บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-จิระนันท์ พิตรปรีชา : กวีซีไรต์ชาวตรัง

ดอกไม้ ดอกไม้จะบาน

บริสุทธิ์กล้าหาญ จะบานในใจ

ดอกไม้จะบาน คือชื่อของบทกวีชิ้นนี้ผลงานเด่นยุคแรกๆซึ่งสามารถแปรเปลี่ยนเป็นบทเพลงและแพร่หลายในสื่อต่างๆ ยืนยงมาจนปัจจุบันบอกถึงความเป็นตัวตนบางด้านของผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งผสานสายเลือดความเป็นตรังเข้ากับประสบการณ์แต่ละย่างก้าวของชีวิตจนในที่สุดได้รับการประกาศชื่อเป็น “กวีซีไรต์” หรือรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์จากอาเซียน(THE S.E.A. WRITE AWARD) ประจำปี 2532 จากบทกวีนิพนธ์เรื่องใบไม้ที่หายไป

จิระนันท์ พิตรปรีชา เกิดเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2498 บิดามารดาคือนายนิรันดร์ และนางจีระหรือครูจีระ ผู้เคยสอนในโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตรัง (สภาราชินี) ภายหลังลาออกมาประกอบอาชีพเปิดร้านจำหน่ายนิตยสารหนังสือเครื่องเขียนแบบเรียนชื่อร้าน “สิริบรรณ”

จิระนันท์ เริ่มการศึกษาที่จังหวัดตรัง ชั้นอนุบาล 1 ถึงป.4 ที่ร.ร.บูรณะรำลึกป.5 ถึงป.7 ที่ร.ร.ยุวราษฎร์วิทยาม.ศ.1 ถึงม.ศ.2 ที่ร.ร.สภาราชินีม.ศ.3 ที่ร.ร.สาธิตวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์กรุงเทพฯม.ศ.4 – 5 ที่ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพญาไทแผนกวิทยาศาสตร์ด้วยคะแนนติดบอร์ดของประเทศ

ปีการศึกษา 2515 – 2518 ศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์แผนกเตรียมเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแต่ไม่จบการศึกษาเนื่องจากสถานการณ์การเมืองในขณะนั้นทำให้ต้องเข้าป่าจนถึงปีพ.ศ. 2523

ช่วงที่กำลังเรียน จิระนันท์ เป็นหนึ่งในแกนนำนักศึกษาในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และได้รับการลงคะแนนให้เป็น WOMAN OF THE YEAR 1973 จากผู้อ่านหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยรายวัน

2518 – 2523 จิระนันท์ เข้าสู่ช่วงของชีวิตนักปฏิวัติเมื่อยุคทองของชบวนการนิสิตนักศึกษาสิ้นสุดลงด้วยการปราบปรามอย่างนองเลือดในเกตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ทำให้กลุ่มนักศึกษาปัญญาชนหลั่งไหลเข้าสู่ป่า หลังจากนั้นแต่แล้วในที่สุดก็เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มแกนนำคนรุ่นเก่าของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จิระนันท์ และ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จึงเดินทางลงจากภูเขาในเขตอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เข้ามอบตัวกับทางการที่ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี

จากนั้น จิระนันท์ และเสกสรรค์ ก็เดินทางไปศึกษาต่อ CORNELL UNIVERSITY และกลับบ้านเกิดพ.ศ. 2531 จิระนันท์ สำเร็จปริญญาตรีรัฐศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยมศึกษาต่อปริญญาโทสาขาประวัติศาสตร์เสกสรรค์จบปริญญาเอก แล้วเข้าเป็นอาจารย์ในคระรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนจิระนันท์ ได้ทุนทำวิจัยจากอเมริกาเตรียมเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและเริ่มเขียนบทความกวีนิพนธ์ตามหน้านิตยสารอีกครั้งหลังจากห่างหายวงการไปนานระหว่างทำวิทยานิพนธ์ก็ได้รับรางวัลซีไรต์ภารกิจที่ตามมาทำให้การศึกษาต้องชะงักไป

จิระนันท์ เริ่มแววกวีตั้งแต่อายุ 12 ปีมีงานพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์เสียงราษฎร์จากนั้นก็ส่งบทกวีไปลงตามนิตยสารต่างๆอาทิ จักรวาลชัยพฤกษ์วิทยาสารเคยได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับ ม.ต้นการประกวดกลอนระดับจังหวัดเนื่องในวันปิยมหาราชพ.ศ.2512 และได้รับรางวัลชนะเลิศอีก 2 – 3 ครั้งขากการประกวดบทกลอนหรือแปลคำประพันธ์ภาษาอังกฤษเป็นกลอนในชัยพฤกษ์และวิทยาสารเป็นผู้ริเริ่มออกหนังสือพิมพ์นักเรียนไก่แก้วที่โรงเรียนสภาราชินีรวบรวมเพื่อนๆ มาร่วมกันแต่งนิราศเตรียมอุดมพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์รุ่นปีการศึกษา 2514

