บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-อาคม เฉ่งไล่ : นักมวยเหรียญทองแดงโอลิมปิก

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2513 คือวันกำเนิดทารกน้อยเพศชายของแม่ชีพ และพ่อแวก หรือสุกเฉ่งไล่แห่งบ้านเลขที่ 50/1 หมู่ที่ 1 ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง เมื่อเล็กๆตอนเพิ่งเข้าเรียนขั้รประถมอาคมชอบเล่นต่อยมวยคู่ซ้อมที่ชกกันประจำคือธัญญ่าเฉ่งไล่พี่ชายคนติดกันแม่ชีพได้นวมเก่าๆ มาคู่หนึ่งเย็บชุนให้ลูกเล่น

สายเลือดมวยในตัวอาคมส่วนหนึ่งน่าจะมาจากพ่อแวกซึ่งเคยเป็นนักมวยมาก่อนครูมวยของพ่อแวกคือเดโชลูกทส. นักมวยผู้โด่งดังแห่งคุ้งน้ำท่าจีนภายหลังครูเดโชเข้าสุ่ร่มกสาวพัสตร์ที่วัดศรีสุวรรณารามชาวบ้านรู้จักกันในนามหลวงตาโช้น

อาคมฝึกชกมวยไทยอย่างจริงจังกับครูมวยคนแรกคือครุอาจินต์มาศนุ้ยขึ้นเวทีมวยแถวบ้านเกิดเมื่ออายุ 10 ปีในนามอิสระเกียรติอินทรีดำสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ได้รับเงินรางวัล 60 บาทและตระเวนเรื่อยไปในแถบเวทีมวยเมืองใต้

ครูจำรัสแก้วเมนครูสอนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวัดศรีสุวรรณารามผู้เคยสอนอาคมเล่าว่าอาคมเป็นเด็กเรียบร้อยนิสัยใจคอโอบอ้อมอารีการเล่าเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีและเมื่อจบชั้นประถมปีที่ 6 ก็สามารถสอบเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรวเรียนวิเชียรมาตุได้

แม้เป็นนักเรียนมัธยมและชกมวยไปด้วยตลอดเวลาแต่พอถึงหน้านาอาคมก็จะลงช่วยพ่อแวกตกแต่งคันนาเท่าที่พอช่วยได้ครั้นถึงฤดูเกี่ยวข้าวก็ช่วยขนข้าวกลับบ้านเพื่อนๆรุ่นเดียวกันที่ไม่ได้เรียนหนังสือเขาหาบข้าวจากนามาขึ้นยุ้งอาคมหาบไม่เป็นก็ยังอุตส่าห์เอาเลียงข้าวใส่กระสอบอุ้มหอบไปถึงบ้าน

ด้านการชกมวยเมื่อตระเวนชกในภาคใต้สามารถเอาชนะนักมวยมีชื่อมาหลายนที่สุดได้ขึ้นสู่เวทีเมืองกรุงใช้ชื่ออิสระศักดิ์กรีรินทร์เอาชนะทานตะวันน้อยต.ศิลาชัยแชมป์ไลต์เวตเวทีลุมพินีเมื่อพ.ศ. 2533 อาคมได้เป็นแชมป์มวยไทยรุ่นไลต์เวตที่โด่งดังที่สุดและค่าตัวสูงสุดในยุคนั้นและสามารถป้องกันตำแหน่งแชมป์จากการท้าชิงของรามอนแด็กเกอร์ฉายาหมัดกังหันจากฮอลแลนด์ไว้ได้อย่างสวยงาม

ต่อมาผู้หลักผู้ใหญ่เห็นว่าอาคมมีรูปร่างค่อนข้างใหญ่หาคู่ชกยากสำหรับการชกมวยไทยประกอบกับหมัดหนักแม่นยำดีตวรจะชกมวยสากลสมัครเล่นเพื่อสร้างชื่อเสียงแก่ประเทศชาติต่อไปอาคมจึงเบนเข็มมาชกมวยสากลสมัครเล่นตั้งแต่ปี 2533

ผลงานในปี 2533 อาคมได้เหรียญทองแดงจากกีฬาแห่งชาติที่เชียงใหม่และอีกเหรียญทองแดงจากกีฬามวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์แห่งประเทศไทยทั้งยังได้เป็นตัวแทนทีมชาติเข้าแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงปักกิ่งครั้งนั้นได้เพียงเข้ารอบ 8 คนสุดท้ายพอถึงปี 2534 อาคมเข้าแข่งขันกีฬาแห่งชาติที่อยุธยาชนะเลิศได้เหรียญทอง

ปี 2535 อาคมได้เหรียญทองและตำแหน่งนักมวยยอดเยี่ยมจากการแข่งขันกีฬาขิงแชมป์แห่งประเทศไทยต่อมาเข้าร่วมแข่งขันชิงแชมป์เอเชียได้เหรียญทองแดงจึงมีสิทธิเข้าแข่งโอลิมปิก

ในโอลิมปิกเกมส์ณประเทศสเปนการชกมวยรอบที่ 1,2,3 อาคมชนะนักมวยอิหร่านเคนยาและลิธัวเนียแต่ไม่สามารถเอาชนะนักมวยจากไอร์แลนด์ในรอบรองชนะเลิศ 4 คนสุดท้ายจึงได้ครองเหรียญทองแดงกีฬามวยสากลสมัครเล่นรุ่นเวลเตอร์เวตประจำปี 2535 นำชื่อเสียงและความยินดีมาสู้ประเทศไทยและพี่น้องชาวตรัง

ปัจจุบันอาคมเฉ่งไล่มียศสิบเอกสังกัดกองทหารราบที่ 9 สมรสแล้วกับพยาบาลสาวแห่งโรงพยาบาลตรังมีบุตรสาว 1 คนแม้ไม่อาจสวมนวมขึ้นเวทีได้ด้วยปัญหาสุขภาพแต่ยังไม่ทิ้งวิญญาณนักมวยด้วยการใช้เวลาว่างดูแลค่ายมวยอาญาสิทธิ์ของพี่ชายที่บ้านเกิด

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>