กวีนิพนธ์ใบไม้ที่หายไป กับรางวัลซีไรต์ พ.ศ.2532

ชาวตรังรุ่นพ่อแม่ ที่เคยผ่านเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญเมื่อปี 2516 คงไม่มีใครลืมเลือนชื่อของกวีซีไรต์ชาวตรัง เจ้าของผลงานกวีนิพนธ์ ใบไม้ที่หายไป ซึ่งเป็นตัวแทนจิตวิญญาณของคนหนุ่มสาวแห่งยุคสมัย ที่หาญกล้าลุกขึ้นมาต่อต้านความอยุติธรรมในระบอบการเมืองไทย จนต้องแลกด้วยเลือกเนื้อและน้ำตา จวบจนเวลาผันผ่านไป สังคมไทยก็ยังตกอยู่ในวังวนแห่งความเลวร้าย ทำให้เรื่องราวในบทกวีที่เขียนขึ้นเมื่อครั้งก่อนนั้น ของกวีซีไรต์ผู้เป็นความภาคภูมิใจของชาวตรัง ยังคงมีชีวิตชีวาและสาระที่สดใหม่อยู่เสมอ 

บทกวีที่สะท้อนความคิด ความหวัง และปลุกจิตสำนึกของหนุ่มสาวในยุค 14 ตุลา ให้เชื่อมั่นในศรัทธาอันบริสุทธิ์ของตนเองว่าสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมที่ มืดมนให้สว่างไสวด้วยพลังของหนุ่มสาว บางส่วนจากคำประกาศรางวัลซีไรต์ ได้กล่าวเอาไว้ว่า กวีนิพนธ์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวเชิงบันทึกของชีวิตตอนหนึ่งของผู้ประพันธ์ ระหว่าง พ.ศ. 2513 – 2529 ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาวัยรุ่นกลุ่มก้าวหน้ามีอุดมการณ์สูงสุด จวบจนกระทั่งได้ตระหนักความจริงของชีวิตที่ถูกธรรมชาติกำหนดสาระของบันทึกนี้มีทั้งความใฝ่ฝัน ปรัชญาชีวิต และอุดมการณ์ของคนหนุ่มสาว และตัวผู้เขียนเองก็ได้ปฏิบัติตามอุดมการณ์นั้นอย่างถึงที่สุด จึงได้พบว่าทุกชีวิตต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ดังเช่นชีวิตของผู้เป็นแม่นั้น ไม่เพียงแต่กำหนดอนาคตของลูกเท่านั้น หากรวมทั้งชีวิตตนเองและผู้ใกล้ชิด
     นอกจากนั้นแล้ว บทกวีเหล่านี้ยังมีคุณค่าในด้านการปลุกสำนึกของสังคมเกี่ยวกับฐานะและบทบาทใหม่ของผู้หญิง ผู้ประพันธ์มีความกล้าที่จะเปิดเผยและถ่ายทอดประสบการณ์จากความมุ่งมั่นในอุดมการณ์ ตลอดจนความหวังของตนเองที่จะประสบความสำเร็จ
บทประพันธ์เรื่อง “ใบไม้ที่หายไป” จึงพิสูจน์ให้ประจักษ์ว่าผู้ประพันธ์เป็นกวีโดยแท้จริง

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>