IamTrang.com
 
IamTrang.com
KNOWLEDGE
PEOPLE
PLACE
PRODUCT & SERVICE
RESOURCE
ACTIVITY
LIFESTYLE
NEWS & EVENT
หน้าแรก  >  บุคคลสำคัญของท้องถิ่น  >  บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-ณรงค์ จันทร์พุ่ม : ตะลุงบัณฑิต

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-ณรงค์ จันทร์พุ่ม : ตะลุงบัณฑิต

    ย้อนหลังไปกว่า 20 ปี ขาวตรัง และจังหวัดใกล้เคียง จะได้ยินชื่อนายหนังตะลุง เรียกกันว่าตะลุงบัณฑิตหรืออาจารย์หนังณรงค์ จันทร์พุ่ม ซึ่งเป็นครูโรงเรียนวิเชียรมาตุจังหวัดตรัง
     หนังณรงค์ ได้สร้างสรรค์ศิลปะเพื่อประชาชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสืบทอดศิลปะพื้นบ้านได้ทันยุค จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ทำให้อาจารย์หนังณรงค์ ตระหนักและแสดงออกในการเล่นหนังตะลุงอยู่ตลอดเวลา ได้สอดแทรกความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมสังคมการเมืองการไปใช้สิทธิใช้เสียงการวางแผนครอบครัวโดยนำความรู้มาประสานกับลีลากลอนและบทบาทของเงารูปหนังตะลุงให้กลมกลืน เป็นที่เข้าใจง่ายเป็นผู้อนุรักษ์และสืบทอดภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นมาโดยตลอดพัฒนาหนังตะลุงให้เป็นที่นิยมของคนในยุคปัจจุบันทั้งยังถ่ายทอดการแสดงของตะลุงและเขียนบทหนังตะลุงให้แก่ผู้สนใจทั่วไป เพื่อส่งเสริมศิลปะการเล่นหนังตะลุงและการอนุรักษ์ภาษาถิ่นให้เป็นมรดกไทยสืบไป
     หนังณรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2490 ที่อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง  จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านโหละคล้า อำเภอย่านตาขาว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวชิรนุกูลและมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ปริญญาการศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.) จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน(มหาวิทยาลัยบูรพา)
     ด้านครอบครัวสมรสกับนางมาลี เจริญกุล มีบุตร 1 คน ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 109 หมู่ 6 ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
เริ่มการแสดงหนังตะลุงขระที่ศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ในครั้งนั้นได้รับความอนุเคราะห์ให้ยืมอุปกรณ์ จากนายวีระ มุสิกพงศ์ เพื่อนร่วมรุ่นนามนายหนังณรงค์ จันทร์พุ่ม จึงเป็นที่คุ้นหูในวิทยาลัยตั้งแต่พ.ศ.2513  เป็นต้นมา
     พ.ศ. 2520 เป็นครูสอนวิชาสังคมศึกาาที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ เล่นหนังตะลุงเป็นงานอดิเรกจนถึงพ.ศ.2531 นายผัน จันทรปาน ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง  ขอตัวไปประจำฝ่ายประชาสัมพันธ์ของจังหวัดให้เล่นหนังจะลุงเพื่อการประชาสัมพันธ์โดยตรง พ.ศ. 2533 ร่วมจัดการแข่งขันหนังตะลุงเพื่อสร้างแนวร่วมรณรงค์ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  บริเวณหน้าศาลากลางมีหนังตะลุงเข้าแข่งขัน จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง และตรัง ได้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสนับสนุนมอบจอหนังติดคำขวัญ “พิทักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อถนอมชีวิตท่าน” ให้แก่นายหนัง ที่มาร่วมการแข่งขันและคณะละครกันตนาได้บันทึกเทปหนังนำไปเผยแพร่ด้วย
     หนังณรงค์ เป็นผู้พยายามเรียกร้องสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิจของศิลปินด้วยกันและได้รับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลสำหรับสมาชิกหนังตะลุงสร้างขวัญกำลังใจแก่บรรดาศิลปินหนังตะลุงเพื่อสืบสานสายใยให้ศิลปะพื้นบ้านหนังตะลุงได้เชิดรูปบนจอต่อไปอีกนาน

     รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ
     - ประกาศเกียรติคุณจากกรมการศึกษานอกโรงเรียนในฐานะสื่อพื้นบ้านที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างดียิ่งเมื่อ 10 มีนาคม 2533
     - โล่ศิลปินยอดนิยมของชาวใต้จากชมรมส่งเสริมคนดีศรีสุราษฎร์จังหวัดสุราาฎร์ธานี เมื่อพ.ศ. 2526
     - ประกาศเกียรติคุณจากเจ้าคณะจังหวัดตรังในฐานะศิลปินหนังตะลุงภาคใต้ที่สามารถใช้หลักธรรมะในทางพุทธศาสนาเข้ากับนิทานที่แสดงทำให้ผู้ฟังมีความซาบซึ้งในรสพระธรรมเป็นอย่างดีเมื่อ 5 ธันวาคม 2536
     - รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีในฐานะผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นด้านภาษาและวรรณกรรมไทยเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทยเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2537
     - โล่เกียรติคุณจากฯพณฯนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ในฐานะผู้ใช้สื่อพื้นบ้านหนังตะลุงรณรงค์เพื่อให้ประชาชนไปใช้สิทธิประชาธิปไตยได้อย่างดียิ่งเมื่อ 8 เมษายน 2537
     - ประกาศเกียรติคุณจากนายอำเภอหาดใหญ่ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนการสร้างรั้วที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อ 29 พฤษภาคม 2537
     - เกียรติบัตรศิษย์เก่าดีเด่นเนื่องในโอกาสจัดงาน 40 ปีมหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อ 8 กรกฎาคม 2538
     - เกียรติบัตรจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะเป็นศิลปินดีเด่นสาขาการแสดงพื้นบ้าน (หนังตะลุง) ประจำปี 2540
     - เกียรติบัตรจากสำนักกิจการนักศึกษาสถานบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ในฐานะผู้สนับสนุนโครงการบัณฑิตศึกษาสาชาวิชาไทยคดีศึกษาเมื่อ 26 สิงหาคม 2541
     - เกียรติบัตรในฐานะที่ได้อุปการะและสนับสนุนโครงการหนังตะลุงเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริฐพระชรรษาครบ 6 รอบ
    
      งานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของหนังณรงค์คือการเป็นแกนนำก่อตั้งชมรมศิลปินพื้นบ้านที่อำเภอกันตัง เพื่อเป็นที่พบปะและฝึกสอนศิลปะการแสดงพื้นบ้านให้ผู้สนใจทั่วไปด้วยเจตจำนงที่จะให้ศิลปินพื้นบ้านทั้งหลายได้มีศูนย์รวมเพื่อแลกเปลี่ยนทรรศนะ และแสดงร่วมกันอย่างน้อยปีละครั้ง นั่นคือการรักษาไว้ซึ่งศิลปะพื้นบ้าน

 
 
 

จำนวนครั้งที่เปิดอ่าน: 19985
นำเสนอโดย: Peekung
 

Share
IamTrang.com
: :: ชอบ-ชม-ชิม โดย วีร์วิศ
: :: เรื่องเล่าของอิงตะวัน โดย อิงตะวัน
: :: แต่งบ้าน-งานดีไซน์ โดย มะลิริน
: :: จิตเป็นนาย โดย นะโม

 


 
iamtrang.com
iamtrang.com ออกแบบจัดทำและผลิตเนื้อหา+ภาพ โดย บริษัท ดีพี สตูดิโอ จำกัด เลขที่ 32 สุขุมวิท 85 บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ 10260
โทร. 02-3311610 โทรสาร 02-3311618 Email: dp@dp-studio.com
Copyright 2009 IamTrang.com All rights reserved สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย