IamTrang.com
 
IamTrang.com
KNOWLEDGE
PEOPLE
PLACE
PRODUCT & SERVICE
RESOURCE
ACTIVITY
LIFESTYLE
NEWS & EVENT
สัตว์
แหล่งนก
จังหวัดตรังมีแหล่งนกที่นักดูนกรู้จักกันดี โดยเฉพาะที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเกาะลิบง นับเป็นแหล่งนกอพยพจากแดนไกลแหล่งใหญ่ที่สุดในฝั่งทะเลตะวันตก นอกจากนี้ยังมีแหล่งนกประจำถิ่นอีกหลายแห่ง เช่น วังนกน้ำ อำเภอวังวิเศษ อุทยานนกน้ำคลองลำชาน สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์หรือสวนสาธารณะทุ่งน้ำผุดของเทศบาลเมืองตรัง สระกะพังสุริน
ปลิงทะเล
มีชื่อวิทยาศาสตร์ Holothuria atra เป็นสัตว์ตัวสีดำแกมเทา ถ้าพลิกท้องจะเห็นเป็นสีขาว รูปร่างทรงกระบอก ยาวประมาณ 5-6 นิ้ว มีปากช่องขับถ่ายอยู่ที่ส่วนหัวและส่วนหาง ผิวขรุขระรอบตัว ฝังตัวอยู่ตามโคลน ทรายหรือตามกอหญ้าทะเล บางทีก็ถูกคลื่นซัดขึ้นมาอยู่ตามชายหาด พบมากตามเกาะต่างๆ ทั้งเกาะลิบง เกาะมุก และเกาะสุกร ในสม
หอยตะเภา
เป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปในท้องถิ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Donax scortum Linn. มีชื่อพ้องว่า Hecuba scortum Linn. บริเวณที่พบหอยตะเภามากที่สุดคือที่หาดปากเมง อำเภอสิเกา ที่หาดสำราญก็มีบ้าง บริเวณที่มีหอยตะเภามักจะพบหอยเจดีย์หรือหอยหลักไก่อาศัยอยู่ด้วย ลักษณะทั่วไปของหอยตะเภาเป็นหอยสองฝา หรือหอยกาบคู่ ผิว
หอยหลอด
ชาวบ้านเรียกหอยชนิดนี้ว่าหอยยอน ชื่อวิทยาศาสตร์ Solen strictus Gould. พบมากที่บริเวณชายหาดสำราญของกิ่งอำเภอหาดสำราญ ชาวบ้านมีวิธีหาหอยหลอดแบบง่ายๆ คือสังเกตดูว่ามีมูลหอยอยู่ที่ใด เมื่อพบให้ใช้ส้นเท้าย่ำลงบนพื้นดินตรงนั้น ถ้ามีหอยอยู่ รูหอยจะเปิดขึ้นพร้อมกับที่หอยบ้วนน้ำ การจับหอยต้องใช้ก้านมะพร้าวอันเล็กๆ
หอยนางรม
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crassostrea commerciallis ภาษาอังกฤษเรียก oyster ชาวบ้านเรียกว่าหอยแตะหรำ คำนี้ยังเป็นชื่อหมู่บ้านในอำเภอกันตัง คำว่า แตะหรำ มาจาก ติรัม ภาษามลายู แปลว่า หอย บริเวณปากแม่น้ำปะเหลียนโดยเฉพาะตรงบ้านแหลมเป็นแหล่งหอยนางรมธรรมชาติที่ใหญ่มากแหล่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นหอยสีขาวที่มีคุณภาพซึ่งราค
หอยปะ
หอยปะเป็นหอย 2 ฝ่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Meretrix Lusoria ที่อื่นอาจเรียกว่า หอยขาว หรือหอยตลับลาย ที่หมู่บ้านปากน้ำปะเหลียน ฝั่งตะวันออกตั้งแต่บ้านหินคอกควาย ฝั่งตะวันตกตั้งแต่บ้านวังวนลงไป บ้านเรือนสองฝั่งมีเปลือกหอยปะทับถมนับล้านๆ ตัว บ่งบอกถึงทรัพยากรที่หล่อเลี้ยงผู้คนมายาวนาน เพราะในร่องน้ำระหว่างสองฝ
กุ้งแม่น้ำ
เมื่อ 30 ปีย้อนหลังขึ้นไป ตามบริเวณฝั่งแม่น้ำตรังตั้งแต่ท่าจีน อำเภอเมืองลงมาถึงอำเภอกันตัง ภาพชาวบ้านหิ้วพวงกุ้ง ปลา มารอรถริมถนนเพื่อเอาไปขายในเมือง มีให้เห็นแทบทุกเช้า และนี่คือที่มาของสำนวน กุ้งสิบร้อยคล้า กุ้งห้าร้อยจาก กุ้ง ที่ชาวบ้านหิ้วมานั้น คือกุ้งก้ามกราม แต่ลูกแม่น้ำตรังเรียกง่ายๆ ว่า แม่กุ้งเ
ปลาตูหนา
มีตำนานชาวบ้าบกล่าวถึงปลาชนิดหนึ่งในแม่น้ำตรังว่ามีตัวใหญ่ขนาด หูเท่ากระด้ง ปลามีหูชนิดนี้คือปลาไหลหูดำ ปลาตูหนา ตุหนา หรือโตะหนา เรียก ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Anguilla bicolour และชื่อภาษาอังกฤษว่า True eel ปลาตูหนาเป็นปลา 2 น้ำ พบในแม่น้ำลำคลองทั่วๆ ไป จนไปถึงบริเวณต้นน้ำหรืออาจพบในทะเลลึก เพราะเมื่อปลาตูห
เลียงผา
เรียกชื่อตามชาวบ้านว่า คุรำ คูรำ หรือโครำ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis sumatraensis รูปร่างคล้ายแพะ ต่างกันแต่เลียงผาไม่มีเคราอย่างแพะ สีดำตลอดลำตัว มีเขาเป็นรูปกรวยโค้งไปข้างหลัง มีนิสัยชอบกระโดดปีนป่ายไปตามหน้าผาหิน เลือกกินใบไม้อ่อนๆ เป็นอาหาร ซึ่งมีหลายชนิด เช่น เหยื่อคุรำ เป็นไม้ล้มลุก มีผู้นิยมนำไปปลู
1
IamTrang.com
: :: ชอบ-ชม-ชิม โดย วีร์วิศ
: :: เรื่องเล่าของอิงตะวัน โดย อิงตะวัน
: :: แต่งบ้าน-งานดีไซน์ โดย มะลิริน
: :: จิตเป็นนาย โดย นะโม

 

iamtrang.com
iamtrang.com ออกแบบจัดทำและผลิตเนื้อหา+ภาพ โดย บริษัท ดีพี สตูดิโอ จำกัด เลขที่ 32 สุขุมวิท 85 บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ 10260
โทร. 02-3311610 โทรสาร 02-3311618 Email: dp@dp-studio.com
Copyright 2009 IamTrang.com All rights reserved สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย