IamTrang.com
 
IamTrang.com
KNOWLEDGE
PEOPLE
PLACE
PRODUCT & SERVICE
RESOURCE
ACTIVITY
LIFESTYLE
NEWS & EVENT
หน้าแรก  >  มรดกทางธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม  >  มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีชาวไทยมุสลิม

มรดกวัฒนธรรม-ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ-ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น-ประเพณีชาวไทยมุสลิม

    ประเพณีของชาวไทยมุสลิม ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดตรังมีวิถีความเป็นอยู่บนพื้นฐานศาสนธรรมและหลักการของอิสลาม จึงมีประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและชีวิต ดังตัวอย่าง
     ประเพณีการถือศีลอด การถือศีลอด (ศีล - อด) หรือปอซา ซึ่งเป็นการงดเว้นการระงับยับยั้ง การครองตน เป็นการงดเว้นบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมเพศ การรักษาอวัยวะทุกส่วนให้พ้นจากการกระทำชั่ว โดยเมื่อถึงช่วงที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดตรังเรียกว่า เดือนบวช เริ่มจากวันที่ 1 หรือ 2 เดือนที่ 9 (รอมฎอน) แต่ไม่เป็นการกำหนดตายตัว โดยถือเอาการขึ้นต้นเดือนทางจันทรคติที่มองเห็นดวงจันทร์ด้วยตาเปล่าเป็นหลัก และถือเป็นประเพณีของมุสลิมทั่วไป เมื่อเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันตกก็ให้ถือว่าเริ่มต้นเดือนใหม่ มุสลิมจะเริ่มถือศีลอด โดยตั้งเจตนาว่าจะปฏิบัติตนถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเพื่ออัลเลาะห์ อดอาหารเครื่องดื่ม งดการเสพทุกชนิดตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งพระอาทิตย์ตก เป็นเวลา 29 – 30 วัน ซึ่งเป็นความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะปฏิบัติตนเพื่ออัลเลาะห์ และละศีลอดเมื่อถึงเวลา (ดวงอาทิตย์ตกดิน) เรียกว่า แก้บวช กินอาหารได้ ผู้ถือศีลอดส่วนใหญ่จะนำอาหารที่จะแก้บวชไปที่มัสยิด หรือสถานที่ประกอบพิธีละหมาด แก้บวชรับประทานอาหารด้วยกัน โดยปกติขณะถือศีลอดนั้น ทั้งกลางวันและกลางคืนจะทำการละหมาดปกติ 5 เวลา และละหมาดสุนัตในเวลากลางคืน อ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านบ่อยๆ การถือศีลอดชายไทยมุสลิมส่วนใหญ่จะปฏิบัติเป็นแบบอย่างเดียวกัน ได้เสริมสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความรักสามัคคีในหมู่มุสลิมด้วยกันอย่างแน่นแฟ้น
     ประเพณีทำบุญและวันสำคัญประจำปี ในรอบปีหนึ่งๆ มุสลิมมีวันสำคัญที่นับเป็นประเพณี ได้แก่ วันอีด หรือวันรายา หรือ รายอ ถือเป็นวันรื่นเริง ปีหนึ่งมีสองครั้ง คือวันอีดิลฟิตร ลันอีดิลอัฏฮา
     วันอีดิลฟิตร หมายถึงวันที่เวียนมาสู่สภาพเดิม กล่าวคือ เมื่อมุสลิมถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเป็นเวลา 1 เดือนแล้ว เมื่อพ้นจากเดือนรอมฎอนเป็นเวลา 1 เดือนแล้ว เมื่อพ้นจากเดือนรอมฎอนก็กลับสู่สภาพเดิม ถือเป็นวันแห่งการรื่นเริงในการสู่สภาพเดิม ชาวไทยมุสลิมนิยมเรียกกว่า วันรายาออกบวช หรือวันรายอออกบวช
     วันอีดิลอัฏฮา หมายถึงวันแห่งการเสียสละ ตรงกับวันที่ 10 ของเดือนซุลฮิจญะห์ซึ่งเป็นช่วงระยะที่มุสลิมเดินทางไปประกอบพิธีอัจญ์ ณ นครเมกะ ชายไทยมุสลิมเรียกกว่า วันรายาอัจญี หรือ วันรายออัจญี
     ในวันอีดทั้งสอง มุสลิมจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุด ชำระร่างกายให้สะอาดแล้วเดินทางไปละหมาดที่มัสยิด หลังจากนั้นถ้าเป็นวันรายาอัจญีก็จะมีการทำพิธีเชือดสัตว์ นำเนื้อสัตว์นั้นไปแจกจ่ายให้คนยากจน เรียกว่า การทำกุรฺบั่น ถ้าป็นรายาออกบวช ก่อนถึงวันรายาจะมีการบริจาคข้าวสารหรือเงินในบุคคลผู้ด้อยโอกาสที่ศาสนากำหนดให้มีสิทธิรับการช่วยเหลือ เป็นการเสีย ซะกาต วันอีดทั้งสองมีการตกแต่งบ้านเรือน ทำขนม อาหารไว้ต้อนรับแขกที่มาเยือน หรือเดินทางไปเยี่ยมญาติ เพื่อนฝูง เป็นการสร้างความผูกพันและเพื่อขออภัยซึ่งกันและกัน รวมทั้งการอวยพรให้แก่กันด้วย
 

 
 
 

จำนวนครั้งที่เปิดอ่าน: 15708
นำเสนอโดย: Peekung
 

Share
IamTrang.com
: :: ชอบ-ชม-ชิม โดย วีร์วิศ
: :: เรื่องเล่าของอิงตะวัน โดย อิงตะวัน
: :: แต่งบ้าน-งานดีไซน์ โดย มะลิริน
: :: จิตเป็นนาย โดย นะโม

 


 
iamtrang.com
iamtrang.com ออกแบบจัดทำและผลิตเนื้อหา+ภาพ โดย บริษัท ดีพี สตูดิโอ จำกัด เลขที่ 32 สุขุมวิท 85 บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ 10260
โทร. 02-3311610 โทรสาร 02-3311618 Email: dp@dp-studio.com
Copyright 2009 IamTrang.com All rights reserved สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย