IamTrang.com
 
IamTrang.com
KNOWLEDGE
PEOPLE
PLACE
PRODUCT & SERVICE
RESOURCE
ACTIVITY
LIFESTYLE
NEWS & EVENT
พืช
หญ้าทะเล
เป็นพืชชั้นสูงชนิดหนึ่งที่สามารถเติบโตได้ดีในน้ำทะเล ซึ่งนักพฤษศาสตร์กล่าวว่า หญ้าทะเลเป็นพืชที่วิวัฒนาการมากสาหร่ายทะเล และเคยเป็นพืชที่เจริญเติบโตอยู่บนบก ต่อมาได้ปรับตัวลงไปเจริญเติบโตในทะเลอีกครั้ง เป็นพืชที่พบว่าสามารถเติบโตได้ดีในเขตอบอุ่นถึงเขตร้อน อยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นเป็นปล้องอยู่ใต้ดิน
จาก
พืชอีกชนิดหนึ่งที่เป็นพืชตระกูลปาล์มเช่นเดียวกับสาคูคือจาก (Atap palm) ที่อยู่ของจากคือป่าชายเลน บริเวณน้ำกร่อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nypa fruticans Wurmb แหล่งจากของจังหวัดตรังเป็นแนวขนานกับแม่น้ำตรัง เขตอำเภอกันตัง เริ่มตั้งแต่ตำบลบางหมากตอนล่าง ย่านซื่อ คลองลุ บ่อน้ำร้อน ลงมาจนถึงตำบลกันตังใต้ ตามชายฝั
สาคู
จากมรดกพืชพรรณแห่งตรังเขาลงมาสู่พื้นล่าง ตามที่ราบลุ่มตรังนาที่ยังคงความชุ่มชื้นอยู่ได้ เพราะมีพืชพรรณชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เป็นหย่อมๆ ตามแหล่งน้ำกลางทุ่ง นั่นคือ สาคู สาคูเป็นพืชตระกูลปาล์ม มี 2 ชนิด ชนิดที่ก้านช่อดอกไม้ไม่มีหนาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Metroxylon sagu Rottb. ส่วนชนิดที่ก้านช่อดอกมีหนามชื่อ Metr
ผักกูด
ผักกูดเป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Athyrium esculentum Copel. วงศ์ Athyriaceae ชื่อพ้องคือ Diplazium esculentum Sw. ชอบขึ้นตามที่ชื้น พบบริเวณที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ลำน้ำทั่วไป ตั้งแต่ที่ราบตรังนาจนไปถึงตามริมห้วย ในป่าต้นน้ำของเมืองตรังยังมีผักกูดอยู่อีกมาก นับเป็นพืชชั้นล่างที่เป็นตัวดัชนีชี้วัดความช
พริกไทย
พริกไทยเป็นพืชเมืองร้อน ถิ่นกำเนิดเดิมคืออินเดีย จัดเป็นประเภทเครื่องเทศและสมุนไพร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum Linn. วงศ์ Piperaceae พริกไทยที่มีชื่อของเมืองตรังคือพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน ในอดีต จังหวัดตรังได้ชื่อว่าปลูกพริกไทยได้มากจนเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้สูง และเป็นที่ยอมรับในกลุ่มชาวต่างประเทศ
จั๋งน้ำพราย
พืชสกุลปาล์มในประเทศไทยมีไม่ต่ำกว่า 150 ชนิด อยู่ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ประมาณ 100 ชนิด แต่ละชนิดมีรูปทรง ก้าน ใบ แตกต่างกันออกไปเป็นเสน่ห์เฉพาะตัว ในป่าเมืองตรังมีปาล์มอีกชนิดหนึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักนิยมปาล์มคือจั๋งน้ำพราย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhapis siamensis Hodel ส่วนในภาษาอังกฤษเรียก Lady palm หรือ Rhap
ปาล์มเจ้าเมืองตรัง
ปาล์มเป็นพันธุ์ไม้อีกกลุ่มที่พบมากในป่าดงดิบชื้นของเมืองตรัง สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้เขาช่องได้รวบรวมพันธุ์ปาล์มไว้มากมายหลายชนิด โดยเฉพาะพวกหวายจะมีเกือบครบทุกชนิด รวมทั้งไม้หายากที่กล่าวกันว่ามีถิ่นกำเนิดในเมืองตรังคือ ปาล์มเจ้าเมืองตรัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Licuala peltata Roxb. ประวัติของปาล์มชนิดนี้ ขุนพิ
ไม้เทพธาโร
ไม้เทพธาโร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจวงหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum Kosterm. และมีชื่อพ้องว่า C. parthenoxylon Nees มีทั่วไปในป่าดิบบนเขา เนื้อไม้สีเทาแกมน้ำตาล ริ้วสีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นหอมฉุน เนื้อเป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรงหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เหนียว แข็งปานกลาง เลื่อย ไส ตกแต่งง่าย ใช้ในการแกะสล
ไม้มะริด
คือไม้อีกชนิดหนึ่งที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์ของเมืองตรัง เป็นไม้ที่ใช้ส่งส่วยให้เมืองนครศรีธรรมราชมาแต่ดั้งเดิม ในคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเมืองตรัง พ.ศ. 2433 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ถึงเครื่องเรือนเครื่องใช้ประเภทตลับ โถ ที่ทำด้วยไม้มะริด และกล่าวถึงไม้มะริดในเมืองตรังว่า ได้ถามถึง
ไม้เคี่ยม
เป็นไม้มีชื่อของเมืองตรังชนิดหนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cotylelo bium melanoxylon Pierre, และมีชื่อพ้องว่า C.lanceolatum Craib เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีชุกชุมในป่าดิบทางภาคใต้ เนื้อละเอียด แข็ง เหนียว หนัก แข็งแรงมาก ใช้ในน้ำทนทานดี เลื่อยไส และตกแต่งได้ไม่สู้ยาก ใช้ทำบ้านเรือน เรือ แพ สะพาน เขื่อน ไม้หมอนรถไฟ
1
IamTrang.com
: :: ชอบ-ชม-ชิม โดย วีร์วิศ
: :: เรื่องเล่าของอิงตะวัน โดย อิงตะวัน
: :: แต่งบ้าน-งานดีไซน์ โดย มะลิริน
: :: จิตเป็นนาย โดย นะโม

 

iamtrang.com
iamtrang.com ออกแบบจัดทำและผลิตเนื้อหา+ภาพ โดย บริษัท ดีพี สตูดิโอ จำกัด เลขที่ 32 สุขุมวิท 85 บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ 10260
โทร. 02-3311610 โทรสาร 02-3311618 Email: dp@dp-studio.com
Copyright 2009 IamTrang.com All rights reserved สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย