บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางพัฒนาสังคม-บู นวลศรี : ปราชญ์ชาวบ้านตรังเล

บ้านแหลมมะขาม อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง หมู่บ้านประมงพื้นบ้านแบบยังชีพได้ถูกกระแสประมงพาณิชย์เพื่อการส่งออกขับเคลื่อนเรืออวนลากอวนรุนและสารพัดเครื่องมือจับปลาแบบล้างผลาญเข้ามาทำการประมง ทุกชายหาดอ่าวบางคลองยังผลให้แนวหญ้าทะเลเขตน้ำตื้นแนวหินปะการังน้ำตื้นซึ่งเป็นแดนห่วงโซ่อาหารถูกทำลายจนสูญเสียความสมดุลยิ่งไปกว่านั้นป่าชายเลนซึ่งเปรียบเสมือนจุดกำเนิดชีวิตทางทะเลได้ถูกกระแสส่งออกถ่านไม้โกงกางเคลื่อนเข้ามาตัดโค่นเผาถ่านจนเลี่ยนโล่งสูญสิ้นความเป็นป่า

ปี 2528 บ้านแหลมมะขามกับวิถีประมงพื้นบ้านแทบเอาตัวไม่รอดเมื่อป่าชายเลนรอบๆหมู่บ้านถูกตัดฟันไปเผาถ่านจนหมดสิ้นสภาพความเป็นป่าเมื่อหญ้าทะเลและปะการังเขตน้ำตื้นถูกเรืออวนลากคราดครูดจนหมดสิ้นสภาพความเป็นป่าใต้น้ำที่สมบูรณ์

บ่อยครั้งที่ออกทะเลไปวางอวนจมไซและตกปลาได้ปลากระป๋องปลาเค็มจากร้านค้ากลับมาเป็นกับข้าวมื้อเย็น

ปลายปี 2528 สมาคมหยาดฝนของค์กรพัฒนาเอกชนเลือกเอาพื้นที่อ่าวสิเกาเป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการเสริมศักยภาพชุมชนประมงพื้นบ้านชายฝั่ง

หมู่บ้านแหลมมะชามเป็นหนึ่งในหมู่บ้านเป้าหมายของโครงการดังกล่าวและที่นี่เองที่เจ้าหน้าที่สมาคมหยาดฝนได้พบปราชญ์ชาวบ้านตรังเล – ป๊ะบูนวลศรี

นายบูนวลศรีหรือโต๊ะอิหม่ามบูนวลศรีผู้ทำทางศาสนาของพี่น้องมุสลิมแห่งบ้านแหลมมะขามและหมู่บ้านข้างเคียงสำหรับผู้คนในแวดวงนักสิ่งแวดล้อมเรียกขานกันว่าป๊ะบูแกนนำคนสำคัญขององค์กรชาวบ้านในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลตรังโดดเด่นในฐานะนำสันติวิธีผู้มีจิตใจมั่นคงถือหลักการเพื่อส่วนรวมเหนือส่วนตัวสำหรับผู้คนที่ได้คลุกคลีแลกเปลี่ยนพูดคุยกับป๊ะบูนวลศรีอย่างจริงจังแล้วมักจะพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่าป๊ะบูเป็นผู้รอบรู้ป๊ะบูเป็นปราชญ์ชาวบ้านโดยแท้

 

“มีป่ามีปลา” วาทะที่ฉายประกายความเป็นปราชญ์ชาวบ้าน

วงสนทนาที่ไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำตามธรรมชาติกับเจ้าหน้าที่สมาคมหยาดฝนและนักวิชาการท้องถิ่นที่เอาจริงเอาจังกับการพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงความแร้นแค้นในการทำประมงแบบยังชีพทำอย่างไรให้ชายฝั่งและอ่าวรอบๆหมู่บ้านมีกุ้งหอยปูปลาให้ทำการประมงยังชีพอยู่ได้ไม่ใช่ไปวางอวนแล้วได้ปลาเค็มปลากระป๋องจากร้านค้าพร้อมกับตัวเลขติดค้างเพิ่มขึ้นป๊ะบูนวลศรีบอกว่าถ้าอยากให้ทะเลมีกุ้งหอยปูปลาก็ต้องปลูกป่าชายเลน

