บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางการเมือง-ชวน หลีกภัย : นายกรัฐมนตรีจากสามัญชนชาวตรัง

นายชวน  หลีกภัย  นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๐ ของประเทศไทย  เป็นสายเลือดตรัง  ที่สามารถก้าวเข้าสู่ระดับผู้นำฝ่ายบริหารของประเทศ  นายชวนเป็นสัญลักษณ์ของบุคคลในอุดมคติของชาวตรัง  แสดงถึงค่านิยมของชาวตรังในการเลือกผู้แทนราษฎร  ซึ่งนายประยูร  จรรยาวงษ์  นักเขียนการ์ตูนชื่อดังรางวัลแมกไซไซเคยกล่าวชื่นชมไว้ว่า  ผมภาคภูมิใจท้ายแทนคนตรังที่มี ส.ส. อย่างคุณชวน  หลีกภัย
     นายชวน  หลีกภัย  เกิดวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑  ที่บ้านท้ายพรุ  ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรของนายนิยม  และนางถ้วน  หลีกภัย  เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวนพี่น้อง ๙ คน เป็ยชาย ๖ คน หญิง ๓ คน บิดารับราชการเป็นครูจัตวาส่วนมารดาเป็นชาวสวนยาง  ภายหลังประกอบอาชีพค้าขายอยู่ในตลาดสด
     เริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดควนวิเศษ  จังหวัดตรัง  เมื่อจบชั้นปีที่ ๔ ได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยาจนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ ในวัยเด็กนายชวนมีนิสัยอ่อนโยนเรียบร้อย  อยู่ในโอวาทของพ่อแม่  รักเรียน  นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ต้องช่วยเหลือครอบครัว  เช่น  ช่วยดูแลน้อง  ทำงานบ้าน  กรีดยาง  และขายขนม  ครอบครัวนายชวนเป็นครอบครัวใหญ่  มีลูกหลายคน  มารดาจึงต้องเป็นกับครอบครัผู้หญิงทำงานเพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัวช่วยเหลือสามีอีกทางหนึ่ง  นายชวนเคยให้สัมภาษณ์ว่า  แม่เป็นผู้หญิงที่ขยันมาก ลูกๆ จึงต้องมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือทำงานบ้านกันทุกคน  ทำให้สามารถช่วยเหลือตนเองและครอบครัวได้ตั้งแต่ยังเด็ก  การทำหน้าที่รับผิดชอบเป็นประจำ  ทำให้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนที่มีต่อครอบครัว  รักและผูกพันกับครอลครัว  เกิดอุปนิสัยที่ดีคือรู้หน้าที่และมีระเบียบวินัยเห็นความสำคัญของงานบ้านว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องมีส่วนร่วมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
     บิดาของนายมีส่วนสำคัญในการปลูกฝังให้ลูกๆ เห็นความสำคัญของการศึกษา ให้แนวทางในการดำเนินชีวิต เช่น ให้รู้จักรักษาสุขภาพ  และให้ใช้สมองในการดำเนินชีวิต แม้นายชวนจะตัวเล็กแต่ก็ชอบออกกำลังกายเล่นกีฬาอยู่เสมอ  ส่วนด้านการเรียนก็มีผลการเรียนดีเด่นได้ที่ ๑ ได้รับรางวัลหลายครั้ง
     นายชวนสนใจด้านการเมือง กฎหมาย มาตั้งแต่เด็กๆ ชอบตามไปดูเวลาที่มีการหาเสียงเลืกตั้ง  บรรยากาศเมืองตรังที่มีตัวอย่างของผู้แทนฯ ประเภทกล้าต่อสู้ ยืนหยัดเคียงข้างประชาชน เหล่านี้คงจะซึมซับอยู่ความคิดติดตัวนายชวนไปพอสมควร  ทั้งยังเคยแอบหนีไปดูการพิจารณาพิพากษาคดีความที่ศาลจนได้สมญานามจากมารดาเป็นเชิงเหน็บแนมว่า ผู้พิพากษา การเอกเส้นทางชีวิตนักการเมืองส่วนหนึ่งคงจะมาจากจุดนี้นอกจากนี้ยังมีความสนใจด้านศิลปะทั้งดนตรี  วาดรูป  เขียนโปสเตอร์โรงภาพยนต์  เคยสอบชิงทุนเรียนครูสอนวาดเขียนของจขังหวัดตรังได้  เมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ ๖  นายชวนได้เข้าสู่กรุงเทพฯ   สอบเข้าเรียนต่อสาขาศิลปศึกษาในโรงเรียนเตรียมศิลปากร  แผนกจิตกรรมและประติมากรรม ได้เป็นลูกศิษย์วัดพักพิงอยู่กับพระที่วัดอมรินทราราม  ทำให้มีประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง
     ขณะเรียนที่เตรียมศิลปากร  ได้รับรางวัลการประกวดภาพหลายครั้ง เช่น ภาพเขียนชื่อ  ประชาธิปไตย  ระหว่างเรียนปีที่ ๑  สอบเทียบมัธยมศึกษาปีที่ ๘  ได้  จากผลการเรียนที่ดีทั้งสายวิชาศิลปะและวิชาสามัญครูอาจารย์จึงแนะนำว่าน่าจะเอาดีทางสายสามัญมากกว่า  เนื่องจากวิชาชีพทางศิลปะในสมัยก่อนนั้นสร้างตัวได้ยาก   คำแนะนำนี้ทำให้นายชวนหันเหสมัครเรียนวิชากฎหมายที่คณะนิติศาสตร์ มณะกำลังเรียนก็หารายได้พิเศษด้วยการเขียนป้ายโฆษณา  สามารถเรียนจนจบเตรียมศิลปากรปีที่ ๓  และจบปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕  จากนั้นได้เปิดสำนักงานร่วมกับเพื่อนๆ เป็นทนายความชั้น ๒ รับว่าความหารายได้ส่งตัวเองเรียนเนติบัณฑิตไปด้วย จนสอบเป็นเนติบัณฑิตไทยได้ในสมัยที่ ๑๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗
     หลังจากที่สอบเนติบัณฑิตไทยได้แล้ว  นายชวน  หลีกภัย  มีเจตนารมณ์แน่วแน่ที่จะลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร  ขณะที่เพื่อนร่วมรุ่นที่เป็นเนติบัณฑิตส่วนใหญ่จะเลือกไปสอบเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ  นายชวนได้ให้เหตุผลในการเลือกที่จะเป็นผู้แทนนี้ว่าสามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรได้  การทำหน้าที่เป็นผู้แทนราษฎรที่เข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจของชาวบ้านนับเป็นเกียรติและความภาคภูมิที่มีค่าเหนือกว่าทรัพย์สินใดๆ คนเมืองตรังนั้นสนใจการเมือง  เสียงกล่าวขวัญถึง  นายชวน  หลีกภัย  ว่าเป็นผู้มีวาทศิลป์  มีอุดมการณ์  มีคุณวุฒิตั้งแต่อายุยังน้อย บอกต่อๆ กันไป ผลปรากฎว่านายชวนได้รับความไว้วางใจจากชาวตรังได้รับคะแนนเสียงท่วมท้น  จาก พ.ศ. ๒๕๑๒  เป็นต้นมาในทุกสมัยของการเลือกตั้ง  นายชวนมีคะแนนเสียงเป็นที่ ๑ มาโดยตลอด
     นายชวน  หลีกภัย  เข้าสู่สภาด้วยการเป็น ส.ส. ฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ เป็น ส.ส. เพียงไม่นานก็ได้รับเลือกจากพรรคให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม(๒๕๑๘) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (๒๕๑๙)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (๒๕๑๙,๑๕๒๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (๒๕๒๔) รัฐมนตรีว่าการเกษตรและสหกรณ์ (๒๕๒๕, ๒๕๓๓) รัฐนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๒๖) และได้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร รองนายกรัฐมนตรีตามลำดับ
     นายชวน  ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  ใน พ.ศ. ๒๕๓๕  ปี  พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๓๔  พรรคประชาธิปัตย์  ด้วยการนำของนายชวน  หลีกภัย  มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด  จึงได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล  และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้  นายชวน  หลีกภัย  เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่  ๒๐  ของประเทศ  เมื่อวันที่  ๒๓  กันยายน ๒๕๓  และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘  ก็พ้นตำแหน่งและยุบสภา
     ต่อมาเมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๐  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  ลาออก  พรรคประชาธิปัตย์จึงได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง
     ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕ ได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายชวน  หลีกภัย  เป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ ๒
     จากเด็กบ้านนอกชาวตรัง  นายชวน  หลีกภัย  ก้าวขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  มีประสบการณ์ทางการเมืองยาวนาน  ผ่านตำแหน่งหน้าที่การงานในระดับกระทรวงต่างๆ หลายกระทรวง  เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  เป็นผู้นำพรรคฝ่ายค้าน  ก้าวไปถึงระดับผู้นำประเทศ  เป็นนายกรัฐมนตรีถึง ๒ สมัย
     สภาพชีวิตส่วนตัวนั้น  นายชวนเป็นผู้สมถะ  สันโดษ  ประหยัด  เรียบง่าย  สุขภาพอ่อนโยน  หนักแน่น  มีความอดกลั้น  รักความยุติธรรม  ช่วยเหลือราษฎรผู้เดือดร้อน  เป็นผู้มีความกตัญญูและเป็นผู้ที่ยังคงรักษาบุคลิกของคนตรังและคนใต้ไว้หลายประการ เช่น การพูดในโอกาสที่ไม่เป็นทางการก็จะใช้ภาษาถิ่นใต้
     ในฐานะ ส.ส. ตัวแทนของชาวตรัง  นายชวนได้เป็นผู้ประสานโครงการต่างๆ ที่ไม่ได้เป็นโครงการตามงบประมาณปกติ  เข้ามาสู่จังหวัดตรังหลายโครงการ  โดยเฉพาะโครงการที่ส่งเสริมด้านการศึกษา  นั้นมีอยู่ค่อนข้างมาก เช่น วิทยาลัยพลศึกษา  โครงการขยายการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาลัยพยาบาล  วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง  สถาบันเทคโนดลยีราชมงคล  หอสมุดแห่งชาติ  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  และสถานศึกษาอีกหลายแห่ง  นอกจากนั้นก็มีโครงการอื่นๆ ด้านสาธารณสุข  สาธารณูปโภค  และการจัดหาแหล่งน้ำ เป็นต้น  เมื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นรัฐมนตรี หรือตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงนายกรัฐมนตรี หน้าที่ความรับผิดชอบขยายกว้างไปถึงระดับประเทศ  การดูแลสนับสนุนงบประมาณหรือแก้ปัญหาต่างๆ ไม่อาจจำกัดเฉพาะท้องถิ่น
     นอกจากจะเป็นนักการเมืองแล้ว นายชวนยังมีความรู้ความรักในด้านสิลปะ ทั้งนี้คงเป็นประสบการณ์จากโรงเรียนเตรียมศิลปากร  ในเวลาว่างหรือเมื่อเดินทางไปที่ต่างๆ ก็จุฝึกมือด้วยการเขียนภาพลายเส้นอย่างสม่ำเสมอ เป็นการทำสมาธิพักผ่อนคลายเครียด ภาพที่เขียนโดยมากเป็นภาพบุคคล  ทิวทัศน์  และยังมีความสามารถในงานประพันธ์ ดังผลงานรวมเรื่องสั้น เย็นลมป่า
     จากสภาพภูมิประเทศภูเขาสูงตั้งตระหง่านของเมืองตรัง ขนานด้วยชายฝั่งทะเลมีหมอดูจีนทำนายทายทักว่าเป็นทำเลที่ตั้งที่ดีจะเป็นที่ให้กำเนิดบุคคสำคัญ คำทำนายนี้อาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังก็ตาม  นายชวน  หลีกภัย  คือผลผลิตแห่งเกียรติและความภาคภูมิใจของชาวตรัง

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>