ผ้าทอนาหมื่นศรี

ผ้าทอนาหมื่นศรี เป็นผ้าทอพื้นเมือง จากตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ชาวหมู่บ้านนาหมื่นศรี มีอาชีพทำนาทำสวน และมีอาชีพทอผ้ามาหลายชั่วอายุคนมาแล้ว ผ้าทอนาหมื่นศรีนอกจากจะมีใช้กันเองภายในครัวเรือนแล้วยังมีการส่งออกไปจำหน่ายในหมู่บ้านใกล้เคียงอีกด้วย

การทอผ้าได้หยุดชะงักลง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังสงครามโลกอุตสาหกรรม การทอผ้าทางยุโรปเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ส่วนผ้าทอที่ทอด้วยเครื่องจักร ได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยชาวบ้านก็นิยมหันไปซื้อผ้าที่ทอด้วยเครื่องจักร ตั้งแต่นั้นมา ผ้าทอนาหมื่นศรีก็หยุดชะงักลง จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2514 ได้มีผู้คิดริเริ่มการทอผ้าอีก คือ นาง นาง ช่วยรอด อายุ 78 ปี เป็นราษฎรหมู่ที่ 8 ตำบลนาหมื่นศรี ได้รวบรวมคนที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันได้ 3 คน และนำเอากี่ทอผ้าในสมัยก่อนมาซ่อมและได้ทอผ้ามาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาพัฒนากรอำเภอเมืองตรังได้พัฒนาอาชีพการทอผ้าของชาวนาหมื่นศรี และนำชาวบ้านรวมกลุ่มทอผ้าขึ้น และให้งบประมาณเป็นค่าแรงในการทอผ้าทำกี่ทอผ้าพื้นเมือง ได้ 10 หลัง

ประวัติความเป็นมากลุ่มทอผ้านาหมื่นศรี
ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดตรัง ประมาณ 11 กม. เป็นถิ่นฐานที่ตั้งของชาวไทยพุทธที่ทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะทำนาและสวนยางเป็นอาชีพหลัก
ในอดีต ลานใต้ถุนเรือนไม้ของชาวบ้านนาหมื่นศรีทุกหลังจะมีโหด (กี่พื้นบ้าน) ตั้งอยู่และมีอุปกรณ์ทอผ้าแขวนไว้บนเพดานใต้ถุน ศิลปะการทอผ้าจึงถูกสืบทอดต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่านานนับร้อยปี
การทอผ้าของชาวนาหมื่นศรีถูกผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จากภาวะขาดแคลน เส้นใยสังเคราะห์ย้อมศรีสำเร็จรูปจึงมาทดแทนฝ้ายพื้นบ้านย้อมสีธรรมชาติที่ใช้กันมาแต่เดิม ทำให้การทอผ้าหยุดชะงักไประยะหนึ่ง
ปี 2514 ชาวบ้านที่ยังทำงานทอผ้าแบบดังเดิม ด้วยความผูกพันกับมรดกวัฒนธรรมที่เสมือนเป็นชีวิต จิตใจ มารวมกลุ่มกันทอผ้าเพื่อใช้และแบ่งขายให้เพื่อนบ้าน ต่อมาได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ ทำให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้น ได้รับการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ และเทคนิคการทอผ้าด้วยกี่กระตุก จนปัจจุบันกลุ่มทอผ้านาหมื่นศรีมีสมาชิกจำนวน 84 คน

ความสัมพันธ์กับชุมชน
ฝีมือ แรงงาน คือคนในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนเครือญาติพี่น้อง มีการรวมกลุ่มเตรียมสมาชิกให้ได้รับความรู้ สร้างความเข้าใจตรงกันในการพัฒนาภูมิปัญญา อีกทั้งรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เกิดรายได้ส่วนหนึ่งช่วยเหลือชุมชน ให้เป็นทุนการศึกษา จัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุ มีของที่ระลึกมอบให้แก่ผู้สูงอายุ เป็นต้น
1.5 วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. ด้าย,เส้นใยสังเคราะห์
2. กี่กระตุ๊ก,กี่พื้นเมือง
3. จักรเย็บผ้า (แปรรูปเป็นผลิตที่หลากหลาย)

ขั้นตอนการผลิต
เตรียมวัตถุดิบ (ด้าย) ในการทอผ้าโดยการนำด้ายมากรอกับหลอดหลายๆหลอด ไปสอดกับเหล็กซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับเดินด้าย ในการเดินด้ายผู้เตรียมเดินด้ายต้องคิดล่วงหน้าก่อนว่าจะทอผ้าลายดอกอะไร เพราะการทอผ้าแต่ละลาย จำนวนเส้นด้ายจากการเดินด้ายจะไม่เท่ากัน
จากนั้นนำด้ายที่เก็บจากการเดินด้ายมาสอดฟันหวี ขั้นตอนนี้ต้องใช้ถึง 2 คน คนหนึ่งส่งด้าย อีกคนหนึ่งสอดด้ายเข้าฟันหวี เมื่อสอดด้ายเข้าฟันหวีเสร็จเรียบร้อยแล้วนำด้ายมาม้วนกับแกนไม้ที่เตรียมไว้ ยกแกนไม้ที่ม้วนไว้เรียบร้อยแล้วสอดเข้าที่ทำการทอ

กลุ่มผู้ประกอบการ
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มทอผ้านาหมื่นศรี
สถานที่ผลิต : 119 หมู่ที่ 8 ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง 92170
โทร. 08-1476-4318
ประธานกลุ่ม : นางกุศล นิลลออ
สถานที่ตั้งกลุ่ม : 119 หมู่ที่ 8 ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง 92170
โทร. 08-1476-4318
เส้นทางการคมนาคม
1. รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารจากสถานีขนส่งสายใต้(ใหม่) ถึงจังหวัดตรัง
ทุกวัน ระยะทาง 828 กิโลเมตร
2. ทางรถไฟจากสถานีหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟตรังวันละ 1 เที่ยว ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 17.15 น. ถึงจังหวัดตรัง เวลา 08.30 น.
3. โดยเครื่องบินจากสนามบินดอนเมืองกรุงเทพฯ ถึงสนามบินจังหวัดตรัง

แหล่งจำหน่าย
1. กลุ่มดำเนินการจำหน่ายสินค้า (ผ้าทอ) ที่ทำการกลุ่มโดยสมาชิกผลัดเปลี่ยนกันเข้าเวรขาย เป็นประจำทุกวันๆละ 2 คน เปิดบริการตั้งแต่ เวลา 08.30 น. ถึงเวลา 17.00 น. โดยไม่รับค่าตอบแทน
2. จำหน่าย ณ ที่ศูนย์ OTOP IMT – GT Plaza จังหวัดตรัง โดยมีผู้แทนไปจำหน่าย บริการ
เป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 น.-20.00 น. ทางกลุ่มจะหักจากสมาชิกคนละ 30 บาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้ขาย และจะขายผ้าให้ผู้ขายในราคาขายส่ง
3. จำหน่าย ณ ที่ศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองจังหวัดตรัง คิดค่าบริหารจัดการโดยหักจากสมาชิกคนละ 30 บาท ขายในราคาขายส่ง
4. จำหน่าย ณ ร้านขนิษฐา อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง คิดค่าบริหารจัดการในการขายร้อยละ
5. จำหน่าย ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา / โรงแรมวัฒนาพาร์ค / โรงแรมตรัง

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>