การตั้งถิ่นฐานชุมชนยุคประวัติศาสตร์ – ยุคศรีวิชัย

1.2.2 ชุมชนยุคศรีวิชัยอาณาจักรศรีวิชัย มีอายุระหว่าง พ.ศ. 1161 – 1450 โดยประมาณ ตรงกับสมัยราชวงศ์ถัง และเลยมาถึงสมัยห้าราชวงศ์ของจีน (พ.ศ. 1161 – 1503) อาณาจักรศรีวิชัยครอบคลุมแหลมมลายูตลอดถึงหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ – โบราณคดีบ่งบอกว่าศาสนาพุทธนิกายมหายาน เป็นศาสนาประจำอาณาจักรนี้

จังหวัดตรังเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของศรีวิชัย มีความสำคัญด้านการคมนาคมข้ามคาบสมุทรลายูเส้นทางหนึ่งมาแต่โบราณ แม้ไม่พบหลักฐานชิ้นสำคัญฯ อย่างรูปประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตสวร ดังพบที่ไชยา แต่ความเป็นชุมชนสมัยศรีวิชัยมีรูปพระพิมพ์ดินดิบ หรือที่ชาวบ้านอำเภอห้วยยอด เรียกกว่า พระผีทำ เป็นเครื่องบ่งบอกชัดเจน

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงบันทึกการสำรวจถ้ำวัดศรีวิชัย อำเภอห้วยยอด ว่า

ห้องที่ 5 มีรูปภาพพิมพ์บนดินดิบ วางซ้อนทับไว้กับพื้นมาก ที่เลือกพบมีสามอย่างด้วยกัน เป็นรูปลูกไข่อย่างหนึ่ง มีรูปพระสี่กรอยู่กลาง มีเทวดาล้อม 8 ตน เป็นรูปกลับบัวอย่างหนึ่ง มีรูปพระสี่กรองค์เดียวใหญ่ รูปแผ่นอิฐอย่างหนึ่ง มีรูปพระสองกรอยู่กลาง (ที่พุทธรูป) มีสาวกฤาเทวดา สองข้าง ย่างรูปไข่มีมาก อย่างกลีบบัวมีน้อย อย่างแผ่นอิฐได้อันเดียว..13

และถ้ำเขาสายใกล้วัดหูแกงว่า

รวมเทวรูปที่ได้ 6 ชนิด คือ 1. รูปพระโพธิสัตว์สี่กรนั่งขัดสมาธิ 2. รูปอย่างเดียวกันแต่ขนาดย่อม 3. รูปพระโพธิสัตว์สองกรนั่งห้อย 4. รูปพระโพธิสัตว์สิงกรยืน 5. รูปพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิ 6. รูปอย่างเดียวกันแต่องค์เล็ก ยังมีอีกที่ไม่รู้ว่าอะไร เป็นที่เม็ดยอดอะไรก็มี มีลายแลชิ้นอะไรแตกๆ มีตราหนังสือ…14

รูปภาพพิมพ์บนดินดิบ ดังกล่าวที่ถ้ำวัดศรีวิหารและถ้ำเขาสาย คือ พระพุทธรูปปางเทศนาประทับนั่งตรงกลาง ล้อมรอบด้วยพระพุทธรูปปางต่างๆ อีก 8 องค์ …… และ …… รูปพระโพธิสัตว์นั่ง

ยังมีพระพิมพ์ดินดิบ รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรได้มาจากถ้ำเขาขาว อำเภอห้วยยอด

ส่วน ตรงหนังสือ คือ แบบพิมพ์พระคาถา เย ธมฺมา ที่ใช้พิมพ์คู่กับพระพุทธรูปและพระโพธสัตว์ศรีวิชัย ซึ่งเป็นกลุ่มศิลปะศรีวิชัยประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นภาษาสันสกฤตอักษรเทวนาศรี 15

ตราหนังสือ มีแบบพิมพ์ต่างๆ แต่ตัวหนังสือนั้นคือ

เย   ธรฺมา   เห

ตุปฺรภวา   เห

ตุ   เตษาตถาคโต

หฺยวทตเตษำ

จ   โย   นิโรธ   วาที

มหา   ศฺรมณ

ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้ให้คำแปลว่า ธรรมทั้งหลายใด มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน พระตถาคตเจ้าได้ตรัสแล้วเทียว ซึ่งเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับใดแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะเจ้าตรัสอย่างนี้โดยปกติ 16

พุทธศาสนิกชนถือกันว่าพระคาถา เย  ธมฺมาฯ  เป็นธรรมวิเศษเป็นฤทธิ์มนตร์สำหรับจะเปลี่ยนแปลงความนับถือของบุคคลผู้ยังไม่เคยสดับ เป็นธรรมอันประเสริฐสำหรับการประกาศพระพุทธวจนะ 17

สองฝั่งแม่น้ำตรัง บริเวณอำเภอห้วยยอดปัจจุบันนี้ เป็นแหล่งชุมชนสมัยศรีวิชัยว่า ต้องเป็นพวกแขกพราหมณ์มาทำไว้ในที่นี้คงได้เมืองเจ้า….

