iamtrang.com

ป่าสายควนหละ และป่าเขาหวาง

ป่าสายควนหละ และป่าเขาหวาง

อยู่ในเขตอำเภอสิเกา เป็นต้นธารของคลองอ่างทอง น้ำตกอ่างทอง คลองผมเด็นจากตำบลไม้ฝาด ไหลผ่านตำบลนาเมืองเพชรรวมกันเป็นคลองสว่าง และลงสู่แม่น้ำตรังในเขตตำบลนาโต๊ะหมิง อำเภอเมือง อีกสายหนึ่งคือคลองหละ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับทำน้ำประปาใช้ในอำเภอสิเกา ไหลลงทะเลระหว่างหาดปากเมงกับหาดฉางหลาง      

files111110233941

ป่าสายคลองร่มเมือง ป่าสายควน และป่าเกาะอ้ายกลิ้ง

ป่าสายคลองร่มเมือง ป่าสายควน และป่าเกาะอ้ายกลิ้ง อยู่ในอำเภอสิเกา ให้กำเนิดคลองสำคัญของอำเภอคือคลองสิเกา ไหลลงสู่ทะเลอันดามัน      

kjopi

ป่าไส-ป่าแก่

พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม อำเภอวังวิเศษ เป็นต้นกำเนิดคลองลำลุง คลองช่องงาย คลองทรายขาว คลองส้านแดง รวมทั้งคลองชี คลองเหล่านี้ไหลรวมกับคลองชีลงสู่แม่น้ำตรังที่ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง และยังมีคลองกะลาเสใหญ่ ไหลผ่านอำเภอสิเกาลงสู่ทะเลอันดามัน ป่าแห่งนี้ยังเป็นต้นกำเนิดน้ำตกร้อยชั้นพันวังอีกด้วย      

ป่าเขาบรรทัด

ป่าเขาบรรทัด

ป่าเทือกเขาบรรทัดสามารถแบ่งได้เป็น แปลงที่ 1 ตอนที่ 1 อยู่ในเขตอุทยานเขาปู่-เขาย่า พื้นที่อำเภอห้วยยอด เป็นต้นน้ำของน้ำตกปากแจ่ม คลองลำภูรา อีกกลุ่มหนึ่งคือ คลองท่างิ้ว จากตำบลในเตา คลองหินแทนจากตำบลปากแจ่ม ไปรวมกับคลองยางยวน ลงสู่แม่น้ำตรังที่ตำบลเขากอบ ป่าเทือกเขาบรรทัดแปลงที่ 1 ตอนที่ 3 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า อำเภอรัษฎา ซึ่งอยู่เหนืออำเภอห้วยยอดขึ้นไป เป็นต้นกำเนิดคลองสำคัญคือคลองมวน คลองกะปาง และคลองท่าประดู่ ป่าเทือกเขาบรรทัดแปลงที่ 2 ตอนที่ 1 อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัดท้องที่อำเภอปะเหลียน เป็นต้น

thumrin_thana_hotel_20091022_1383015328

โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา

  โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา  เป็นโรงแรมที่อยู่คู่เมืองตรังมานาน เป็นอันดับสองรองจากโรงแรมธรรมรินทร์สาขาแรกที่เปิดตัวขึ้นหน้าสถานีรถไฟตรังในฐานะผู้บุกเบิกธุรกิจโรงแรมหรูชั้นนำของตรัง จนมาสู่ก้าวที่สองของการขยายธุรกิจเป็นโรงแรมขนาดใหญ่บนถนนห้วยยอด ตอบสนองความต้องการทั้งในด้านธุรกิจ การประชุมสัมนา การจัดเลี้ยง และการพักผ่อนใจกลางเมืองตรัง สมบูรณ์แบบด้วยห้องพักและสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ได้มาตรฐานสากล ด้วยทำเลที่แสนสะดวก สบายใจกลางเมือง จึงง่ายแก่การติดต่อสัญจร และเที่ยวชมสีสันบรรยากาศของเมืองตรัง http://www.thumrin.com/  

ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี : คำขวัญอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง

ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี : คำขวัญอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง

ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี แม้จะเหมือนกับคำขวัญจังหวัดอื่นตรงที่เป็นข้อธรรมะ เป็นนามธรรม แต่เป็นข้อธรรมะที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในหมวดธรรมโดยตรง เป็นการมุ่งเน้นคุณค่าทางด้านประชาธิปไตยมากกว่าคุณค่าทางด้านศีลธรรมดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะวรรคแรก ชาวตรังใจกว้าง ซึ่งถือเป็นความหมายหลัก ส่วนวรรคหลังสร้างแต่ความดี เป็นความหมายรองที่ตามมา

งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ

งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ

งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ : งานประจำปีที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ เป็นงานประจำปีจังหวัดเดียวในประเทศไทย ที่ได้นำเอาสถาบันพระมหากษัตรย์และสถาบันการปกครองแบบประชาธิปไตยมาผสมผสานเข้าไว้ในงานรื่นเริงประจำปีที่ทางรัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้จังหวัดต่างๆ จัดงานประจำปีได้ปีละครั้ง จังหวัดต่างๆ มีอิสระในการจัดงาน

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม-ขนมเค้กเมืองตรัง

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม-ขนมเค้กเมืองตรัง

ขนมเค้กเมืองตรัง : ของฝากที่เป็นเอกลักษณ์จากเมืองตรัง ขนมเค้กเมืองตรังของฝากที่ใครก็ตามได้รับ แค่เห็นกล่องก็บอกได้ว่า นี่เป็นเค้กเมืองตรัง โดยยังไม่ได้ลองลิ้มชิมรสแม้แต่น้อย การที่คนต่างบ้านต่างเมือง แค่เห็นกล่องขนมเค้กของเมืองตรัง ก็บอกได้ว่านั่นเป็นขนมของเมืองตรัง ก็เพราะขนมชนิดนี้บรรจุกล่องแบบนี้ไม่มีที่จังหวัดอื่น แต่ไม่ได้หมายความว่า ส่วนผสมหลัก เนื้อในแบบนี้ รสชาติแบบนี้ ไม่มีที่บ้านอื่นเมืองอื่น

sevenseas1

The Sevenseas Resort

เกาะกระดานอันเงียบสงบ มีหาดทรายสีขาวทอดตัวยาวไกลสุดสายตา เมื่อยามกระทบกับแสงแดดจะส่องแสงเป็นประกายเคียงคู่น้ำทะเลสีฟ้าใส ดั่งกระจกแผ่นบางที่มองเห็นแนวปะการังใต้น้ำอย่างชัดเจน สมกับคำล่ำลือที่ว่า หาดทรายและน้ำทะเลของที่นี่สวยที่สุดในเมืองตรัง จึงไม่น่าแปลกใจที่ใครๆต่างก็หลงใหลใน The Sevenseas Resort ที่ตั้งอยู่เกาะกระดานเคียงข้างกับทะเลอันดามันนี้ ที่นี่ออกแบบมาเพื่อเอาใจคนที่หลงใหลในท้องทะเลอย่างแท้จริง

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม-กินหมูย่างกับกาแฟ

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม-กินหมูย่างกับกาแฟ

กินหมูย่างกับกาแฟ : อาหารมื้อเช้า อันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง การกินกาแฟแทนอาหารมื้อเช้าเป็นปกติวิสัยของหมู่คนจีนในเมืองตรังมานานแล้ว และนิยมมาสู่หมู่คนตรังชั้นกลางที่เป็นข้าราชการ นักธุรกิจที่อยู่ในเขตตรังเมือง ชานเมืองเป็นลำดับต่อมา