ถ้อยวาทะของป๊ะ บู นวลศรี ดังกล่าวได้ถูกนำมาถกเถียงต่อกันหลายเวทีหลายภาคีที่สุดการฟื้นฟูปลูกป่าชายเลนผืนแรกของประเทศไทยก็เกิดขึ้นบนพื้นที่ 857 ไร่ณบ้านทุ่งแหลมไทรแหลมมะขาม (สามหมู่บ้านซึ่งเสมือนหนึ่งเป็นบ้านเดียวกัน) และกลายเป็นต้นแบบต้นคิดในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทั้งในและนอกประเทศ

 

แนวเขตหญ้าทะเลคือโรงเรียนมัธยมมแนวปะการังคือมหาวิทยาลัย

หลังจากการฟื้นฟูปลูกป่าชายเลนขึ้นตรงนั้นตรงนี้ตลอดแนวชายฝั่งทะเลตรังกลุ่มแกนนำองค์กรชาวบ้านในการอนุรักษ์อ่าวสิเกาเห็นพ้องต้องกันว่าลำพังการฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างเดียวไม่อาจทำให้ทะเลสมบูณณ์ขึ้นมาได้จำต้องฟื้นฟูแนวหญ้าทะเลและแนวปะการังไปพร้อมกันสำหรับเรื่องนี้ป๊ะบูนวลศรีได้สำแดงความเป็นนักนิเวศวิทยาไว้ให้คณะนักเรียนชาวค่ายสิ่งแวดล้อมไว้ว่า …ป่าชายเลนเปรียบเสมือนโรงเรียนอนุบาล – ประถมชายฝั่งน้ำตื้นแนวเขตหญ้าทะเลคือโรงเรียนมัธยมแนวหินปะการังคือมหาวิทยาลัย…แปลความว่าความเติบโตสมบูรณ์ทางทะเลเริ่มต้นที่ป่าชายเลนเชื่อมต่อไปยังเขตชายฝั่งน้ำตื้นไปสิ้นสุดที่แนวปะการังเช่นเดียวกับความเจริญเติบโตสมบูรณ์ทางปัญญาที่เริ่มจากโรงเรียนอนุบาล – ประถม – มัธยมและมหาวิทยาลัย

 

มองทะเลตรังด้วยวิสัยทัศน์แห่งปราชญ์

ป๊ะบู นวลศรี ได้อธิบายถึงทะเลตรังโดยถือเอาคนกับปลามาเป็นสื่อในการอธิบายแบ่งยุคของทะเลตรังอย่างน่าทึ่ง ดังนี้ คือ ยุคปลามาหาคน ยุคคนไปหาปลา ยุคปลามาให้กำลังใจคน และยุคคนเลี้ยงปลา ซึ่งกล่าวไว้ในบทว่าด้วยภูมิปัญญาการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

ปราชญ์ชาวบ้าน : ตำแหน่งตามธรรมชาติที่ผู้คนหยิบยื่นให้

ผู้คนที่คลุกคลีอยู่ในวงสนทนาสัมมนาเรื่องการจัดการทรัพยากรชายฝั่งแบบยั่งยืนต่างก็ยอมรับเสมอเหมือนกันว่าป๊ะบูนวลศรีเป็นนักคลี่คลายปัญหาแบบสันติวิธีซึ่งเห็นได้จากการเลิกเครื่องมือทำการประมงแบบล้างผลาญในอ่าวสิเกาโดยไม่เกิดข้อขัดแย้งรุนแรงเหมือนกับที่อื่นๆ

ในแวดวงพูดคุยสัมมนาป๊ะบูนวลศรีว่างเสมอไม่ว่าจะเป็นผู้นำอภิปรายหรือผู้เข้าร่วมด้วยถือคติที่ว่าเรื่องส่วนรวมต้องมาก่อนส่วนตัวทั้งๆที่บางครั้งมีภารกิจติดตัวมากมาย

จากมุมมองแนวคิดและรูปธรรมปฏิบัติของปีะบูนวลศรีเท่าที่หยิบยกมาให้เห็นก็เพียงพอแล้วกับตำแหน่ง ปราชญ์ชาวบ้านตรังเล

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>