IamTrang.com
 
IamTrang.com
KNOWLEDGE
PEOPLE
PLACE
PRODUCT & SERVICE
RESOURCE
ACTIVITY
LIFESTYLE
NEWS & EVENT
มรดกทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
เลาะลำน้ำตรัง เลียบฝั่งอันดามัน
แม้จะไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวยอดฮิตของภาคใต้ จนติดอันดับในใจนักท่องเที่ยวทั่วโลกอย่างภูเก็ตหรือกระบี่ แต่ความหลากหลายของภูมิทัศน์ และวิถีวัฒนธรรมที่มีสีสันยิ่ง ของอดีตเมืองท่าสำคัญของฝั่งทะเลอันดามันอย่างเมืองตรัง ก็ทำให้ผู้ที่เคยมาเยือนหลายคนติดอกติดใจ จนต้องกลับมาเยี่ยมชมและชิมของอร่อยมากมายในเมืองนี้อย่างสม่ำ
สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ทุ่งค่าย
ระยะทางไม่ไกลจากตัวเมืองตรัง ด้วยระยะเวลาไม่เกิน 20 นาที ห่างจากห้างโมเดิร์นเทรดยักษ์ใหญ่เพียงอึดใจเดียว ไม่น่าเชื่อว่า จะเป็นที่ตั้งของสวนป่าธรรมชาติ ขนาด 2000 ไร่อุดมสมบูรณ์เป็นปอดของเมือง ศูนย์รวมพรรณไม้ท้องถิ่นภาคใต้ ที่มีจุดเด่นที่สนใจ คือทางเดินบันไดยอดไม้ สามารถชมป่าได้จากมุมสูง คนตรังช่างโชคดีที่มี
เกาะเหลาเหลียง
เป็นเกาะในเขตอำเภอปะเหลียน และอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราซึ่งครอบคลุมพื้นที่ไปถึงจังหวัดสตูลด้วย ไม่ไกลจากเกาะเภตรามีเกาะอีกคู่หนึ่งคือ เกาะเหลาเหลียงเหนือและเหลาเหลียงใต้ บริเวณนี้เป็นทั้งแหล่งดำน้ำชมปะการังและที่ลอยเรือนของนักตกปลา เหนือไปกว่านั้นเกาะเหล่านี้ล้วนมีหน้าผาสูงชั้น ในแต่ละซอกมุมของผาสู
เกาะสุกร
ในเขออำเภอปะเหลียนยังมีเกาะใหญ่อีกเกาะหนึ่งคือ เกาะสุกร แต่ชาวบ้านเรียกว่าเกาะหมู ชื่อเสียงของเกาะหมูที่มีมาแต่ดั้งเดิมคือ เป็นแหล่งปลูกแตงโมได้รสดี อร่อยที่สุดในเมืองตรัง หาดทรายชายทะเลหายแห่งของเกาะหมูก็สวยงามน่าสัมผัสไม่แพ้เกาะอื่นๆ
เกาะเชือก เกาะแหวน
ไม่ไกลจากเกาะกระดาน ยังมีแหล่งปะการังน้ำลึกที่เกาะเชือกและเกาะแหวน โดยเฉพาะที่เกาะเชือกน้นเป็นบริเวณที่กระแสน้ำเชี่ยวแรงมาก แต่ก็ไม่พ้นความพยายามของนักดำน้ำท่จะลงไปชื่นชมกับโลกใต้ทะเล ห่างจากเกาะเชือกไม่มากคือเกาะไหและเกาะม้า ซึ่งมีแหล่งปะการังอ่อนที่สวยงามสมบูรณ์ที่สุดในทะเลแถบนี้ เกาะไหและเกาะม้าอยู่ในเขตกา
เกาะกระดาน
อยู่ในเขตตำบลเกาะลิบง มองจากฝั่งหาดยาวดูเหมือนภูเขาห้าลูกเป็นพือติดต่อกัน ด้านหน้าเกาะเป็นหาดทรายขาวสะอาด ที่ปลายหาดด้านหนึ่งมีแนวปะการังทอดยาวมาถึงชายฝั่งที่มีน้ำตื้นๆ เพียงแค่เดินเลาะริมหาด มองผ่านม่านน้ำลงไปก็จะเห็นปลาสีสวยๆ แหวกว่ายไปมาในดงปะการัง พอน้ำลงต่ำ ปะการังเหล่านี้จะโผล่ขึ้นมาอวดรูปร่างอันแข็งแกร
