานโอฬาร   ชนะสงคราม ที่ประชาชนกลุ่มนี้สนับสนุน ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 5 ซึ่งห่างจากผู้ได้อันดับที่ 4 เพียง 101 คะแนน ทำให้สงสัยว่าการนับคะแนนอาจผิดพลาดหรือมีการทุจริต จึงมาชุมนุมประท้วงที่บริเวณท่าน้ำอำเภอกันตังและเคลื่อนขบวนยังหน้าที่ว่าการอำเภอในตอนเย็นวันที่ 25เพื่อเรียกร้องให้นายอำเภอออกมาแสดงความรับผิดชอบชี้แจงเรื่องนี้ แต่ไม่มีการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายอำเภอ ในวันที่ 26 ขบวนผู้ชุมนุมเคลื่อนไปปิดถนนสายตรัง – กันตัง บริเวณตำบลบางเป้า ทำให้ผู้ใช้เส้นทางต้องอ้อมไปทางอื่น ผู้ชุมนุมเปลี่ยนข้อเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาเจรจา ทางจังหวัดได้ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรังเป็นผู้มาเจรจาแต่ผู้ชุมนุม ไม่ยอมขอพบผู้ว่าราชการจังหวัดคนเดียว การชุมนุมจึงยืดเยื้อต่อไปถึงวันที่ 27 ซึ่งเป็นวันพระราชทางเพลิงศพพระครูสังวร ธรรมโชติ พระเถระผู้ใหญ่ ณ เมรุวัดตรังคภูมิพุทธาราส ผู้ชุมนุมจึงเคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้าที่ว่าการอำเภอเพื่อเปิดทางให้แก่ผู้มาร่วมงาน

ในช่วงเวลาเที่ยง เกิดการเผชิญหน้าระหว่างฝูงชนผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ลุกลามไปจนถึงการเผาสำนักงานที่ว่าราชการอำเภอ ส่วนสำนักงานที่ดินและสำนักงานการประถมศึกษาซึ่งอยู่ใกล้กันนั้น เจ้าหน้าที่ได้มาขอร้องผู้ชุมนุมไว้ว่าเป็นสถานบริการประชาชนจึงไม่ถูกเผา ในเหตุการณ์นี้ ผู้ชุมนุม 3 คน ที่บาดเจ็บจึงถูกนำส่งโรงพยาบาลและถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว

หลังเกิดเหตุการณ์รุนแรงแล้ว ในช่วงเวลาเย็นจึงมีเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามาเพื่อจะเจรจา พร้อมกันนั้นสื่อมวลชนแถลงข่าวว่าผู้ชุมนุมสลายตัวแล้วและผู้นำการชุมนุมถูกจับ การเจรจาจึงไม่ได้ผล ในคืนวันที่ 27 ผู้ชุมนุมเพิ่มจำนวนมากขึ้นและเคลื่อนขบวนไปยังหน้าสถานีตำรวจภูธร ความตึงเครียดมีมากจนมีข่าวลือว่าอาจเกิดเหตุการณ์รุนแรงถึงขึ้นกันตังกลายเป็นทะเลเพลิง

วันที่ 28 พลตรีศรชัย  มนตรีวัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ เดินทงมาเจรจากับแกนนำผู้ชุมนุมและตกลงกันได้ด้วยดี ผู้ชุมนุมจึงสลายตัว

ต่อมาผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งถูกจับในข้อหาทำลายสถานที่ราชการ และมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไปแล้วเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นมีการอุทธรณ์และฎีกาคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล

 

 

พะยูนเกมส์

จังหวัดตรังได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 19 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ใช้ชื่อว่า พะยูนเกมส์

ก่อนพะยูนเกมส์ จังหวัดตรังเคยเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาระดับชาติมาแล้วใน พ.ศ. 2534 คือกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 28 – 24 มกราคม ใช้ชื่อว่า ศรีตรังเกมส์

 

 

เอเชียนเกมส์

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเกมส์ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 1 – 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ในครั้งนี้ได้จัดแบ่งกีฬาบางประเภทไปแข่งในสนามต่างจังหวัด จังหวัดตรังได้รับมอบหมายให้จัดการแข่งขันรอบแรกของกีฬา 2 ชนิดเฉพาะบางสาย  คือ ฟุตบอล สาย C และเซปักตะกร้อสาย B ระหว่างวันที่ 1 – 9 ธันวาคม

 

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>