บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-เติม อ๋องเซ่ง : มโนราห์เติม บ้านเดิมอยู่ตรัง

ตรงแผ่นหินอ่อนหน้าบัวหรือที่เก็บกระดูกของยอดศิลปินภาคใต้ ณ วัดโคกสมานคุณอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา มีคำจารึกเป็นคำกลอนคำประพันธ์ของ ก. ศรนรินทร์หรือพระราชรัตนดิลกขึ้นต้นบทแรกว่า

อันนายเติมอ๋องเซ่งเก่งโวหาร ปฏิภาณกลอนศัพท์ขับคำขวัญ

มโนราห์ชั้นนำคนสำคัญ พรสวรรค์สรรค์ให้จึงได้เป็น

เติม อ๋องเซ่ง คือมโนราห์เติมมโนราห์มีชื่อเสียงคนหนึ่งของภาคใต้แม้จะลวงลับไปแล้วผู้คนยังบอกเล่ากล่าวขานถึงกันไม่รู้วาย

มโนราห์เติม เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ปีขาล พ.ศ. 2457 ที่ตำบลเข้าวิเศษ อำเภอสิเกา ปัจจุบันเป็นเชตอำเภอวังวิเศษ สืบเชื้อสายมโนราห์มาตั้งแต่รุ่นปู่ถึงรุ่นพ่อคือมโนราห์ตั้งมีแม่ชื่ออบและน้องชายชื่อตุ้ง

หนุ่มเติมพี่ชายนั้นแม้จะได้หักมโนราห์จากพ่อจนได้ออกโรงมาแล้วตั้งแต่อายุ 13 ปีแต่เบื้องต้นมุ่งเอาดีทางการเรียนเสียมากกว่าจุงได้เรียนจบชั้นประถมที่บ้านเกิดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ที่ดรงเรียนวิเชียรมาตุแล้วไปต่อที่โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงจังหวัดยะลาจบชั้นมัธยมปีที่ 8 จากนั้นกลับมารับราชการเป็นเสมียนที่อำเภอสิเกา เมื่ออายุได้ 18 ปี

ฝ่ายหนุ่มตั้งน้องชายอาดีทางมโนราห์จนได้ตั้งเป็นคณะมโนราห์ตุ้งประชันโรงกับคณะมโนราห์อื่นๆชนะทุกครั้งจนมีชื่อเสียงขึ้นเรื่อยๆครั้งหนึ่งเกิดแพ้มโนราห์ที่มีชื่อเสียงมากคณะหนึ่งหนุ่มเติมพี่ชายวึ่งมาช่วยรำอยู่เป็นครั้งคราวถึงกับเสียใจมากประกาศตัวเป็นมโนราห์แสดงร่วมกับน้องชายจนชาวบ้านนิยมเรียกชื่อคณะว่าโนราตุ้ง – เติมต่อมาหนุ่มเติมตัดใจลาออกจากราชการมาแสดงมโนราห์เต็มตัวได้ประชันโรงกับมโนราห์ที่มีชื่อเสียงเด่นดังหลายคณะและขนะมาตลอดได้รับรางวัลเป็นถ้วยเกียรติยศและขันน้ำพานรองมากมายต่อมามโนราห์ตุ้งเสียชีวิตไปก่อน

ครั้งหนึ่งจังหวัดตรัง จัดให้มีการประชันโรงมโนราห์ทั่วภาคใต้มีผู้เข้าแข่งถึง 50 โรงปรากฏว่ามโนราห์เติม ชนะเลิศได้รับถ้วยเกียรติยศเป็นรางวัลและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคใต้

ด้วยความที่เป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังคารมดีประกอบกับเป็นคนมีนิสัยเจ้าชู้เมื่อไปแสดงที่ใดก็มักได้ภรรยาที่นั้นจนปรากฎว่ามโนราห์เติม มีภรรยาถึง 54 คนสองคนสุดท้าย คือหนูวิน – หนูวาด ลูกสาวมโนราห์วันแห่งเมืองนครราชศรีธรรมราช ซึ่งเคยประชันโรงผลัดกันแพ้ชนะหลายครั้งเกี่ยวกับภรรยาทั้งสองนี้มโนราห์เติม เคยฝากลีลากลอนกระทบว่าที่พ่อตามาก่อนแล้วว่า ไม่เกรงใจพ่อตาโนราวัน จะเอามันให้ฉาดทั้งวาดวิน ในที่สุดก็เป็นจริง

หลังแต่งงานกับหนูวิน แล้วก็รวมคณะมโนราห์เป็นโรงเดียวกันแม้มโนราห์ตุ้งตายไปหลังการรวมโรงประมาณ 2 ปีแต่การแสดงก็ยังเป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อ หนูวาด มาอยู่ด้วยและได้ออกโรงด้วยกันก็ยิ่งเด่นดังจนไม่มีใครกล้าประชันจนได้ตระเวนแสดงทั่ว 14 จังหวัดภาคใต้และเคยไปแสดงที่กรุเทพฯและประเทศมาเลเซียอีกหลายครั้ง

ในขณะที่มโนราห์เติม กำลังมีชื่อเสียงนั้นเคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดตรังแต่ปรากฎว่าแพ้กลยุทธ์การหาเสียงของผู้สมัครคนอื่นๆที่บอกกัยประชาชนว่า ถ้าเลือกโนราเติมไปเป็นผู้แทนเสียแล้ว ใครจะเล่นโนราให้ดู

ในยุคที่มโนราห์เติม กำลังเฟื่องฟูนั้นเทคโนโลยีบันเทิงก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นด้วยมโนราห์เติม จึงต้องคิดดัดแปลงพัฒนารูปแบบการเล่นขึ้นใหม่เพื่อตรึงความนิยมของคนดูเอาไว้โดยหันมาเน้นด้านบทกลอนที่เป็นกลอนสดมากกว่าการร่ายรำแบบโบรารซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงเพราะมีพรสวรรค์ด้านนี้เป็นพิเศษอยู่แล้วด้านการแต่งกายก็เปลี่ยนแปลงจากเครื่องลูกปัดมาใช้แบบสากลแทนและดัดแปลงการเล่นเรื่องเป็นแบบนวนิยายสมัยใหม่

การดัดแปลงรูปแบบการเล่นดังกล่าวทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ทำลายเอกลักษณ์ดั้งเดิมของมโนราห์ซึ่งมโนราห์เติมได้อธิบายเหตุผลและความจำเป็นไว้ว่าเป็นเพราะอิทธิพลของภาพยนตร์วิทยุโทรทัศน์ค่านิยมของคนดูหนังสือนวนิยายความเบื่อหน่ายอุปกรณ์สมัยใหม่หาง่ายและผู้รำผู้แสดงได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นจึงสอดแทรกความคิดความรู้สึกของตนเองเข้าไปในงานศิลปะและสรุปเป็นบทกลอนไว้ด้วยว่า

ทั้งนี้เพราะอาขีพบีบบังคับ จึงต้องปรับปรุงแปลงตามแบบใหม่

เอาของเก่าเข้าแทรกซอยทยอยไป เพื่อบำรุงชาวไทยใจคนดู

มโนราห์เติม นับเป็นผู้มีอัจริยะอย่างยิ่งในการขับกลอนสดยิ่งได้ตอบโต้กับเชิงกลอนพรานแมงคู่ใจจำอวดประจำโรงแล้วบรรดาผู้ชมย่อมยึดที่นั่งหน้าโรงไม่ยอมลุกไปไหนแน่นอน

งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญของตรังซึ่งแต่เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า งานหลองรัฐ คือสนามประชันบรรดาหนังตะลุงมโนราห์และการละเล่นต่างๆในครั้งนั้น มโนราห์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเมืองตรังที่ไม่มีใครกล้ามาประชันได้แก่ มโนราห์เฟื่องเมื่อมีผู้หาญกล้าคือมโนราห์เติมก็ปลายเป็นการต่อกรระหว่างเสือเฒ่ากับสิงห์หนุ่มแน่นอนที่ว่าลีลาของทั้งสองย่อมสูสีกันจนยากที่จะตัดสินแพ้ชนะสุดท้ายจึงต้องต่อกลอนสดกันดังที่มีผู้จำต่อๆกันมาว่า

ถ้าแพ้ลูกเติมงานเหลิมไม่รำ คือบทประกาศกร้าวมาจากทางโรงของมโนราห์เฟื่องพร้อมๆกับเสียงโหม่งเสียงกลองและเสียงเชียร์ของบรรดาผู้ชม

ถ้าแพ้ลูกเฟื่องถอดลูกจำนำ คือบทตอบกลับมาทันทีจากโรงมโนราห์เติมพร้อมกับเสียงเชียร์ที่อื้ออึงกว่าเก่า

หลังการประชันกลอนสดครั้งนี้ก็ไม่มีใครได้ฟังกลอนเฟื่องในงานฉลองรัฐฯ อีกเลยส่วนสิงห์หนุ่มก็ขยายไปทั่วภาคใต้ข้ามแดนไปถึงมาเลเซียบางคราวก็ขึ้นไปถึงกรุงเทพฯ

มโนราห์เติมถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2514 อายุได้ 57 ปี จากนั้นหนูวิน – หนูวาดภรรยาก็แสดงมโนราห์ในชื่อคณะมโนราห์เติม ต่อมาอีกหลายปี

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>