มรดกวัฒนธรรม-ศิลปหัตถกรรมและงานช่างท้องถิ่น-กันหม้อ ติหมา งานจักสานก้านจาก

กันหม้อ ติหมา งานจักสานก้านจาก ย่านซื่อ ตำบลแม่น้ำตรัง มีพื้นที่ราบเกิดจากดินตหนึ่งของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นชุมชนริมฝั่งแม่น้ำตรัง มีพื้นที่ราบเกิดจากดินตะกอนที่แม่น้ำตรังพัดพามาทับถมเพราะอยู่ใกล้ปากน้ำ ประกอบกับอิทธิพลของน้ำทะเลแทรกตัวตามลำคลองเข้ามาถึงชุมชนย่านซื่อ น้ำในบริเวณนี้จึงเป็นน้ำกร่อย ทำให้ต้นจากเจริญเติบโตได้ดี กลายเป็นพืชเศรษฐกิจทำรายด้หลักให้แก่ชาวบ้าน

เมื่อครั้งอดีตที่ผู้คนยังหุงข้าวทำอาหารด้วยไม้ฟืนหรือถ่านไฟทุกครัวเรือนต้องใช้ที่กันหม้อรองหม้อข้าวหม้อแกง ภาชนะใส่อาหารไม่ให้เขม่าดำติดพื้นเปรอะเปื้อน ก้านจากที่เหลือจากการลอกออกเอาไปทำใบยาสูบ ก้านแข็งตรงกลางนำไปทำไม้กวาดชนิดเดียวกับไม้กวาดเรียวมะพร้าว ส่วนด้านข้างใบทั้งสองจะเป็นก้านอ่อน เลือกเอาด้านที่แข็งกว่า นำมาเหลาสานทำที่กันหม้อไว้ใช้กันเองในครัวเรือน เหลือก็แจกจ่ายปยังบ้านใกล้เรือนเคียง มีเวลาว่างก็ทำขาย

นางบุญพา หมื่นพรหม อายุ ๕๒ ปี หมู่ที่ ๒ ตำบลวังวน อำเภอกันตัง เล่าเรื่องการทำกันหม้อว่า เดิมทีตนเองเป็นคนย่านซื่อ-ทุ่งค้อ ย้ายตามญาติพี่น้องซึ่งแต่งงานมาเป็นสะใภ้ของบ้านวังวน เมื่อมาอยู่ที่นี่ก็ได้ตั้งกลุ่มชักชวนชาวบ้านและเด็กนักเรียนฝึกการทำกันหม้อ กลุ่ม มีสมาชิกอยู่ ๑๕ คน สมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ ทำใช้เองบ้าง แจกบ้าง เหลือขายลูกละ ๓ บาท ปัจจุบันที่ย่านซื่อมีคนทำต่อเนื่องราว ๕ – ๖ คน คนส่วนใหญ่ทำเป็นแต่เขาไม่ทำกันแล้ว เพราะทำใบจากยาสูบมีรายได้ดีกว่า และเดี๋ยวนี้คนหันไปใช้แก๊สหุงต้มแทนไม้ฟืน ที่กันหม้อก็ไม่ได้ใช้ แต่ตนเองก็ยึดเป็นอาชีพได้ เพราะสามารถดัดแปลงเป็นภาชนะอื่นๆ เช่น ตระกร้าใส่ผลไม้ แจกันดอกไม้ และของที่ระลึก ฯลฯ เมื่อทำเสร็จส่งไปขายที่ตลาดเกษตรของเทศบาลเมืองตรัง หรืองานเทศบาลต่างๆ และมีลูกค้าประจำที่อำเภอหาดใหญ่โดยส่งผ่านสำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง ใบเล็กราคาตั้งแต่ ๑๕ บาท ใดกลาง ๒๐ บาท และ ๒๕ บาท ตามลำดับแหล่งก้านจากที่ย่านซื่อนั้นเป็นใบจากคุณภาพดี ใบ ก้าน ยาวกว่าที่อื่น แต่ไม่ค่อยมีก้านจากเหลือเพราะส่งไปให้คนหมู่บ้านอื่นลอกจาก อยู่ไกลออกไป ตามไปเอาลำบาก จึงสั่งก้านจากของบ้านแหลม ตำบลวังวน

วิธีการทำ เริ่มจากนำก้านจากที่เหลาเรียบร้อยแล้วมา ตั้งท้าย หรือขึ้นรูปก้น เป็นวงกลมไว้ก่อน สานและดึงเข้าหากันให้ได้รูปทรงตามต้องการ จะเป็นกันหม้อหรือดัดแปลงเป็นภาชนะอื่นก็แล้วแต่ พอได้รูปทรงท่อนบนก็สานต่อลงไปเป็นเชิงเพื่อให้ก้นสูงขึ้น สอดปลายก้านกลับขึ้นมาทำเป็นรัดพัสตร์ หอยู่นำมาใช้หรือคาดเอว แล้วสอดปลายเก็บให้แนบเนียนเป็นอันเสร็จ

นอกจากกันหม้อ ยังมียอดจากอ่อนที่ตัดใบเอาปเข้ากระบวนการทำใบจากจนถึงใบมวนยาสูบ ส่วนปลายยอดที่เหลืออยู่นำมาใช้ทำภาชนะไว้ตักน้ำบ่อ วิดน้ำเรือ ฯลฯ เรียกว่าติหมา อาจจะใช้ได้ไม่นานนัก แต่เมื่อชำรุดแล้วก็ทิ้งให้เปื่อยย่อยสลาย ไม่มีมลพิษย้อนกลับคืน

ขั้นตอนการทำหรือที่เรียกว่า ขอดติหมาจาก คือนำปลายยอดจากอ่อนมาตัดเป็นใบ ๆ สับปลายออกให้เหลือความยาวเสมอกัน นำไปผึ่งแดดสักครู่ใหญ่ๆ ให้อ่อนตัว หลังจากนั้นนำแต่ละใบมาพับทบตามแนวก้าน แล้วสอดตามรอยทบสลับโคนปลาย เพื่อให้มีความแข็งสม่ำเสมอ เมื่อได้เป็นแผ่นใหญ่พอสมควร ก็รวบปลายทั้งสองด้านเป็นขั้ว จับโค้งเขาหากัน แบ่งครึ่งแต่ละขั้ว สอดไขว้สับหว่างกัน ผูกให้แน่นไว้เป็นที่จับหรือผูกเชือกตักน้ำต่อไป เท่านี้ก็ได้ติหมารูปขอดโค้งสวยงามน่าใช้

ปัจจุบันมีวัสดุพลาสติก ถังเหล็กคงทนแข็งแรงแต่ย่อยสลายยากเข้ามาแทนที่ติหมาจากชุมชนย่านซื่อเหลือผู้คน ใช้ติหมาจากนับบ้านได้ และผู้ที่ขอดติหมาจากได้สวย ประณีตบรรจลเหลือน้อยรายเต็มที ผู้มีฝีมือคนหนึ่งในจำนวนนั้นคือ ป้าฉิวหยิน แซ่ฮั่ง ๖๖ ปี ใครไปใครมาที่บ้านย่านซื่อ ป้าจะมานั่งขอดติดหาให้ดูเป็นตัวอย่างเสมอ

You may also like...