ไม้เคี่ยม

เป็นไม้มีชื่อของเมืองตรังชนิดหนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cotylelo bium melanoxylon Pierre, และมีชื่อพ้องว่า C.lanceolatum Craib เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีชุกชุมในป่าดิบทางภาคใต้ เนื้อละเอียด แข็ง เหนียว หนัก แข็งแรงมาก ใช้ในน้ำทนทานดี เลื่อยไส และตกแต่งได้ไม่สู้ยาก ใช้ทำบ้านเรือน เรือ แพ สะพาน เขื่อน ไม้หมอนรถไฟ และการก่อสร้างอื่นๆ ที่ต้องการความแข็งแรงทนทานมาก จากความแข็งแรงนี้เองทำให้มีสำนวนว่า หนักแน่แก่นเคี่ยม

 

ในจังหวัดตรังนิยมใช้ไม้เคี่ยมใส่ในน้ำตาลจาก เพื่อให้รสฝาดของไม้เคี่ยมรักษาน้ำตาลมิให้บูดเสียเร็ว ทั้งยังใช้ใส่น้ำตามเมาเพื่อให้รสกลมกล่อม

 

เปลือกไม้เคี่ยมใช้เป็นยากลางบ้าน หรับห้ามเลือดบาดแผลสด และใช้เป็นยาชะล้างบาดแผล นิยมใช้เคี่ยมดำมากกว่าเคี่ยมขาว ชันจากไม้เคี่ยมเป็นยาสมานแผลและแก้ท้องร่วง ยอด ราก ดอก ลำต้นตำพอกแผลแก้ฟกบวมเน่าเปื่อย หรือใช้ผสมกับเปลือกตานแดง (ขี้อาย) เปลือกหว้าต้มบ้วนปากแก้ปากเปื่อย

 

การตีมีดพร้านาป้อที่มีชื่อเสียงของเมืองตรัง จะใช้ถ่านซึ่งทำจากไม้เคี่ยม เพราะประหยัด ให้ความร้อนสูงไม่แพ้ถ่านหิน

 

ในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง มีรายงานินค้ากล่าวถึงการส่งออกไม้เคี่ยมว่า ทำเป็นไม้ขนาด 8 x 2 นิ้ว สำหรับทำพื้น และ 8 x 6 นิ้ว สำหรับทำเป็นไม้หมอนทางรถไฟส่งไปเมืองเดลี และเมืองอื่นๆ ส่วนไม้เล็กขนาดกำนั้นทำเป็นเสาจากการส่งออกไม้นี้ทำให้พระยารัษฎาฯ ผู้มองการณ์ไกลได้ให้แนวคิดไว้ว่า ไม้เล็กไมควรตัดบรรทุกออกจากเมือง เกลือกว่านานไปจะไม่มีไม้ใหญ่ เพราะไม้เคี่ยมนี้เป็นไม้แข็งดีที่สุด ในหัวเมืองฝ่ายแหลมมลายูชั้นนอกนั้น มีอยู่ที่เมืองตรังกับกระบี่เท่านั้น ควรจะมีกำหนดให้ตัด

 

แม้ว่าพระยารัษฎาฯ จะดำริถึงการรักษาไม้เคี่ยมมานานปี แต่ในเมืองตรังวันนี้ไม้เคี่ยมคือไม้หายากชนิดหนึ่ง คนรุ่นหลังได้เห็นเพียงไม้เคี่ยมที่เป็นไม้กระดานปูพื้นหรือเสาสะพาน หรือตอเคี่ยมที่นักตกแต่งสวนไปเสาะหาขุดมาประดับสวน และอาจได้ยินชื่อคนบางคนที่ผิวคล้ำจัดว่า เคี่ยม ตามสำนวน ดำเหมือนตอเคี่ยม

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>