เกาะมุก
อยู่ในเขตปกครองของตำบลเกาะลิบง ชุมชนหมู่บ้านของเกาะมุกอยู่ทางด้านตะวันออกระหว่างหาดหัวแหลมกับอ่าวพังกา ชายฝั่งเกาะมุกรายรอบด้วยหญ้าทะเลและแนวปะการัง บริเวณแหลมหินด้านเหนือของเกาะเป็นแหล่งปะการังอ่อนที่หนาแน่นและสวยงาม ด้านตะวันตกของเกาะมุกส่วนหนึ่งคือพืดผาหินเป็นแนวยาว ใต้พืดผาหินแห่งนี้เป็นที่ตั้งของถ้
เกาะลิบง
เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง ปัจจุบันเกาะลิบงมีชุมชนหลัก 3 หมู่บ้าน คือ บ้านบาตูปูเต๊ะหรือหน้าบ้าน มีสะพานท่าเรือโดยสารติดต่อกับกันตังได้ บ้านหลังเป็นแหล่งหาดทราย ปะการังน้ำตื้น และหอยร้อยรูหรือหอยเปาฮื้อ บ้านพร้าวเป็นท่าเรืออีกแห่งหนึ่ง และเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ จากปากคลองบ้านพร้าวไปตามชายหาดทางตะวันตกเป
หาดหยงหลิง หาดสั้น และหาดยาว
หาดทรายงามอีกจุดหนึ่ง คือหาดทรายชายฝั่งในหมู่บ้านเจ้าไหม ตำบลเกาะลิบง ส่วนที่อยู่ในแผ่นดินใหญ่ ปัจจุบันมีเส้นทางไปถึงได้หลายทางล้วนต้องผ่านสามแยกน้ำราบเข้าไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร สัญลักษณ์ที่บอกว่าถึงเจ้าไหมแล้วคือเขาเจ้าไหม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นโขดเขารูปกระโดงฉลามที่ดูโดดเด่นทาบทับกับฟ้าคราม ก่อนไปถึงเจ้าไหม
หาดฉางหลาง
หาดฉางหลางอยู่ในเขตอำเภอสิเกา ห่างจากตัวเมืองตรัง 47 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม อุทยานแห่งนี้ครอบคลุมเนื้อที่ป่าบก หาดทรายชายทะเลและเกาะต่างๆ ในเขตอำเภอกันตังและสิเกา ตามแนวหาดยาวประมาณ 2 กิโลเมตร อุดมด้วยดงลำเจียกหรือปาหนันที่ส่งกลิ่นหอมกรุ่นในยามเย็น และที่ปลายโค้งของชายหาด เป็
หาดหัวหิน
จากตัวอำเภอปากเมง ออกไปตามเส้นทางพรุจูด-โต๊ะบัน-หัวหิน ประมาณ 8 กิโลเมตร ผ่านบ้านหัวหิน หมู่บ้านบนเชิงเขาชายทะเล สุดปลายเนินจะมเส้นทางลาดต่ำลงไปหาแนวหาด มีหมู่หินเหนือลานทรายจนได้ชื่อหาดหัวหิน หาดนี้จะเกิดแผ่นดินงอก แผ่นดินหาย สลับกันทุกช่วง 6-7 ปี บริเวณนี้ยังเป็นที่ปลูกป่าชุมชนแห่งหนึ่งของเมืองตรังที่ชาวบ้า
หาดปากเมง
หาดทรายชายทะเลของเมืองตรังที่มีชื่อเสียงรู้จักมายาวนานที่สุดคือหาดปากเมง เป็นหาดรูปโค้งจันทร์เสี้ยว มีเขาเมงนอนทอดตัวเป็นแนวยาวเหมือนปราการกำบังคลื่นลม ตั้งอยู่ในตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา ห่างจากตัวเมืองตรัง 38 กิโลเมตร