หรือ ว่าเป็นที่ซ่อนเสียดอกกระมัง เดิมเมืองนี้จะถือพุทธฤๅพราหมณ์อะไรก็ตามที แล้วจะมีแขกศาสนามหหมัดมาปกครองทำลายศาสนาเก่าล้างปูชนียสถานต่างๆ พวกศาสนาเก่าจึงนำรูปพระมาซ่อนไว้ตามถ้ำเหล่านี้…  18

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบาย เรื่องพระพิมพ์ดินดิบว่า

พวกชาวศรีวิชัยนับถือพุทธศาสนาอย่างมหาชน จึงนำลัทธินั่นมาสั่งสอนในเหล่าจังหวัดที่ได้ไว้เป็นอาณาเขต ยังมีพุทธเจดีย์อย่างลัทธิมหายานที่พวกชาวศรีวิชัยมาสร้างไว้ปรากฏอยู่ เช่น พระมหาธาตุเมืองไชยา และพระมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราชองค์เดิม กับทั้งพระพุทธรูปและรูปพระโพธิสัตว์หล่อ และพระพิมพ์ดินดิบซึ่งทำซ่อนไว้ในถ้ำแห่งละตั้งหมื่นตั้งแสนยังขุดหาได้มาจนทุกวันนี้ตั้งแต่ถ้ำในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง และจังหวัดพัทลุง ลงไปถึงจังหวัดไทรบุรี จังหวัดปัตตานี 19

เมืองตรังเป็นเส้นทางคมนาคมข้ามแหลมมลายูจากทะเลอันดามันไปสู้อ่าวไทยของนักเดินทางจากตะวันตกไปตะวันออก จะให้เป็นชุมชนเมืองใหญ่อย่างไชยา หรือนครศรีธรรมราชย่อมไม่ได้ เพราะพื้นที่ราบทำเกษตรกรรมอย่างใหญ่เหมือนสองเมืองใหญ่ทางฝั่งตะวันออกนั้นไม่มี ด้วยข้อจำกัดทางกายภาพ

แต่ความเป็นชุมชน (Community) ชาวทุ่งริมแม่น้ำตรังย่อมกระจัดกระจายรายเรียงตามเส้นทางคมนาคมไปสู่นครศรีธรรมราชทางหุบเขาช่องคอย อำเภอร่อนพิบูลย์ (ดูแผนที่แสดงที่ตั้งชุมชนโบราณ หน้า 47) หลักฐานทางประวัติศาสตร์ – โบราณคดีดังกล่าว คือเครื่องยืนยันความมีอยู่ของ หมู่ตรังทุ่ง สมัยศรีวิชัย สอดรับกับอารยธรรมกลุ่มชนผู้จารศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ดินแดนภาคใต้ของประเทศไทยมีชุมชนเมืองเป็นศูนย์กลางแคว้นอยู่ 4 แห่ง คือ แคว้นไชยา แคว้นนครศรีธรรมราช แคว้นสทิงพระและแคว้นปัตตานี

สองแคว้นแรก มีการติดต่อเกี่ยวข้องกับชุมชนฝั่งทะเลตะวันตก โดยผ่านอำเภอพระแสง แล้วผ่านเข้าไปยังอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง และ เดินทางผ่านช่องเขาหินปูนไปออกฝั่งทะเลด้านตะวันตกในเขาจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ 20ตามลำดับ

ตรังจึงเป็นเมืองท่าสำคัญ ในฐานะที่เป็นประตูสู่ตะวันตกของแว่นแคว้นในคาบสมุทรมลายูนี้ เพราะสามารถคุมเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทรจากทิศตะวันตกด้านที่เป็นมหาสมุทรอินเดีย ผ่านเขตอำเภอทุ่งสงไปออกฝั่งทะเลด้านตะวันออกในอ่าวไทยที่เมืองนครศรีธรรมราช

You may also like...