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-พะยูน

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-พะยูน

ตันหยง ตันหยง หยงไหรละน้อง เจ้าดอกเหฺมฺล บังไปไม่รอดเสียแล้วแด ถูกเหน่น้ำตาปลาดุหยง คดข้าวสักหวัก คิดถึงน้องรักบังกินไม่ลง ถูกเหน่น้ำตาปลาดุหยง บังกินไม่ลงสักคำเดียว บทเพลงรองเง็งบทนี้ร้องกันอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลตะวันตก ซึ่งรวมทั้งที่เมืองตรัง นอกจากการทำหน้าที่สะท้อนความเชื่อแล้ว ยังเป็นเครื่องยืนยันว่ปลาดุหยงหรือพะยูนเป็นที่รู้จักมานานแล้วในแถบนี้ ปลาดุหยงหรือพะยูน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตระกูลเดียวกับช้าง มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น หมูน้ำ เงือก วัวทะเล Dugong Sea cow มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugong มีนิทานชาวบ้าน กล่าวถึงหญิงมีครรภ์ที่อยากกินลูกหญ้าชะเงาซึ่งเป็นหญ้าทะเลชนิดหนึ่ง การกินหญ้านี้ทำให้นางกลายเป็นปลาดุหยงไปในที่สุด สมัยก่อน เรื่องราวของพะยูนคงเป็นรับรู้กันเฉพาะในหมู่เล ทั้งด้วยตำนาน...

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-ภูมิประเทศเมืองตรัง

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-ภูมิประเทศเมืองตรัง

จากเครื่องหมายภูเขา คือตลอดแนวเทือกเขาบรรทัดในเขตภูเขาและเชิงเขา และต่อลงมาถึงพื้นที่เขตลอนลูกฟูกคือที่ราบแคบๆ สลับควนหรือเนิน แทรกด้วยภูเขาหินปูนโดด ที่ลุ่มหนองน้ำอันเกิดจากหลุมยุและหลุมจม ทุกลักษณะมีครบถ้วนในเขตตัวเมืองตรัง กลายเป็นเอกลักษณ์แห่งเมือง พื้นที่ควนที่เหนได้ชัดคือบริเวณที่ตั้งศาล ศาลากลาง และจวนผู้ว่าราชการจังหวัด วัดควนวิเศษ อนุสาวรีย์พระยารัษฎาฯ

เกลอเขา-เกลอเล

นิทานพื้นบ้านเรื่องไอ้เกลอเขา – ไอ้เกลอเล

หากนิทานพื้นบ้านยังเป็นที่เชื่อถือและยอมรับกันว่า ตัวละครในเรื่องคือภาพลักษณ์และพฤติกรรมของสังคมนั้นในยุคนั้น ตัวละครคือสภาพทางสัมคมศาสตร์ อันหมายถึงนิสัยใจคอของผู้คน เรื่องราวไอ้เกลอเขา – ไอ้เกลอเล คือภาพลักษณ์และพฤติกรรมของคนเมืองตรังในครั้งกระโน้น แม้จะไม่ทุกส่วน แต่มีลักษณะเป็นองค์รวมของความเป็นคนเมืองตรังอย่างแน่นอน 

ภูมิปัญญาตรัง กับหมอยาพื้นบ้านและการใช้สมุนไพร

ภูมิปัญญาตรัง กับหมอยาพื้นบ้านและการใช้สมุนไพร

คงไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า สมุนไพรตัวใด ยาพื้นบ้านขนานใด เป็นการค้นพบโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นตรัง ด้วยความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรรักษาโรคนั้นมีมาช้านาน จากประวัติในสมัยพุทธกาลมีการบัญญัติและกล่าวถึงสมุนไพรในพระไตรปิฎก เช่น ขมิ้น ขิง ดีปลี สมอ มะขามป้อม มหาหิงค์ เป็นต้น จากการที่รัชกาลที่ 3 โปรดให้จารึกตำรายาไว้ที่ฝาผนังวัดพระเชตุพนฯ ถือเป็นการยืนยันความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรเป็นอย่างดี และถือเป็นการตรวจสอบมาตรฐานสรรพคุณไปด้วยในตัว ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อโรงเรียนแพทย์เปิดสอนครั้งแรก พ.ศ. 2432 โรงพยาบาลศิริราช ใช้ยาสมุนไพรตามแผนโบราณทั้งหมด