ถ้ำทะเลเขากอบ
ถ้ำทะเลเขากอบ ห่างจากตัวอำเภอห้วยยอด 8 กิโลเมตร ตามถนนเพชรเกษมสายตรัง-กระบี่ และมีทางแยกไปอีกประมาณ 700 เมตร ในหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ ภูเขาหินปูนโดด มีลำคลองโอบล้อมและไหลทะลุลอดภายใน คือ ถ้ำทะเลเขากอบ ที่ชาวบ้านเรียกสั้นๆ ว่า ถ้ำเล ลำคลองรอบถ้ำเลเชื่อมต่อกับทางถ้ำซึ่งมีถึง 7 ช่องทาง บางช่องเรื
ถ้ำเขาพระวิเศษ
อยู่ในพื้นที่อำเภอวังวิเศษ ตำบลเขาวิเศษ เป็นที่ตั้งของเขาสำคัญลูกหนึ่ง ซึ่งมีตำนานเกี่ยวกับพระพุทธรูปและทรัพย์สมบัติตามลายแทงอันทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ จนชาวบ้านเรียกชื่อว่า เขาพระวิเศษ ต่อมาเสียงสั้นลงเป็นเขาวิเศษ ปัจจุบันเหลือเพียงค่ำว่า เขาเศษ เขาพระวิเศษเป็นเขาสูงเด่นในกลุ่มเขาและควนย่อมๆ ที่รายล้อม ไ
ถ้ำเขาช้างหาย
ภูเขาขนาดย่อมกลางทุ่งนากว้าง ที่มองเห็นอยู่ในหมู่ที่ 5 ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง ห่างจากลาดนาโยง 5 กิโลเมตร คือที่ตั้งของถ้ำนี้ ชื่อถ้ำเขาช้ายหายมาจากตำนานสมัยเมื่อบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช กล่าวถึงขบวนผู้คนที่เดินทางไปร่วมพิธี และลูกช้างในขบวนหายเข้าไปในถ้ำจนหาไม่พบ ภายในถ้ำประกอบไปด้วยถ้ำเล็กถ้
ห้วยน้ำพราย
ที่บ้านน้ำพราย ตำบลปากคม อำเภอห้วยยอด มีลำห้วยซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ จะมีพรายน้ำผุดพลุ่งขึ้นมาทุกครั้งที่มีเสียงดังรบกวน จึงได้ชื่อว่าห้วยน้ำพราย ผู้แวะเวียนเข้าไปมักจะทดลองปรบมือหรือตะโกนดังๆ เพื่อจะได้เห็นพรายน้ำ
บ่อน้ำร้อน
ที่รู้จักกันในเมืองตรังขณะนี้มี 2 แห่ง ได้แก่ ที่อำเภอกันตังและที่อำเภอปะเหลียน บ่อน้ำร้อนที่บ้านควนแคง หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง มีถนนทางเข้าแยกจากถนนท่าส้ม-หาดยาว ระยะทางประมาณ 1,300 เมตร ลักษณะเป็นแอ่งน้ำธรรมชาติกระจายอยู่ในป่าพรุ อุณหภูมิองน้ำสูงถึง 70 องศาเซลเซียส บางครั้งมีฟองพรายผุดพลุ่ง
สระกะพังสุรินทร์
หนองน้ำธรรมชาติในเขตเมือง เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ เป็นแหล่งปลาน้ำจืดและนกเป็ดน้ำเช่นเดียวกับแหล่งน้ำอื่นๆ ในเมืองตรัง เดิมชื่อว่า หนองตะเคียนคู่ตามชื่อไม้ที่เคยมี สมัยที่พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้ให้พัฒนาหนองน้ำนี้เป็นครั้งแรก ทางการจึงตั้งชื่อว่าสระกะพังสุรินทร์ และ
ทะเลสองห้อง
ในพื้นที่อำเภอห้วยยอด มีบทเพลงมุขปาฐะร้องกันมาแต่ดั้งเดิมว่า ถ้าหากพี่ไปถึงเลสองห้อง ให้กลับมาหาน้องเล่าหนา เลสองห้อง ในบทเพลง มุขปาฐะของชาวเมืองตรังบทนี้ คือทะเลสองห้อง บึงน้ำใหญ่คล้ายทะเลสาบคู่กลางวงล้อมของขุนเขาและผืนป่า คือ ป่าเขารางสาด ซึ่งอยู่ในหมู่ที่ 10 ตำบลบางดี ความงามของบึงนี้มีปรากฎในพระราชนิพนธ์ใ
น้ำตกร้อยชั้นพันวัง
อยู่ในตำบลคลองชี อำเภอวังวิเศษ ตรงบริเวณแนวตะเข็บของจังหวัดตรังกับจังหวัดกระบี่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอวังวิเศษประมาณ 29 กิโลเมตร เป็นน้ำตกหินปูนในบริเวณพื้นที่กว้าง ประกอบด้วยน้ำตกน้อยใหญ่นับร้อยนับพันตามชื่อ และยังเป็นที่อยู่ของนกแต้วแร้วทองดำ ซึ่งเป็นสัตว์สงวนมีค่าหากที่เกือบจะสูญพันธ์ไปแล้ว
น้ำตกโตนคลาน
เป็นน้ำตกเล็กๆ อยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลห้วยยอด มีต้นกำเนิดมาจากควนในเหยา และไหลลงสู่คลองห้วยยอดก่อนลงสู่แม่น้ำตรัง แต่สายน้ำในห้วยเริ่มอ่อนแรง เพราะควนที่เป็นยอดห้วยถูกแผ้วถางไปมากแล้ว
น้ำตกปากแจ่ม
ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3 ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด ต้นทางขึ้นไปสู่น้ำตกเริ่มจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์ป่า เขาปู่-เขาย่า ชาวบ้านเรียกชื่อน้ำตกแห่งนี้ว่า โตนอ้ายเล มีหลายชั้น สายนำแห่งนี้ไหลลงคลองลำภูราก่อนลงสู่แม่น้ำตรัง
น้ำตกเขาหลัก
อยู่ในเขตตำบลน้ำผุด เป็นทั้งที่เที่ยวเล่น และแหล่งน้ำดิบของประปาหมู่บ้าน มีต้นกำเนิดจากเขาหลักไหลลงเป็นสายห้วยไปสมทบกับคลองลำภูรา
น้ำตกอ่างทอง
ตั้งอยู่ที่ถนนสายตรัง-สิเกา ห่างจากตัวเมืองตรังประมาณ 21 กิโลเมตร ป็นน้ำตกริมทางที่มีต้นกำเนิดมาจากป่าสายควนหละ เขาหวาง น้ำตกจะมีสีค่อนข้างเหลือง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ อ่างทอง
น้ำตกเจ้าพะ
ตั้งอยู่ที่บ้านเจ้าพะ ตำบลแหลมสอม ตอนสูงสุดของน้ำตก ชาวบ้านเรียกอีกชื่อว่า น้ำตกคลองตง ตามชื่อคลองต้นน้ำ บางทีเรียกว่าน้ำพ่านเจ้าพะหรือหนานเจ้าพะ เพราะเป็นน้ำตกที่ลดหลั่นเป็นชั้นเชิงลงมาตามแนวหินปูน และมีวังน้ำใสกระจดกระจายไปทั่ว บริเวณใกล้น้ำตกนี้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเงาะป่า หรือชนเผ่าซาไก
น้ำตกโตนตก
ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 ตำบลปะเหลียน ลักษณะเด่นของน้ำตกชั้นแรกคือ หน้าผากว้างมีสายน้ำพร่างพรูผ่านแท่นหินมหึมาที่เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ เหนือขึ้นไปจะมีทางเดินสู่น้ำตกซึ่งมีอีกหลายๆ ชั้น ที่สวยมากคือชั้นที่ 3 สายน้ำจากโตนตกไหลลงรวมกับสายน้ำจากโตนเต๊ะเป็นคลองปะเหลียน
