IamTrang.com
 
IamTrang.com
KNOWLEDGE
PEOPLE
PLACE
PRODUCT & SERVICE
RESOURCE
ACTIVITY
LIFESTYLE
NEWS & EVENT
มรดกทางธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-วัฒนธรรมชนเผ่าซาไก
วัฒนธรรมชนเผ่าซาไก พวกชนเผ่าซาไก หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่าพวกชาวป่า หรือ เงาะ แต่คนเหล่านี้เรียกตัวเองว่า มันนิ ดำเนินชีวิตอยู่ในดินแดนแถบเทือกเขาบรรทัด มีส่วนหนึ่งอยู่ที่บ้านลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง การรวมกลุ่มของซาไกหรือมันนินั้น ปกติและกลุ่มจะประกอบด้วย 2 ครอบครัวขึ้นไป และจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่มจะมี
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีชาวไทยเชื้อสายจีน
ชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองตรังได้ถือปฏิบัติประเพณีของบรรพบุรุษมาโดยต่อเนื่อง เมื่อถึงช่วงเทศกาลก็จะจัดให้มีกิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน และยึดมั่นในวัฒนธรรมของตนอย่างเหนียวแน่น ตรุษจีน ช่วงเทศกาลตรุษจีน เป็นช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ประมาณเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ของทุกปี เตรียมงานกันประมาณ 1 ปักษ์ จะช่วย
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีชาวไทยมุสลิม
ประเพณีของชาวไทยมุสลิม ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดตรังมีวิถีความเป็นอยู่บนพื้นฐานศาสนธรรมและหลักการของอิสลาม จึงมีประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและชีวิต ดังตัวอย่าง ประเพณีการถือศีลอด การถือศีลอด (ศีล - อด) หรือปอซา ซึ่งเป็นการงดเว้นการระงับยับยั้ง การครองตน เป็นการงดเว้นบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมเพศ การรัก
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีชาวไทยพุทธ
ชาวไทยพุทธ และชาวไทยเชื้อสายจีนเมืองตรัง ส่วนใหญ่มีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและปฏิบัติต่อเนื่องกันมาจนเป็นประเพณีท้องถิ่น เช่น ตักบาตรปีใหม่ สงกรานต์เดือน 5 ลากพระเดือน 5 และลากพระเดือน 11 ถวายเทียนพรรษา เดือน 8 ลอยกระทงเดือน 12 และมีพิธีอื่นๆ ตามท้องถิ่น เช่น ลาซัง ทำขวัญข้าวซึ่งจัดหลังการเกี่ยวข้าว เป
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีท้องถิ่นเมืองตรัง
เมืองตรังมีประเพณีหลายอย่างตามพื้นฐานของผู้คน มีประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับเทศกาล ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ประเพณีในรอบปี ประเพณีที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ประเพณีงานศพ เมืองตรังมีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน ประเพณีงานศพเมืองตรังจึงมีพิธีกรรมท
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-การกินอยู่
การกินอยู่ ชาวตรังถือว่าการกินอยู่เป็นเรื่องสำคัญ อาหารของเมืองตรังจึงเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาอยู่หลายชนิด ในงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานศพ งานแต่งงาน หรืองานอื่นๆ จะมีการจัดเลี้ยงอาหารกันอย่างเต็มที่เสมอ ชาวตรังโดยทั่วไปจะรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก และมีแกงต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทมีรสจัด เครื่องแกงมักมีส่วน
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-การแต่งกาย
