ย่านตาขาวโมเดล งานวิจัยภายใต้โครงการ ม.อ.เพื่อชุมชนเข้มแข็ง

Cilo-Trang-1216-13

ย่านตาขาวโมเดล งานวิจัยภายใต้โครงการ ม.อ.เพื่อชุมชนเข้มแข็ง ที่ทีมวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะฟื้นฟูและวางแผนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองย่านตาขาวในอนาคต การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ชาติพันธุ์ ประเพณีวัฒนธรรม และอุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองย่านตาขาวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

Cilo-Trang-1216-10

Cilo-Trang-1216-9 Cilo-Trang-1216-4

Cilo-Trang-1216-5

การสำรวจแหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่เทศบาลอำเภอย่านตาขาว รังวัดสถาปัตยกรรมที่คงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นและควรค่าแก่การอนุรักษ์ การค้นหาอัตลักษณ์ของพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของอำเภอย่านตาขาว การสำรวจความต้องการพื้นฐานของบ้านพักอาศัยร่วมกับคนพิการ และการสำรวจความเป็นไปได้ของเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองย่านตาขาว คือการขับเคลื่อนงานในแบบของการทำงานเชิงพื้นที่เข้าถึงพื้นที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

Cilo-Trang-1216-7 Cilo-Trang-1216-6

จากการลงพื้นที่สำรวจของเจ้าหน้าที่หน่วยพันธ์กิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบโครงการดังกล่าวพบว่า สถาปัตยกรรมสองข้างทางยังคงสภาพเดิมๆ แต่ก็มีความทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด การไม่ได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านเรือนให้เป็นไปตามยุคสมัย ไม่ได้หมายความว่าเจ้าของไม่ใส่ใจ หากแต่เกรงว่าความเก่าแก่ ความดั้งเดิมจะเลือนหายไป บวกกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนย่านตาขาวที่มีวิถีชีวิตที่สงบ เรียบง่าย สภาพอากาศที่ยังคงทำให้เราหายใจได้คล่อง ทำให้เราสัมผัสได้ถึงเสน่ห์ของเมืองย่านตาขาวที่หลายๆคนไม่เคยรู้มาก่อน

Cilo-Trang-1216-3

Cilo-Trang-1216-11 Cilo-Trang-1216-1

อาจารย์ชาวดี ง่วนสน หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าย่านตาขาวในปัจจุบันจะดูซบเซา เนื่องมาจากพิษเศรษฐกิจ แต่ย่านตาขาวยังคงมีจุดแข็งในเรื่องของต้นนทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ มีป่า เขา ต้นน้ำลำธารที่สวยงาม ต้นทุนทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวของสามเชื้อชาติ ไทย จีน มุสลิม และต้นทุนสถาปัตยกรรมของบ้านเรือนที่ยังคงเอกลักษณ์ เก่าแก่ ไว้อย่างครบถ้วนน่าสนใจ”

อาจารย์ชาวดี ง่วนสน หัวหน้าทีมวิจัย ย่านตาขาวโมเดล งานวิจัยภายใต้โครงการ ม.อ.เพื่อชุมชนเข้มแข็ง

อาจารย์ชาวดี ง่วนสน หัวหน้าทีมวิจัย ย่านตาขาวโมเดล งานวิจัยภายใต้โครงการ ม.อ.เพื่อชุมชนเข้มแข็ง

เพราะฉะนั้นแล้ว ย่านตาขาวยังมีอะไรๆ ที่ถือน่าค้นหาอีกหลายต่อหลายเรื่องราว การดึงให้ใครต่อใครเข้ามาสัมผัสย่านตาขาวอาจทำได้ไม่ยากนัก ถ้าหากเจ้าของพื้นที่ไม่มองข้าม หรือลืมที่จะบอกต่อของดีของตัวเองให้ใครต่อใครได้รับรู้เพียงเพราะความเคยชิน จนทำให้ความเคยชินนั้นเข้ามาบดบังเสน่ห์ของย่านตาขาว จังหวัดตรัง ไปเสียก่อน

line

ที่มา: http://rdo.psu.ac.th/th/index.php/recommend/682-2016-12-09-07-16-54

 

You may also like...