น้ำตกโดนเต๊ะ
น้ำตกโดนเต๊ะตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 ตำบลปะเหลียน ยังมีน้ำตกใหญ่ความสูงประมาณ 320 เมตร จนอาจเรียกได้ว่าเป็นราชาแห่งน้ำตก สามารถมองเห็นและได้ยินเสียงก่อนเข้าสู่ตัวน้ำตก สายน้ำโตนเต๊ะอาจมีน้ำอยลงบ้างในฤดูแล้ง แต่ไม่เคยเหือดแห้ง มรดกน้ำจากโตนเต๊ะคงจะเป็นเช่นนี้ต่อไปหากไม่มีการบุกรุกล่วงล้ำไปถึงป่าต้นน้ำ
น้ำตกน้ำพ่าน
ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลปะเหลียน ห่างจากตัวเมือง 42 กิโลเมตรในป่าโปร่งเนื้อที่เกือบ 20 ไร่ มีน้ำตกเล็กๆ นับไม่ถ้วนกระจากกันอยู่ทั่วบริเวณ แล้วไหลลงสู่คลองลำแคลง หากขึ้นไปทางต้นน้ำจะพบน้ำตกลักษณะเดียวกันกระจายอยู่ทั่วป่ากลางช่องเขา ในช่องเขาเหล่านี้ยังมีถ้ำหินงอกหินย้อยและพรรณไม้นานาชนิด ชาวบ้านเรียกน้ำตกนี้ว่
น้ำตกลำปลอก
ต่อไปจากทางแยกน้ำตกไพรสวรรค์ ไม่ต่ำกว่า 10 กิโลเมตร จะมีทางเข้าสู่น้ำตกลำปลอก เป็นน้ำตกบนเขาสูง อยู่ในตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน คุณค่าของน้ำตกลำปลอกมิใช่เพียงความงามตามธรรมชาติเท่านั้น บริเวณน้ำตกแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และยังมีฝายทดน้ำคลองลำ
น้ำตกไพรสวรรค์
อยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลโพรงจระเข้ ห่างจากน้ำตกสายรุ้งเพียง 3 กิโลเมตรบนถนนสายเดียวกัน ทางเดินของสายน้ำจากไพรสวรรค์คือคลองสอ ซึ่งลงสู่คลองปะเหลียน
น้ำตกสายรุ้ง
อยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว ห่างจากตัวเมือง 35 กิโลเมตรจากเส้นทางอำเภอนาโยง เป็นน้ำตกสูงที่มองเห็นประกายรุ้งในละอองน้ำยามสะท้อนแดดบ่าย และเป็นต้นน้ำที่ไหลลงสู่งคลองลำพิกุล
น้ำตกช่อง
น้ำตกที่ลือชื่อในอดีตของเมืองตรังคือ น้ำตกช่อง หรือ น้ำตกกระช่อง อยู่ในเขตตำบลช่อง อำเภอนาโยง ห่างจากตัวเมือง 21 กิโลเมตร เป็นสถานที่ซึ่งพระมหากษัตริย์หลายพระองค์เสด็จประพาสมาแล้ว ทั้งรัชกาลที่5 รัชกาลที่6 รัชกาลที่7 รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมรินีนาถ บนก้อนหินใ
ป่าชายเลน
จากป่าแปดยืนสุดท้ายซึ่งเป็นป่าบกในเขตตรังเขาให้กำเนิดธารน้ำนับร้อย ไหลผ่านที่ราบแห่งตรังนาออกสู่ทะเลอันดามัน ตรงช่วงรอยต่อผสมผสานระหว่างน้ำจืดน้ำเค็มไปจนถึงปากแม่น้ำ ยังมีมรดกชิ้นสำคัญเป็นผืนป่ากว้างใหญ่ที่เรียกกันว่า ป่าชายเลน ป่าชายเลนของเมืองตรังมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าป่าบก จากการตกตะกอนของดินเลน