การแต่งกาย การแต่งกายของผู้คนในจังหวัดตรังในอดีตถึงปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงมาตามยุคสมัย ชาวบ้านแต่เดิมโดยทั่วไปนุ่งผ้าโจงกระเบน ผู้ชายมักนุ่งแบบไว้ชายเรียกว่านุ่งเลื้อยชายหรือลอยชาย คือใช้ผ้าทอผืนยาวนุ่งขมวดพกรัดเอวแบบเกี่ยวคอไก่ และจะใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่าหรือรัดเอวทับ ไม่ค่อยจะสวมเสื้อ แต่ในงานที่เป็นพิธีการต่าง
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-พิธีกรรมจากความเชื่อ-ไหว้พระภูมิ-พลีเรือน
ไหว้พระภูมิ - พลีเรือน การไหว้พระภูมิ - ทำขวัญบ้าน (พลีเริน หรือ พลีเรือน) เป็นประเพณีจากความเชื่อที่ว่า มีพระภูมิเจ้าที่เป็นเทพารักษ์ประจำสถานที่ใช้ปลูกส้รางบ้านเรือนที่อาศัย พระภูมิมีหลายองค์ แต่ที่มักจะออกชื่อในพิธีเซ่นสังเวย มีท้าวกรุงพาลีนางธรณีรักษาแผ่นดิน บริถิวรักษาทางสัญจร ท้าวนาคารักษาห้วงน้ำ ท้าวช
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-พิธีกรรมจากความเชื่อ-ไหว้ครูหมอ-ตายาย
ไหว้ครูหมอ - ตายาย ครูหมอและตายาย เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้านอันเป็นที่พึ่งพาช่วยเหลือปกปักรักษาลูกหลาน หมอชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีครูหมอ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยช่วยเหลือดูแลในการรักษาคนไข้ หรือตายายซึ่งเป็นบรรพบุรุษที่เคารพนับถือเป็นผู้ช่วยเหลอปกปักรักษาบุตรหลาน จึงพบเห็นการตั้งหิ้งบูชาไว้ที่บ้าน ใช้ผ้าขาว
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ความเชื่ออื่นๆในจังหวัดตรัง
ความเชื่อมีอิทธิพลต่อแนวคิดและการประพฤติปฏิบัติของบุคคลและชุมชน ความเชื่อของชาวตรังก็เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ ในภาคใต้คือเป็นความเชื่อที่มีพื้นบานมาจากลัทธิศาสนา เท่าที่มีอยู่ทั่วไปจะเป็นความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ และอาจเชื่อในเรื่องของไสยศาสตร์ ซึ่งจะมีเกร็ดความเชื่อต่างๆ ในจังหวัดตรัง ดังนี้ พระพุทธรู
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ศาสนา-พราหมณ์ในจังหวัดตรัง
พราหมณ์ในจังหวัดตรัง หลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับพราหมณ์ในจังหวัดตรังไม่ปรากฏชัด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเมืองตรังเป็นเพียงทางผ่านของอารยธรรมจากอินเดียเข้าสู่ศูนย์กลางความเจริญที่อยู่ลึกเข้าไป คือ ศรีวิชัย นครศรีธรรมราช และพัทลุง จึงไม่ปรากฏหลักฐานโบราณวัตถุหรือโบราณสถานใดๆ ที่เกี่ยวกับพราหมณ์ในจังหวัดตรัง จะมี
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ศาสนา-คริสต์ศาสนาในจังหวัดตรัง
คริสต์ศาสนาในจังหวัดตรัง คริสตชนในจังหวัดตรังเริ่มแรกจำกัดอยู่ในหมู่ตลาดของเขตตรังเมือง ต่อมาจึงแพร่หลายออกไปตามเขตอื่นบ้าง แต่ไม่มาก คือไม่ถึงร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด และยังแบ่งเป็น 2 นิกาย ได้แก่ โปรเตสแตนต์ กับโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์ เป็นนิกายที่ยึดพระคัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นหลัก และไม่ผูกพันกับอำนา
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ศาสนา-ศาสนอิสลามในจังหวัดตรัง
ศาสนาอิสลามในจังหวัดตรัง ราวๆ ต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศาสนาอิสลามเข้ามาในแหลมมลายูพร้อมกับการค้าของชาวอาหรับและแพร่หลายไปมั่วในกลุ่มคนพื้นเมืองมลายู ต่อเนื่องมาจนถึงทางภาคใต้ของไทยและเมืองตรัง ที่เมืองตรังจะแพร่หลายอยู่ในชุมชนชายฝั่งทะเลเป็นส่วนมาก ประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดตรังส่วนใหญ่จึงเป็นหมู่เลอยู
มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ศาสนา-พุทธศาสนาในจังหวัดตรัง
พุทธศาสนาในจังหวัดตรัง การเผยแผ่พุทธศาสนาเข้าสู้จังหวัดตรังมีมานานแล้ว หลักฐานที่ปรากฏ คือโบราณวัตถุประเภทพระพิมพ์ดินดิบในถ้ำต่างๆ แถบอำเภอห้วยยอด แสดงอิทธิพลของพุทธศาสนามหายาน เป็นหลักฐานร่วมสมัยกับอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งมีอายุประมาณตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 – 15 ต่อมามีตำนานพื้นบ้าน เช่น ตำนานนางเลือดขาว
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรศพเมืองตรัง-กลองยาว
กลองยาว ในสังคมเมืองตรัง กลองยาวเป็นดนตรีที่นิยมบรรเลงประกอบงานต่างๆ เช่น นำขบวนแห่ศพ แห่นาค ขบวนขันหมากแต่งงาน ขบวนลากพระ ฯลฯ กล่าวได้ว่ากลองยาวเป็นส่วนหนึ่งในขบวนแห่ มีผู้ร่วมขบวนร่ายรำอย่างสนุกสนาน สร้างบรรยากาศครื้นเครงให้ผู้คน เสริมสร้างความสัมพันธ์ ความสนุกสนานในโอกาศต่างๆ เป็นอย่างดี กลองยาวมีเครื่อ
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรศพเมืองตรัง-กาหลอ
กาหลอ กาหลอเป็นเครื่องประโคมเก่าแก่นิยมเล่นในงานศพมานาน เสี่ยงปี่กาหลอ ผสมผสานกับเสียงฆ้องและกลองประโคมนี้ เชื่อกันว่า เป็นการปลุกวิญญาณผู้ตายให้คลายโศก รวมทั้งได้ปลอบประโลมญาติมิตรที่อยู่ข้างหลังด้วย มีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาในหมู่ผู้เล่นกาหลอหลายกระแส เช่น กระแสหนึ่งกล่าวว่า เป็นเครื่องประโคมในการแห่พระเ
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรศพเมืองตรัง-รองเง็ง
รองเง็ง รองเง็ง หร้อแหง็ง หล้อแหง็ง หรือเพลงตันหยง เป็นศิลปะการเต้นรำพื้นเมืองของไทยมุสลิมที่นิยมเล่นกันในท้องถิ่นภาคใต้ เล่นกันว่า ในชายฝั่งตะวันตกเริ่มมีเป็นครั้งแรกที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ในจังหวัดตรังก็มีคณะรองเง็งตามหมู่บ้านมุสลิมตามชายฝั่งและเกาะ สถานที่เล่น ใช้ลานดินกว้างๆ หรือหาดทราย ก่อนสมัยที่
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรศพเมืองตรัง-ลิเกป่า
ลิเกป่า ลิเกป่า ลิเกบก ลิเกรำมะนา หรือแขกแดงก็เรียก เป็นศิลปะการแสดงที่เล่นทั่วไปในจังหวัดชายทะเลฝั่งตะวันตก เชื่อกันว่าเริ่มเกิดขึ้นที่ปากแม่น้ำตรัง ในอำเภอกันตังปัจจุบัน เพราะไม่ว่าจะเล่นในจังหวัดใดในบทร้องตามท้องเรื่องแต่เดิมนั้นใช้ฉากที่อำเภอกันตังเป็นหลัก ที่มาของเรื่องกล่าวกันว่าลอกเลียนมาจากชีวิตจริ
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรศพเมืองตรัง-มโนราห์
มโนราห์ มโนราห์หรือโนรา เป็นศิลปะการแสดงที่โดดเด่นของเมืองตรังคู่กับหนังตะลุง สามารถใช้เป็นเครื่องวัดมาตรฐานคุณภาพของชายหนุ่มเมืองตรังในสมัยก่อน จนกล่าวกันว่า เป็นธรรมเนียมผู้ชายไปขอลูกสาว ฝ่ายเจ้าสาวจะต้องถามก่อน 2 ข้อ คือ รำโนราเป็นหรือไม่ กับ ลักควายเป็นหรือไม่ ถ้าไม่เป็นก็หมดโอกาสจะได้ลูกสาว เพราะบิดามาร
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และมหรศพเมืองตรัง-หนังตะลุง
หนังตะลุง หนังตะลุงเป็นศิลปะการละเล่นของเมืองตรังที่โดดเด่นของเมืองตรังงานรื่นเริงทุกชนิดของเมืองตรังรวมทั้งงานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ บวชนาค งานศพและงานแก้บนต่างๆ มักจะไม่ขาดหนังตะลุง หนังตะลุงคณะหนึ่งประกอบด้วยบุคคล 8 – 9 คน มีนายหนังเป็นคนพากย์ทำหน้าที่ในการร้องกลอนบรรยาย เจรจา และเชิดรูปเบ็ดเสร็จ ไป
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นและกีฬาของผู้ใหญ่-ชนไก่
ชนไก่ การชนไก่เป็นกีฬาพื้นเมืองอีกประเภทหนึ่ง ที่มีการสืบทอดตำราลักษณะ ศาสตร์แห่งการเลี้ยง การคัดพันธุ์ และการฝึกฝนเชิงชนเช่นเดียวกับแม่ไม้มวยไทยบนสังเวียนการต่อสู้ ลักษณะของไก่ชน นักเลงชนไก่จะดูลักษณะตามสายพันธ์ โดยทั่วไปจะแบ่งไก่เป็นพันธุ์ไก่แกง กับพันธุ์ไก่ชนโดยดูลักษณะจากสีขน เกล็ด และ ส่วนประกอบอื่นๆ
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นและกีฬาของผู้ใหญ่-ชนวัว
ชนวัว การชนวัวเป็นกีฬาพื้นเมืองที่นิยมเล่นกันทั่วไปในภาคใต้ นักเลงวัวชนพากันสรรหาและเลี้ยงวัวตัวผู้หนุ่มถึกไว้ประลองกำลังกันในชั้นเชิงฝึกปรือดูลีลาเพลงชนของวัวเพื่อนำไปเปรียบคู่ชนกันในงานเทศกาลต่างๆ จนมีการจัดให้มีสนามชนวัวเกิดขึ้นเป็น บ่อนชนวัว ควบคู่กับการคัดเลือกสรรหาวัวชนเข้าสู่บ่อนชนแบบถาวร วัวชนที่นำ
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นและกีฬาของผู้ใหญ่-สะบ้า
สะบ้า การเล่นสะบ้า หรือ ยิงลูกบ้า เป็นที่นิยมของคนเมืองตรังมานาน โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ ในเมืองตรังยังมีเล่นกันอยู่บ้างตามหมู่บ้านบางแห่ง สะบ้าเป็นไม้เถา ลูกเป็นฝักยาวๆ ห้อยลงมา แต่ละฝักจะมีลูก 3 – 8 เม็ด ลูกสะบ้ามีลักษณะกลมแบน ตรงกลางนูนเล็กน้อย ใช้กลิ้งหมุนไปบนพื้นเรียบๆ ได้ดี เหมาะที่จะนำมาใช้เล
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-โจรลักวัว
โจรลักวัว การเล่นเริ่มด้วยการตกลงแบ่งกลุ่มผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ ฝ่ายโจร กับ ฝ่ายนาย (ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่) กี่คนก็ได้ ส่วนคนหนึ่งเป็นเจ้าของบ้าน หรือเจ้าของวัว และมีคนเล่นเป็นวัวอีกคนหนึ่งหรือ 2 – 3 คน ในการเล่นใช้การสมมุติสถานการณ์ขึ้นว่า เจ้าของบ้านนอนหลับอยู่ มีวัวผูกไว้ใต้ถุนบ้าน พอดึกได
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-เล่นเตย
เล่นเตย การเล่นเตยเป็นการออกกำลังกายกลางแจ้งของเด็กๆ ที่ให้ความสนุกสนานสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มและฝึกปฎิบัติตามกติกาที่ตกลงร่วมกัน สถานที่เล่นจะเป็นตามลานที่กว้างพอสมควร การเล่นเตย มี ๒ ชนิด คือ เตยหลัก และเตยวง การเล่นเตยหลัก จะขีดเส้นเป็นขอบเขตรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวพอประมาณแบ่งแดนออกเป็น ๒ ส่วนๆ ล
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-ซ่อนหา หรือปิดตาลักซ่อน
ซ่อนหา หรือปิดตาลักว่อน หรือเคาะกระป๋องการเล่นซ่อนหาของเด็ก เรียกว่า ปิดตาลักซ่อน สถานที่เล่นส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่กว้างสามารถหลบซ่อนได้ มีการกำหนดเขตบริเวณที่จะหลบซ่อนในระยะใกล้ๆ โดยมีผู้เล่นเป็นฝ่ายผู้หาคนหนึ่งหรือ ๒ คน เด็กที่เหลือเป็นฝ่ายซ่อน ถ้ามีกระป๋องเป็นอุปกรณ์ก็เรียก เคาะป๋อง กระป๋องที่ใช้มักเป็นกระ
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-ซัดราว ฟัดราวหรืออีฟัด
ซัดราว ฟัดราว หรืออีฟัด การเล่นชัดราวเป็นการเล่นเพื่อความสนุกสนาน ผู้เล่นเป็นชายหรือหญิงก็ได้ไม่จำกัดจำนวน มักจะเล่นกันในบริเวณที่โล่งกลางแจ้งตอนแดดร่มอันเป็นการเสริมสร้างสุขภาพให้เด็กได้ออกกำลังกาย และเป็นการรวมกลุ่มของเด็กในช่วงเวลาการทำงานของผู้ใหญ่ อุปกรณ์การเล่น กระป๋องหรือกะลามะพร้าวที่มีขนาดไล่เลี่ย