ตรังเมือง : กับภูมิปัญญาการสื่อสารข่าว

ตรังเมือง : กับภูมิปัญญาการสื่อสารข่าว

ตรังเมืองมีคนจีนพลัดถิ่นมาทำมาหากินในยุคแรกๆ อย่างน้อยสามกลุ่มคือ เปิดร้านขายน้ำชากาแฟ ซื้อของเก่า และปลูกผักขาย ความเป็นคนพลัดถิ่นได้ถักทอความรักความอาทรห่วงใยไว้อย่างเหนียวแน่น แม้ว่างานบีบรัดแบบปากกัดตีนถีบ ไปมาหาสู่ไม่ได้ แต่ข่าวคราวติดต่อสื่อสารกันมิได้ขาด ร้านนน้ำชากาแฟคือศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน มีทั้งสื่อตรงระหว่างกัน และบอกต่อปากต่อปาก

ตรังเล

ตรังเล : กับภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่ทำลายล้าง

ตลอดระยะเวลา 119 กิโลเมตรของทะเลตรัง ชุมชนตรังดำรงชีวิตอยู่ด้วยทรัพยากรทางทะเลเกือบร้อยเปอร์เซนต์ ในช่วงแรก ทำการประมงแบบยังชีพ ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมไม่ทำลายล้าง ตามชายฝั่งน้ำตื้น แต่ต่อมารัฐได้ให้สัมปทานป่าชายเลนเพื่อเผาถ่าย ใช้เรืออวนลากทำการประมงเชิงพาณิชย์เพื่อการส่งออก ป๊ะบู นวลศรี ปราชญ์ชาวบ้านตรังเล บ้านแหลมมะขาม อำเภอสิเกา ได้ฉายภาพความเป็นตรังเลแต่อดีตสู่ปัจจุบันไว้ดังนี้

ตรังเขา : กับภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่เกิดจากการสั่งสมสืบทอดบนวงเวียนชีวิต

ตรังเขา : กับภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่เกิดจากการสั่งสมสืบทอดบนวงเวียนชีวิต

ความเป็นตรังเขา เริ่มต้นชีวิตกลางป่า และจบชีวิตลงกลางป่า มาหลายชั่วอายุคนแล้ว คือ ใบปริญญาที่รับรองว่า หมู่ตรังเขา มีภูมิปัญญา ดำรงชีพ ดำรงชีวิตอยู่กับป่า กับสัตว์ป่า ภายใต้กฎเกณฑ์ เสพ – สร้าง ระหว่างกันโดยไม่เสียสมดุล กลมกลืนอยู่ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ดังจะยกให้เห็นพอเป็นรูปธรรม

บทสรุปบนเส้นทางภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ตรังเขา ตรังนา ตรังเล

บทสรุปบนเส้นทางภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ตรังเขา ตรังนา ตรังเล

บนเส้นทางภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ตรังเขา ตรังนา ตรังเล บนเส้นทางการพึ่งพาตนเอง และการพึ่งพิงเพื่อนบ้านย่านเคียงภายใต้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมไม่ทำลายล้าง ทั้งตนเอง ผู้อื่น และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของตรังเขา ตรังนา และตรังเล ที่ผ่านมาถูกละเลยลืมเลือนไปบ้าง แต่วันนี้ของตรังเขา ตรังนา ตรังเล รู้แล้วว่า อะไรเป็นอะไร

clocktower2

ภูมิศาสตร์

1. ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดตรังอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มี   พื้นที่จังหวัดเลียบชายฝั่งทะเลตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย  ยาวตลอดแนวเขตจังหวัดถึง 119 กม. ประมาณเส้นรุ้งที่ 7 องศา  31  ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่  99  องศา 38  ลิปดาตะวันออก  อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามเส้นทางสายเพชรเกษม 828 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 4,941.439 ตารางกิโลเมตร หรือ  3,088,399.375  ไร่   มีอาณาเขตติดต่อด้านจังหวัดต่าง ๆ   ดังนี้ ทิศเหนือ  จดอำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  และอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่...

economic

ความสำคัญของจังหวัดตรังในด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทย

1. ทรัพยากรที่สำคัญ ทรัพยากรที่สำคัญของจังหวัดตรังจำแนกตามประเภท ต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1.1 ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ปลูกทั่วไปทุกอำเภอแต่ที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ อำเภอปะเหลียน