ชมพระอาทิตย์อัสดง ณ แหลมหยงสตาร์ อำเภอปะเหลียน

003
แหลมหยงสตาร์ เป็นหนึ่งจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกทะเลที่งดงามแห่งหนึ่งในตรัง ณ อำเภอปะเหลียน
.
แม้ปัจจุบัน อำเภอปะเหลียน จะเป็นอำเภอหนึ่งของตรัง ที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และประชาชนมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ีดี แต่คงมีคนตรังน้อยคนที่จะรู้ว่า ครั้งหนึ่ง เมืองปะเหลียน เคยเป็นเส้นทางสู่ทะเลตะวันตกของเมืองพัทลุง
004แม้เมืองตรังอยู่ในฐานะเมืองบริวารและเมืองท่า ของนครศรีธรรมราชมานานแต่มีเส้นทางติดต่อกับดินแดนใกล้เคียงอีกแห่งหนึ่งคือเมืองพัทลุง ตลอดเทือกเขาบรรทัดที่แบ่งกั้นเขตแดน ยังมีช่องทางหลายช่องจากแนวเหนือจดใต้ เช่น ช่องไม้ไผ่ ตะเหมก ท้ายสำเภา เขาช่อง บ้านด่าน โคกทราย บ้านตระ เป็นต้น ส่วนหนึ่งของผู้ใช้ช่องทางนี้คือผู้หนีภัยบ้านเมือง หนีการเกณฑ์แรงงาน หนีคดีอาญาข้อหาโจร หรือขบวนต้อนวัวควายที่ซื้อขายหรือลักพาเพื่อจะส่งออกทางท่าเรือ อีกส่วนหนึ่งคือผู้อพยพแสวงหาผืนแผ่นดินอุดมเพื่อการทำมาหากิน จึงมีชาวตรังเชื้อสายพัทลุงอยู่ไม่น้อยในหมู่บ้านตลอดแนวชายเขาปัจจุบันและบางหย่อมย่านในเขตอำเภอปะเหลียน อำเภอย่านตาขาว และอำเภอกันตัง
002
ในตำนานเมืองพัทลุงมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับเมืองตรัง คือ เพลานางเลือดขาวกล่าวถึงสตรีผู้ใฝ่ใจพระพุทธศาสนา เดินทางสร้างวัดและพระพุทธรูปไว้มากมายหลายแห่งรวมทั้งที่เมืองตรัง ซึ่งสอดคล้องกับตำนานพื้นบ้านที่เล่ากันในหมู่ชาวตรัง ทั้งยังมีชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์พุทธสิหิงค์และวัดพระงามขึ้นอยู่กับวัดเขียนบางแก้วและวัดสะทัง ดังใจความว่าโปรดฯให้เบิกวัดทั้งแขวงเมืองนครและพัทลุง ๒๙๘ วัด มาขึ้นแก่วัดเขียนบางแก้วและวัดสทัง… วัดคูหาสวรรค์ ๑ อารามพิกุล ๑ วัดพระพุทธสิหิงค์ที่ตรัง ๑ วัดพระงามที่ตรัง ๑…005

ทั้งเอกสารและตำนานเหล่านี้แสดงว่า ในครั้งนี้พัทลุงมีความรุ่งเรืองนั้นได้แผ่อาณาเขตมาถึงตรัง เพราะต้องการใช้เมืองตรังเป็นทางผ่านออกสู๋ทะเลตะวันตก เส้นทางตามตำนานนางเลือดขาวน่าจะเป็นทางเขาช่อง เพราะใกล้คลองนางน้อยซึ่งใช้ออกสู่แม่น้ำตรัง เส้นทางเขาช่องนี้ยังสามารถเดินมาถึงบ้านย่านตาขาวและปะเหลียนเพื่ออกสู่แม่น้ำปะเหลียนได้ด้วย ส่วนอีกช่องทางหนึ่งคือที่บ้านตระนั้นสามารถติดต่อกับบ้านพูดและบ้านโละจังกระทางฝั่งพัทลุงได้ จากบ้านตระมีเส้นทางออกสู่ทะเลที่ปากแม่น้ำปะเหลียน แหลมหยงสตาร์ และชายฝั่งละงู

010

ประวัติเมืองพัทลุงในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. ๒๑๗๒ ปัตตานีและนครศรีธรรมราชทำการแข็งเมือง พวกปัตตานียกทัพเข้าโจมตีเมืองพัทลุงซึ่งตั้งอยู่ที่ หัวเขาแดง เมืองสงขลา สุลต่านสุำลมานผู้สำเร็จราชการสามารถสู้รบต้านทานไว้ได้ จากนั้นจึงให้น้องชายคือ ฟารีชี (ในพงศาวดารเมืองพัทลุง เรียก เพรีชี) ไปสร้างเมืองที่ชัยบุรี เพื่อให้เป็นป้อมปราการคอยสกัดกั้นศัตรูที่อาจจะยกมาอีก ต่อมามีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นทางเมืองไทรบุรี ฟารีชีจึงนำทัพจากพัทลุงผ่านบ้านชะรัดเพื่อไปปราบปราม แต่เมื่อถึงบ้านชะรัดเกิดล้มป่วยเสียชีวิตพวกพลพรรคจึงฝังศพไว้ซึ่งยังคงอยู่จนปัจจุบัน ในเขตอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ชาวบ้านเรียกว่าที่ฝังศพ ทวดโหม หลังสมัยนี้เชื้อสายของทวดโหมได้สืบทอดตำแหน่งเจ้าเมืองจนถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. ๒๒๙๑ แผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระยาราชบังสัน (ตะตา) เป็นเจ้าเมืองพัทลุง

008

ตอนนั้นปะเหลียนนับเป็นเมืองหนึ่งที่ขึ้นกับพัทลุง อาณาเขตของเมืองพัทลุงครอบคลุมไปถึงฝั่งตะวันตกของแหลม จากแม่น้ำปะเหลียนใต้ตรังลงมายังชายแดนแม่น้ำอูเปของเคดะห์

ชุมชนที่ตั้งเมืองปะเหลียนยุคแรกคือบริเวณที่เรียกว่าปะเหลียนใน ปัจจุบันอยู่ในหมู่ที่ ๑๒ ตำบลปะเหลียน เป็นจุดหนึ่งที่สามารถรองรับผู้ผ่านช่องเขามาจากพัทลุง ประมาณปี ๒๕๒๖ มีผู้พบปืนใหญ่โบราณ ๒ กระบอก ที่บ้านแหลมสอมซึ่งอยู่ในเขตปะเหลียนใน และนำมาเก็บไว้ที่วัดกะพังสุรินทร์ ปืนใหญ่นี้อาจได้มาหลังจากที่เกิดศึกหวันหมานหลี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยูหัว โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งปืนจากไทรบุรีมาไว้ที่เมืองตรัง เมืองสตูล ใน พ.ศ. ๒๓๘๒ เพื่อลิดลอนกำลังของไทรบุรีที่ปกครองกันเองในความควบคุมของไทย

พ.ศ.๒๓๙๖ มีสาตราแต่งตั้งขุนณรงค์ภักดีเป็นพระวรนาถสัมพันธ์เจ้าเมืองปะเหลียน เนื่องด้วยพระยาวรนาถสัมพันธ์เจ้าเมืองคนก่อนถึงแก่กรรม ต่อมา พ.ศ.๒๔๑๐ พระวรนาถสัมพันธ์เจ้าเมืองพัทลุง พระปริยันต์เกษตรานุรักษ์เป็นเจ้าเมืองต่อมาและเป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย ตั้งเมืองอยู่ที่ท่าพญาเหลือแต่ชื่อสถานที่ซึ่งเรียกกันว่าโคกเมือง หรือ โคกทำเนียบ

009

ส่วนที่แหลมหยงสตาร์จะมีชุมชนค่อนข้างใหญ่ เพราะภูมิประเทศเหมาะสมที่จะเป็นท่าเรือติดต่อค้าขายต่าง ๆ ได้ดี จึงมีผู้คนเข้ามาตั้งบ้านเรืองอยู่มาก กลุ่มคนในหยงสตาร์ไม่น้อยกล่าวว่า บรรพบุรุษของเขามาจากชายฝั่งตลอดแหลมมลายูตลอดไปจนถึงสุมาตรา ชุมชนแห่งนี้คงจะเป็นท่าเรือใหญ่มาพร้อมๆกับสมัยที่ปะเหลียนเป็นเมืองขึ้นของพัทลุงหรือก่อนหน้านั้น และมีผู้คนมากขึ้นเมื่อมีชาวจีนอพยพเข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาใน พ.ศ.๒๓๖๗ ปรากฎว่ามีประชากรถึง ๑๐๐ ครัวเรือน ในขณะที่พื้นที่ใกล้เคียง เช่น ละงู โอเป (สุไหงอุเป หรือไหเปะ) ดุหุน มีแหล่งละประมาณ ๑๐ – ๒๐ ครัวเรือน

011

ในเมืองปะเหลียนยังมีตำแหน่งผู้นำชุมชนย่อย เรียกว่า จอม ตามประวัติบอกเล่าในตระกูลเก่าของเมืองปะเหลียน กล่าวว่า หลวงต่างใจราษฎ์ ข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชสังกัดกรมมหาดไทย ภายหลังเป็นผู้ปกครองเกาะลังกาวี มีบุตรได้เป็นที่หลวงสมุทรโยธีตำแหน่งนายกองเรือง เสียชีวิตในการต่อสู้ป้องกันเมืองตรังเมื่อเกิดกบฏหวันหมาดหลี บุตรของหลวงสมุทรโยธีได้เป็นหลวงจางวาง ในชั้นแรกรับราชการเป็นนายกองเรือ ภายหลังได้เป็นผู้รักษาปากน้ำเมืองปะเหลียน ได้เป็น จอม ตำแหน่งนายบ้านเทียบเท่านายอำเภอ ชื่อจอมซิยตรีคนในตระกูลนี้ได้สืบตำแหน่งจอมต่อมา ได้แก่ จอมบ่าโฮ้ย (หลวงฤทธิ์) สังกัดกรมช่างเกณฑ์กำปั้นมีหน้าที่ต่อเรือรบ จอมฉาด (หลวงบำรุงชลธี) เป็นต้น

007
line
Photographer: Wannasiri Srivarathanabul
———————–
www.dp-studio.com

You may also like...