ป่าเขาหวาง ป่าควนแคง และป่าน้ำราบ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ซึ่งอยู่ในเขต 2 อำเภอ คือ อำเภอสิเกาและอำเภอกันตัง เป็นต้นกำเนิดคลองยูง คลองไม้แดง คลองห้วยไทร คลองน้ำเค็มไหลลงทะเลอันดามัน ส่วนคลองน้ำราบ คลองสิเหร่ และคลองลุ ไหลลงแม่น้ำตรังในเขตอำเภอกันตัง
ป่าสายควนหละ และป่าเขาหวาง
อยู่ในเขตอำเภอสิเกา เป็นต้นธารของคลองอ่างทอง น้ำตกอ่างทอง คลองผมเด็นจากตำบลไม้ฝาด ไหลผ่านตำบลนาเมืองเพชรรวมกันเป็นคลองสว่าง และลงสู่แม่น้ำตรังในเขตตำบลนาโต๊ะหมิง อำเภอเมือง อีกสายหนึ่งคือคลองหละ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับทำน้ำประปาใช้ในอำเภอสิเกา ไหลลงทะเลระหว่างหาดปากเมงกับหาดฉางหลาง
ป่าสายคลองร่มเมือง ป่าสายควน และป่าเกาะอ้ายกลิ้ง
อยู่ในอำเภอสิเกา ให้กำเนิดคลองสำคัญของอำเภอคือคลองสิเกา ไหลลงสู่ทะเลอันดามัน
ป่าไส-ป่าแก่
พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม อำเภอวังวิเศษ เป็นต้นกำเนิดคลองลำลุง คลองช่องงาย คลองทรายขาว คลองส้านแดง รวมทั้งคลองชี คลองเหล่านี้ไหลรวมกับคลองชีลงสู่แม่น้ำตรังที่ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง และยังมีคลองกะลาเสใหญ่ ไหลผ่านอำเภอสิเกาลงสู่ทะเลอันดามัน ป่าแห่งนี้ยังเป็นต้นกำเนิดน้ำตกร้อยชั้น
ป่าเขาบรรทัด
ป่าเทือกเขาบรรทัดสามารถแบ่งได้เป็น แปลงที่ 1 ตอนที่ 1 อยู่ในเขตอุทยานเขาปู่-เขาย่า พื้นที่อำเภอห้วยยอด เป็นต้นน้ำของน้ำตกปากแจ่ม คลองลำภูรา อีกกลุ่มหนึ่งคือ คลองท่างิ้ว จากตำบลในเตา คลองหินแทนจากตำบลปากแจ่ม ไปรวมกับคลองยางยวน ลงสู่แม่น้ำตรังที่ตำบลเขากอบ ป่าเทือกเขาบรรทัดแปลงที่ 1 ตอนที่ 3 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่
1
IamTrang.com
: :: ชอบ-ชม-ชิม โดย วีร์วิศ
: :: เรื่องเล่าของอิงตะวัน โดย อิงตะวัน
: :: แต่งบ้าน-งานดีไซน์ โดย มะลิริน
: :: จิตเป็นนาย โดย นะโม

 

iamtrang.com
iamtrang.com ออกแบบจัดทำและผลิตเนื้อหา+ภาพ โดย บริษัท ดีพี สตูดิโอ จำกัด เลขที่ 32 สุขุมวิท 85 บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ 10260
โทร. 02-3311610 โทรสาร 02-3311618 Email: dp@dp-studio.com
Copyright 2009 IamTrang.com All rights reserved สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย