Category: ทรัพยากรสัตว์

82950217_2957343244296649_1386653002084909056_o

ธนาคารปูม้าชุมชนบ้านนาชุมเห็ด ตำบลตะเส๊ะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง

ธนาคารปูม้าชุมชนบ้านนาชุมเห็ด ตำบลตะเส๊ะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง เป็นกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ คือ ปูม้า หรือ Blue Swimming Crab ที่มีชาวประมงพื้นบ้านเป็นสมาชิก โดยการบริหารของ ผู้ใหญ่บ้าน ชีวิน หลงกลาง ธนาคารปูม้า คือ กระบวนการหนึ่งในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ และอนุบาลสัตว์น้ำ โดยการนำแม่ปูม้า ที่มีไข่แก่ติดหน้าท้อง มาฝากไว้ในกระชังที่อยู่ในทะเลหรือในถังน้ำในโรงเรือน เมื่อแม่ปูม้าเขี่ยไข่ออกจากหน้าท้อง จึงจะนำแม่ปูม้าไปขาย ไข่ที่ถูกฟักออก ก็จะถูกปล่อยสู่ธรรมชาติ จนเติบโตเป็นปูม้าขนาดใหญ่ต่อไป ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชม คือชาวประมงในท้องถิ่น ช่วยกันนำเอาแม่ปูที่มีไข่นอกกระดอง ที่ยังมีชีวิตอยู่ มาบริจาคให้กับธนาคารปู เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์ ซึ่งขั้นตอนนี้จะไม่สำเร็จเลยหากปราศจากความร่วมแรงร่วมใจของคนในพื้นที่...

กุ้งแม่น้ำ ตรัง

กุ้งแม่น้ำ

เมื่อ 30 ปีย้อนหลังขึ้นไป ตามบริเวณฝั่งแม่น้ำตรังตั้งแต่ท่าจีน อำเภอเมืองลงมาถึงอำเภอกันตัง ภาพชาวบ้านหิ้วพวงกุ้ง ปลา มารอรถริมถนนเพื่อเอาไปขายในเมือง มีให้เห็นแทบทุกเช้า และนี่คือที่มาของสำนวน กุ้งสิบร้อยคล้า กุ้งห้าร้อยจาก

หอยปะ - ตรัง

หอยปะ

หอยปะเป็นหอย 2 ฝา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Meretrix Lusoria ที่อื่นอาจเรียกว่า หอยขาว หรือหอยตลับลาย ที่หมู่บ้านปากน้ำปะเหลียน ฝั่งตะวันออกตั้งแต่บ้านหินคอกควาย ฝั่งตะวันตกตั้งแต่บ้านวังวนลงไป บ้านเรือนสองฝั่งมีเปลือกหอยปะทับถมนับล้านๆ ตัว บ่งบอกถึงทรัพยากรที่หล่อเลี้ยงผู้คนมายาวนาน เพราะในร่องน้ำระหว่างสองฝั่งมีเกาะเล็กๆ ชื่อเกาะหอไหร้ ซึ่งปกคลุมด้วยป่าชายเลน เมื่อน้ำขึ้นจะท่วมไปทั้งเกาะ ครั้นพอน้ำลงจะเห็นแนวทรายเป็นบริเวณกว้าง ที่ตรงนี้คือแหล่งหอยปะขนาดใหญ่ อาจจะใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก็เป็นได้ ส่วนด้านปากน้ำตรังก็มีแหล่งหอยปะตั้งแต่บริเวณสถานีวิจัยนิเวศวิทยาป่าชายเลน หมู่บ้านโต๊ะหร้าไปถึงเกาะเคี่ยม และทะเลด้านนอกจนถึงแหลมจุโหย เกาะลิบง ปริมาณหอยด้านนี้น้อยกว่าด้านแม่น้ำปะเหลียน

นก

แหล่งนก

  จังหวัดตรังมีแหล่งนกที่นักดูนกรู้จักกันดี โดยเฉพาะที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเกาะลิบง นับเป็นแหล่งนกอพยพจากแดนไกลแหล่งใหญ่ที่สุดในฝั่งทะเลตะวันตก นอกจากนี้ยังมีแหล่งนกประจำถิ่นอีกหลายแห่ง เช่น วังนกน้ำ อำเภอวังวิเศษ อุทยานนกน้ำคลองลำชาน สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์หรือสวนสาธารณะทุ่งน้ำผุดของเทศบาลเมืองตรัง สระกะพังสุรินทร์ ทะเลสองห้อง ที่น้ำตกร้อยชั้นพันวังนั้นเป็นแหล่งของนกแต้วแร้วทองดำ ที่เขาหลักตำบลน้ำผุดจะมีนกเงือก ส่วนตามป่าโปร่งเชิงเขาแถบบ้านหาดเลา แหลมสอม และป่าดงใกล้เคียง จะมีเสียงเพลงเซ็งแซ่จากนกบินหลา หรือนกกางเขน และนกกรงหัวจุก หรือนกปรอด ต่อมานกเหล่านี้ถูกจับไปอยู่ในกรงตามบ้านนักนิยมทั้งในเมืองตรังและต่างจังหวัด เสียงเพลงจากนกน้อยจึงแผ่วลงทุกวัน