ผลงานที่ประพันธ์ขึ้นในเขตป่าเขาถูกจัดพิมพ์รวมเล่มเป็นหนังสือโรเนียวชื่อ เกิดในกองทัพ ได้รับการสนับสนุนและกำลังใจจาก “นายผี” หรืออัศนีพลจันทรเจ้าของบทเพลงอมตะ เดือนเพ็ญ

 

ผลงานเด่นด้านวรรณกรรม

สมัยแรกเริ่มบทกวีดอกไม้จะบาน (2516) บทกวีอหังการของดอกไม้ (2517) รวมเล่มงานแปลบทกวีภาษาอังกฤษของคิมชีฮาเสียงร้องของประชาชน (2518) โลกที่สี่รวมบทความข้อเขียนเกี่ยวกับปัญหาสตรี (2518)

พ.ศ. 2524 เศษธุลีบทกวีสะท้อนบาดแผลของคนหนุ่มสาวร่วมสัมยที่พ่ายแพ้ชะตากรรมต้องออกป่าคืนเมืองลงพิมพ์ในนิตยสารการะเกดได้รับรางวัลบทกวีดีเด่นประจำปีของสมาคมภาษาและหนังสือ

พ.ศ. 2532 ใบไม้ที่หายไป :กวีนิพนธ์แห่งชีวิตได้รับรางวัลซีไรต์จัดพิมพ์ใหม่หลายครั้งและยอดขายสูงสุดต่อเนื่องเกือบสองแสนเล่มและบางส่วนถูกนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆและอีกเล่มหนึ่งคืองานแปลนิยายขนาดสั้นห้องสีเหลืองกับผู้หญิงคนนั้น

พ.ศ. 2533 ผู้หญิงของหลู่ซิ่นข้อเขียนร่วมเล่มในบันทึกวรรณกรรมรวมข้อเขียน6 นักประพันธ์เอกของโลกส่วนใหญ่เป็นผลงานของเสกสรรค์ประเสริฐกุลอีกชิ้นหนึ่งคือบทกวีไม่มีชื่อเขียนไว้อาลัยในหนังสือพระราชทานเพลิงศพสืบนาคะเสถียร

พ.ศ. 2534 บทกวีบรรยายภาพในสมุดบันทึกธรรมชาติภาพถ่ายฝีมือดวงดาวสุวรรณรังษีจัดพิมพ์จำหน่ายมอบรายได้แก่มูลนิธิสืบนาคเสถียรและลูกผู้ชายชื่อ นายหลุยส์ งานเรียบเรียงจาก Louis And The King of Siam ของ W.S.Britowe

พ.ศ. 2535 บทกวีฝนแรกเขียนในระหว่างเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้รับรางวัลบทกวีดีเด่นประจำปี 2535 จากสมาคมภาษาและหนังสือภายหลังมีผู้นำไปใส่ทำนองขับร้องเป็นบทเพลง

พ.ศ. 2539 บทกวีส่งเสด็จตีพิมพ์บนปกนสพ.สยามโพสต์ในวาระที่ชาติไทยสูญเสียสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจากนั้นมีการนำไปใช้ต่ออย่างแพร่หลายทางสื่อวิทยุโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์

พ.ศ. 2539 – 2540 อีกหนึ่งฟางฝัน :บันทึกแรมทางของชีวิตอัตชีวประวัติ 32 ตอนจบลงตีพิมพ์ในนิตยสารแพรวกำลังอยู่ในระหว่างจัดพิมพ์รวมเล่มและยังมีงานพิเศษอีกอย่างหนึ่งของจิระนันท์คือเป็นนักแปลบทภาพยนตร์เพื่อทำคำบรรยายภาษาไทยบนแผ่นฟิล์มทำเป็นบทพากย์เสียงไทยให้บริษัทธุรกิจแห่งหนึ่งตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา

ทุกวันนี้ครอบครัวอันอบอุ่นของ จิระนันท์ และดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล มีบุตรชายด้วยกัน2 คนคือ ทแทนไท และวรรณสิงห์

สำหรับเมืองตรัง จิระนันท์ เป็นเสมือนดอกไม้ดอกหนึ่งตามนัยแห่งบทกวีของเธอ

ดอกไม้มีหนามแหลม มิใช่แย้มคอยคนชม

บานไว้เพื่อสะสม ความอุดมแห่งผืนดิน

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>