มรดกวัฒนธรรม-การละเล่นพื้นบ้าน นาฏศิลป์และดนตรี-การละเล่นของเด็ก-ขบลูกยาง
ขบลูกยาง เมืองตรังเป็นถิ่นช่วงหน้าแล้งใบไม้ร่วง ลูกยางพาราจะแตกออกจากผลหล่นกระจายอยู่ในสวน เด็กๆ ก็จะไปเก็บเอามาเล่นเรียกว่า ขบลูกยาง วิธีเล่น คือนำเอาลูกยาง ๒ ลูกมาวางกลางฝ่ามือช้างละลูก หันส่วนหลังโค้งเข้าหากัน (ลูกยางพารามีด้านจะมีเส้นผ่ากลาง ส่วนด้านหลังจะนูนโค้ง) หลังจากนั้นก็ประกบมือทั้ง ๒ ข้าง สอดนิ้
มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-นักเขียน กวีเมืองตรัง:วรรณกรรม
กวีที่ปรากฏชื่อเสียงคนแรกของเมืองตรังคือพระยาตรัง หรือพระภักดีบริรักษณ์ อดีตเจ้าเมืองตรัง กวีเอกผู้หนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีงานวรรณกรรมสำคัญได้แก่ โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย โคลงนิราศถลาง หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่านิราศพระยาตรัง โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเพลงยาวนิร
มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-บทลิเกป่า
บทลิเกป่า ลิเกป่า เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่นิยมแพร่หลายในหมู่คนไทยฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดตรัง กระบี่ และพังงา การละเล่นเช่นนี้มีมานานเท่าใดไม่ปรากฏ ส่วนใหญ่เชื่อว่าเริ่มมีขึ้นในจังหวัดตรัง นอกจากนี้บทลิเกป่าของคณะลิเกป่าในจังหวัดตรัง ที่ชวาลา จินดาผ่อง ได้ศึกษายังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมของ
มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-เพลงรองเง็งตันหยง
การละเล่นชนิดนี้มีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์คือผู้เล่นต้องร้องกลอนโต้ตอบเพื่อเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหญิงชายส่วนใหญ่เป็นกลอนที่ผูกขึ้นสดๆ โดยมีฉันทลักษณ์ที่ค่อนข้างแน่นอน ตัวอย่างบทชาย บุหงาตันหยง หยงไหรละน้องยังดอกสาวเหล้า แต่งงานกับบังตะน้องสาว ลูกออกมาขาวแล้วน่าชม ถ้าได้ลูกหญิง อิจับแขวนปิ้งให้เรียนดัดผม
มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-คำคล้องจอง คำร้องเล่น
คนไทยนิยมใช้ภาษาที่มีคำคล้องจองกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ จะเห็นว่าเรามีสำนวนคล้องจองใช้กันมากมาย เช่น ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว รักยาวบั่น รักสั้นให้ต่อ เป็นต้น ในจังหวัดตรังมีถ้อยคำคล้องจอง คำร้องเล่นมากมาย ซึ่งเป็นข้อมูลมุขปาฐะเสียเป็นส่วนใหญ่ และวัยที่ใช้กันมากคือวัยเด็ก เพราะเด็กๆ จะรวมกลุ่มทำกิจกรรมและละเล่นต
มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-สำนวนตรัง
กลับนาท่ามตามเดิม : หมดเนื้อหมดตัว นาท่าม เป็นชื่อตำบล ในอำเภอเมืองตรัง คือตำบลนาท่ามเหนือ และตำบลนาท่ามใต้ กลับนาท่ามตามเดิม หมายความว่า ค่อนข้างจะหมดเนื้อหมดตัวในการลงทุนทำการค้าหรือแม้กระทั่งการประกอบอาชีพต่างๆ ที่ล้มเหลว แต่ที่ชอบพูดกันมากเห็นจะได้แก่ ในวงการพนัน กล่าวคือ กำลังเล่นอยู่ดีๆ ก็มาดวงตกแพ
มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-นิทาน ตำนาน:ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองตรัง
ความหมายของคำว่า ตรัง มีผู้พยายามหาข้อสันนิษฐานจากเหตุผลต่างๆ ประกอบเพื่ออธิบายความหมายและที่มาของคำว่า ตรัง ไว้หลายแนวความคิด แต่ในที่นี้ยกมาเฉพาะที่เป็นความหมายของำว่า ตรัง ที่ตรวจสอบจากเอกสารแล้วว่ามีแหล่งที่มาชัดเจนสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นหลักในการสันนิษฐานต่อไปได้ ดังนี้ ตรัง มาจากคำส
มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-ภาษา
ภาษา ในการศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์ ภาษาถิ่นตรังจัดอยู่ในกลุ่มภาษาภาคใต้ตอนกลางและเขตพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันออก ร่วมกับภาษากระบี่ พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลาบางอำเภอ (ระโนด สทิงพระ กระแสสินธุ์) ภาษาถิ่นตรังมีลักษณะสำคัญเช่นเดียวกับภาษาถิ่นใต้โดยทั่วไป กล่าวคือ มีสำเนียงพูดห้าวและห้วน ขาดหางเสียง มักตัดคำหลายพยาง
มรดกวัฒนธรรม-ศิลปหัตถกรรมและงานช่างท้องถิ่น-กันหม้อ ติหมา งานจักสานก้านจาก
กันหม้อ ติหมา งานจักสานก้านจาก ย่านซื่อ ตำบลแม่น้ำตรัง มีพื้นที่ราบเกิดจากดินตหนึ่งของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นชุมชนริมฝั่งแม่น้ำตรัง มีพื้นที่ราบเกิดจากดินตะกอนที่แม่น้ำตรังพัดพามาทับถมเพราะอยู่ใกล้ปากน้ำ ประกอบกับอิทธิพลของน้ำทะเลแทรกตัวตามลำคลองเข้ามาถึงชุมชนย่านซื่อ น้ำในบริเวณนี้จึงเป็นน้ำกร่อย ทำให้
มรดกวัฒนธรรม-ศิลปหัตถกรรมและงานช่างท้องถิ่น-จักสานเตยปาหนัน
จักสานเตยปาหนัน เมื่อครั้งอดีต ชุมชนมุสลิมตลอดชายฝั่งทะเลอันดามันแทบทุกครัวเรือน มีการนำเตยปาหนันหรือเตยทะเลซึ่งเป็นพืชใบยาวสีเขียว ริมขอบใบมีหนามขึ้นแซมปะปนกับไม้ชายทะเลอื่นๆ มาสาน กระเชอ จง (กระบุงเล็ก) เสื่อ หมุก (สมุก) ใส่ยาเส้น ฯลฯ นับเป็นภูมิปัญญาของบรรพชน ที่นำทรัพยากรในท้องถิ่นมาทำภาชนะเครื่องใช้ไม
มรดกวัฒนธรรม-ศิลปหัตถกรรมและงานช่างท้องถิ่น-ช่างแต่งลายกระหนกโลงศพเมืองตรัง
ช่างแต่งลายกระหนกโลงศพเมืองตรัง ในอดีตหากบ้านมีผู้เสียชีวิตลง การจัดการพิธีงานศพนับเป็นเรื่องใหญ่ ต้องจัดให้สมกียรติแก่ผู้ล่วงลับ และเพื่อศักดิ์ศรีของเจ้าภาพรวมทั้งคณะญาติพี่น้อง การตกแต่งโลงศพให้สวยสดงดงามและวิจิตรตระการตา เป็นสิ่งหนึ่งที่จะต้องให้ความสำคัญลำดับต้นๆ การตกแต่งโลงศพสมัยก่อนต้องติดต่อช่างไว
มรดกวัฒนธรรม-ศิลปหัตถกรรมและงานช่างท้องถิ่น-ผ้าทอนาหมื่นศรี
ผ้าทอนาหมื่นศรี นาหมื่นศรี แถบถิ่นชุมชนเกษตรกรรม สมัยโบราณมีการทอผ้าใช้เองด้วยกี่พื้นบ้านที่เรียกว่าหูกแทบทุกครัวเรือน ในยุคแรกเริ่ม ผ้าทอนาหมื่นศรีใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาทอเป็นผืนผ้า เช่น ฝ้าย ที่ปั่นกันเอง แต่ส่วนใหญ่ใช้ด้ายดิบที่ซื้อมาจากตลาด เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง การทอผ้าต้องหยุดชะงักลงเพร
มรดกวัฒนธรรม-ศิลปหัตถกรรมและงานช่างท้องถิ่น-พร้านาป้อ
พร้านาป้อ บ้านนาป้อ ชุมชนเกษตรกรรมรอบนอกของตัวเมืองตรังหมู่บ้านคนไทยมุสลิม ผู้คนส่วนใหญ่ยังทำนา ทำสวน และรับจ้างทั่วไป พร้านาป้อ เป็นผลิตและมรดกทางวัฒนธรรมของผมู่บ้าน ที่สั่งสมภูมิปัญญาและประสบการณ์มาตั้งครั้งบรรพชนสืบทอดมาจนถึงลูกหลานรุ่นปัจจุบัน ช่างตีพร้าแห่งบ้านนาป้อแทบทุกคนกล่าวว่า ตั้งแต่เกิดจำความได
มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง
พระพุทธสิหิงค์เมืองตรัง พระพุทธสิหิงค์ในเมืองไทยถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง มีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช แต่ละองค์จะมีตำนานแตกต่างกันไปบ้าง แต่ที่ตรงกันคือกล่าวถึงที่มาดั้งเดิมว่ามาจากลังกา ต่อมาก็มีพระพุทธสิหิงค์สกุลช่างนครศรีธรรมราช สังเกตได้ว่าเมืองที่มีพระพุทธสิหิ
มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-รูปปั้นอนุสาวรีย์
อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) อนุสาวรีย์พระยารัษฎาฯ อยู่บนเนินเตี้ยๆ ในบริเวณเขตเทศบาลเมืองตรัง ตรงต้นทางแยกออกสู่ถนนตรัง – พัทลุง พระยารัษฎาฯ ได้จัดสร้างตำหนักรับเสด็จฯ ได้รับพระราชทาน นามจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เมื่อ พ.ศ. 2452 ว่า ตำหนักผ่อนกาย คน
มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-สถาปัตยกรรมดีเด่น
อุโบสถวัดเขากอบ วัดเขากอบตั้งอยู่ที่ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด อุโบสถวัดเขากอบสร้างเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2503 โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคา 2 ชั้น หันหน้าทางทิศตะวันออก มีระเบียงโดยรอบ แต่มีลักษณะพิเศษ คือ มีมุข 3 ด้าน ได้แก่ ด้านหน้า ด้านหลัง และมุขข้างเพียงด้านเดียวคือด้านทิศใต้ ซุ้มประตูและหน้าต่า
มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-แหล่งประวัติศาสตร์
แหล่งประวัติศาสตร์เกาะลิบง ตามประวัติเมืองตรัง โต๊ะฮ้าหวาหรือโต๊ะปังกะหวา ผู้นำชุมชนในเกาะลิบง ได้เป็นพระยาลิบงตำแหน่งเจ้าเมือง ต่อมาเมื่อสิ้นพระยาลิบงแล้ว หลวงฤทธิสงครามได้เป็นเจ้าเมือง สมัยที่หลวงฤทธิสงครามเป็นเจ้าเมือง ตรงกับการเกิดศึกถลาง ในพ.ศ. 2352 ฝ่ายไทยระดมกำลังจากหัวเมืองต่างๆ มารับศึกพม่า โดยให้
มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-แหล่งโบราณคดี
แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาสามบาตร ถ้ำเขาสามบาตร บางแห่งเขียน สามบาทเป็นถ้ำบนภูเขาหินปูนเล็กๆ ใกล้แม่น้ำตรังและวัดไพรสณฑ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลนาตาล่วงอำเภอเมืองตรัง ชาวบ้านเล่าว่า มีผู้นำทรัพย์สมบัติมาซุกซ่อนไว้มากถึง 3 บาตรพระ และยังผูกปริศนาลายแทงไว้ว่า ขึ้นต้นขาม (มะขาม) ข้ามต้นทึง (กะทิง) ถึงต้นข่อยคอย (มอง) ลงมา ไม้
มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-โบราณวัตถุ
พระงาม เป็นพระพุทธรูปประจำวัดพระงาม ประดิษฐานอยู่ในศาลาการเปรียญของวัด วัดตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง ตามประวัติกล่าวว่า วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2224 มีตำนานว่านางเลือดขาวเป็นผู้มาสร้างวัดพระงามและสร้างพระพุทธรูปไว้ในคราวเดียวกับที่สร้างวัดพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์ พระงามเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมา
มรดกธรรมชาติ - แหล่งแร่
ตามโครงสร้างทางธรณีวิทยา การดันตัวของทิวเขานครศรีธรรมราชเมื่อประมาณ 120 ปีที่แล้ว ได้ดันเอาแร่สำคัญขึ้นมาด้วย แร่ที่พบมากที่สุดในเมืองตรังได้แก่ดีบุก ส่วนแร่อื่นๆ ก็มีบ้าง เช่น ถ่านหิน แบไรต์ โคลัมไบต์ ดีบุก สมัยรัชกาลที่ 5 เหมืองแร่ดีบุกในเมืองตรังสามารถส่งแร่เป็นสินค้าออกได้ถึงปีละ 1,300-1,400 หาบ ในบริเว
มรดกธรรมชาติ - สัตว์
ในพื้นที่จังหวัดตรังมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2 เขต และเขาห้ามล่าสัตว์ป่า 3 เขต ครอบคลุมพื้นที่ทั้งเป็นป่าดงดิบชื้น รวมลงมาถึงป่าผสมภูเขาหินตามเขาหินปูนโดด จนถึงเขตทะเลและชายฝั่ง เป็นที่อยู่ของสัตว์มากมายหลายชนิด รวมทั้งบรรดาสัตว์สงวนที่ปัจจุบันยังมีเหลืออยู่และที่เกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ยังมีผู้เคยได้เห็นใน
มรดกธรรมชาติ - พืชพรรณไม้