Holothuria_atra2 ปลิงทะเล

ปลิงทะเล

ปลิงทะเลมีชื่อวิทยาศาสตร์ Holothuria atra เป็นสัตว์ตัวสีดำแกมเทา ถ้าพลิกท้องจะเห็นเป็นสีขาว รูปร่างทรงกระบอก ยาวประมาณ 5-6 นิ้ว มีปากช่องขับถ่ายอยู่ที่ส่วนหัวและส่วนหาง ผิวขรุขระรอบตัว ฝังตัวอยู่ตามโคลน ทรายหรือตามกอหญ้าทะเล บางทีก็ถูกคลื่นซัดขึ้นมาอยู่ตามชายหาด พบมากตามเกาะต่างๆ ทั้งเกาะลิบง เกาะมุก และเกาะสุกร ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปลิงทะเลตากแห้งจากเกาะลิบงเป็นสินค้าออกที่สำคัญอย่างหนึ่ง

Donax scortum Linn. หอยตะเภา

หอยตะเภา

หอยตะเภา เป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปในท้องถิ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Donax scortum Linn. มีชื่อพ้องว่า Hecuba scortum Linn. บริเวณที่พบหอยตะเภามากที่สุดคือที่หาดปากเมง อำเภอสิเกา ที่หาดสำราญก็มีบ้าง บริเวณที่มีหอยตะเภามักจะพบหอยเจดีย์หรือหอยหลักไก่อาศัยอยู่ด้วย

Solen-strictus-Gould. หอยหลอด

หอยหลอด

หอยหลอด ชาวบ้านเรียกหอยชนิดนี้ว่าหอยยอน ชื่อวิทยาศาสตร์ Solen strictus Gould. พบมากที่บริเวณชายหาดสำราญของกิ่งอำเภอหาดสำราญ ชาวบ้านมีวิธีหาหอยหลอดแบบง่ายๆ คือสังเกตดูว่ามีมูลหอยอยู่ที่ใด เมื่อพบให้ใช้ส้นเท้าย่ำลงบนพื้นดินตรงนั้น ถ้ามีหอยอยู่ รูหอยจะเปิดขึ้นพร้อมกับที่หอยบ้วนน้ำ การจับหอยต้องใช้ก้านมะพร้าวอันเล็กๆ กัดปลายให้แตกบานออกเล็กน้อย เพื่อให้ติดน้ำยาซึ่งทำด้วยปูนขาวผสมพริกชี้ฟ้าตำละเอียด ละลายน้ำให้ข้นๆ เอาก้านมะพร้าวจุ่มน้ำยาแหย่ลงไปในรู หอยทนพิษยาไม่ไหวก็จะขึ้นมาให้เห็นจนถึงขึ้นมาได้

oyster หอยนางรม

หอยนางรม

หอยนางรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crassostrea commerciallis ภาษาอังกฤษเรียก oyster ชาวบ้านเรียกว่าหอยแตะหรำ คำนี้ยังเป็นชื่อหมู่บ้านในอำเภอกันตัง คำว่า แตะหรำ มาจาก ติรัม ภาษามลายู แปลว่า หอย บริเวณปากแม่น้ำปะเหลียนโดยเฉพาะตรงบ้านแหลมเป็นแหล่งหอยนางรมธรรมชาติที่ใหญ่มากแหล่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นหอยสีขาวที่มีคุณภาพซึ่งราคาดีมาก แต่ด้วยการเก็บเกี่ยวเพื่อขายมากขึ้นทำให้หอยลดน้อยลงทุกที

ปลาตุหนา ปลาไหลดำ

ปลาตูหนา อาหารโปรดของ พระยารัษฎานุประดิษฐ์

มีตำนานชาวบ้าบกล่าวถึงปลาชนิดหนึ่งในแม่น้ำตรังว่ามีตัวใหญ่ขนาด หูเท่ากระด้ง ปลามีหูชนิดนี้คือปลาไหลหูดำ ปลาตูหนา ตุหนา หรือโตะหนา เรียก ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Anguilla bicolour และชื่อภาษาอังกฤษว่า True eel

Capricornis-sumatraensis

เลียงผา

เลียงผา เรียกชื่อตามชาวบ้านว่า คุรำ คูรำ หรือโครำ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis sumatraensis รูปร่างคล้ายแพะ ต่างกันแต่เลียงผาไม่มีเคราอย่างแพะ สีดำตลอดลำตัว มีเขาเป็นรูปกรวยโค้งไปข้างหลัง มีนิสัยชอบกระโดดปีนป่ายไปตามหน้าผาหิน เลือกกินใบไม้อ่อนๆ เป็นอาหาร ซึ่งมีหลายชนิด เช่น เหยื่อคุรำ เป็นไม้ล้มลุก มีผู้นิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับด้วย อื่นๆ ก็มี เกล็ดมังกร และใบเข็มป่า เป็นต้น