จากป่าต้นน้ำถึงน้ำตกและแนวธารตลอดไปจนถึงป่าชายเลน คือแหล่งพืชพรรณธรรมชาตินับร้อยนับพัน และไม้มีค่าหายากหลายชนิด ในบริเวณตอนเหนือของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ท้องที่ตำบลช่อง อำเภอนาโยง คือที่ตั้งของป่าดงดิบชื้นเขาช่อง เป็นป่าที่มีความสมบูรณ์อยู่มาก มีพรรณไม้ขนาดใหญ่หลายชนิด เช่น หลุมพอ ยาง ตะเคียนทอง ต
มรดกธรรมชาติ - เกาะ
น่านน้ำเมืองตรัง มีเกาะใหญ่น้อยจำนวนทั้งหมด 46 เกาะ แต่ละเกาะมีลักษณะธรรมชาติแตกต่างกัน บางเกาะเป็นที่อยู่อาศัย บางเกาะเป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวหรือแห่งทรัพยากรสำคัญ เกาะลิบง เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง ปัจจุบันเกาะลิบงมีชุมชนหลัก 3 หมู่บ้าน คือ บ้านบาตูปูเต๊ะหรือหน้าบ้าน มีสะพานท่าเรือโดยสารติดต่อกับกั
มรดกธรรมชาติ - หาดทราย
จังหวัดตรังมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 119 กิโลเมตร และมีหาดทรายสวยงามหลายแห่ง จนในคำขวัญ่งเสริมการท่องเที่ยววรรคหนึ่งของเมืองตรังกล่าวว่า เสน่ห์หาดทรายงาม หาดปากเมง หาดทรายชายทะเลของเมืองตรังที่มีชื่อเสียงรู้จักมายาวนานที่สุดคือหาดปากเมง เป็นหาดรูปโค้งจันทร์เสี้ยว มีเขาเมงนอนทอดตัวเป็นแนวยาวเหมือนปราการกำบังคลื่
มรดกธรรมชาติ - ถ้ำ
ในเขตพื้นที่ลอนลูกฟูก มีผลงานสร้างสรรค์ของธรรมชาติทำให้เกิดเขาหินปูนกระจายอยู่ในเขตเขาจนลงมาถึงกลางทุ่งของเมืองตรัง เบางลูกถูกน้ำกัดเซาะอย่างต่อเนื่องกลายเป็นโพรงประดับประดาด้วยหินงอกหินย้อยงดงาม บางแห่งมีสายน้ำคดเคี้ยวไปตามโพรง บางแห่งเป็นแหล่งโบราณคดี บางแห่งได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวจนเป็นที่รู้จักก
มรดกธรรมชาติ - แหล่งน้ำ
การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของเปลือกโลกและการกระทำงน้ำใต้ดิน ก่อให้เกิดพื้นที่ซึ่งเรียกว่า หลุมยุบและหลุมจม และกลายป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ บางส่วนเคยเป็นที่น้ำทะเลท่วมถึง บางแห่งมีแร่ธาตุในดินทำให้เกิดน้ำร้อน น้ำพราย สภาพธรรมชาติเช่นนี้ปรากฎให้เห็นทั่วไปในเมืองตรัง ทั้งในรูปของห้วย หนอง คลอง วัง สระ บ่อ ดังนี้ ทะ
มรดกธรรมชาติ - น้ำตก
มรดกอันยิ่งใหญ่จากผืนป่าต้นน้ำ คือสายธารที่ไหลมาหล่อเลี้ยงชีวิตชาวตรังก่อนจะไหลลงสู่ที่ราบลุ่ม สายน้ำเหล่านี้ต่างเดินทางผ่านโขดเขา ผาสูง และแนวป่า กลายเป็นน้ำตกที่ยังนับจำนวนได้ไม่หมด มีทั้ง โตน น้ำตกที่กระโจนจากหน้าผาสูง และหนาน น้ำตกที่ไหลเลาะผ่านชั้นหินเตี้ยๆ น้ำตกช่อง น้ำตกที่ลือชื่อในอดีตของเมืองตรังค
มรดกธรรมชาติ - พื้นที่ป่า
พื้นที่ป่าในจังหวัดตรังสามารถแบ่งออกได้เป็น ป่าต้นน้ำ และ ป่าชายเลน ป่าต้นน้ำ ในพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดตรัง ตามหลักฐานเดิมกล่าวว่ามีพื้นที่ป่าไม้ถึง 1,890,021 ไร่ แต่พอถึงปี พ.ศ. 2538 สภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์จริงๆ ยังคงเหลือเพียง 596,719 ไร่ หรือ 19.42 % ของเนื้อที่ทั้งจังหวัดเท่านั้น ส่วนในเนื้อที่ป่าไม้ธรร
1
IamTrang.com
: :: ชอบ-ชม-ชิม โดย วีร์วิศ
: :: เรื่องเล่าของอิงตะวัน โดย อิงตะวัน
: :: แต่งบ้าน-งานดีไซน์ โดย มะลิริน
: :: จิตเป็นนาย โดย นะโม

 

iamtrang.com
iamtrang.com ออกแบบจัดทำและผลิตเนื้อหา+ภาพ โดย บริษัท ดีพี สตูดิโอ จำกัด เลขที่ 32 สุขุมวิท 85 บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ 10260
โทร. 02-3311610 โทรสาร 02-3311618 Email: dp@dp-studio.com
Copyright 2009 IamTrang.com All rights reserved สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย