งานเบิกฟ้าหาดสำราญ ครั้งที่3 ปี2555 จ.ตรัง

 

ประวัติความเป็นมาของตำบลหาดสำราญ

ตำบลหาดสำราญ เดิมเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอปะเหลียน ต่อมาในปี 2537 ได้แยกการปกครองมาเป็น 1 ใน 3 ตำบลของกิ่งอำเภอหาดสำราญ ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาไทยปักษ์ใต้ นับถือศาสนาพุทธประมาณ 80 % แบ่งเขตการปกครองเป็น 12 หมู่บ้านลักษณะภูมิประเทศ

มีหลายลักษณะ ทั้งที่ราบ เนินสูง ลำคลอง และป่าชายเลน โดยตอนกลางมีลักษณะที่ราบสลับเนินเป็นลูกคลื่นค่อนไปทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกของตำบล จากตอนกลางเป็นที่ราบลาดต่ำลงสู่ทะเลทางทิศตะวันตก ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศใต้ของตำบล สลับไปกับห้วยลักษณะขนานกับแนวชายฝั่งทะเล และลาดลงทะเลในที่สุดทิศเหนือ

ทิศใต้

ทิศตะวันออก

ทิศตะวันตก : ติดต่อกับ ตำบลบ้าหวี

: ติดต่อกับ ตำบลตะเสะ และชายฝั่งทะเลอันดามัน

: ติดต่อกับ ตำบลบ้าหวีและตำบลตะเสะ

: ติดต่อกับ ชายฝั่งทะเลอันดามัน

ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 3 ตำบล ของอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง มีอาณาเขตเต็มพื้นที่ตำบล ลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่ง มีที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตั้งอยู่ใกล้กับที่ว่าการกิ่งอำเภอหาดสำราญ

เนื้อที่ มีเนื้อที่ 76 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 47,500 ไร่

แหล่งน้ำธรรมชาติ

แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ทะเลอันดามัน คลองควนยาง คลองปากปรน ห้วยสะพาน ห้วยกรวด ฯลฯ ซึ่งบางแห่งน้ำทะเลเข้าถึง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

ฝาย

ประปาหมู่บ้าน

บ่อน้ำตื้น

ถังเก็บน้ำฝน

บ่อโยก

สระเก็บน้ำ จำนวน 4 แห่ง (ชำรุด 2 แห่ง)

จำนวน 21 แห่ง

จำนวน 100 แห่ง

จำนวน 10 แห่ง

จำนวน 7 แห่ง

จำนวน 25 แห่ง (สาธารณะ 5 แห่ง)

 

เศรษฐกิจ

อาชีพประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ

- ประมง

- เลี้ยงกุ้งกุลาดำ

- ทำสวนยางพารา

- การเกษตร

- ทำนา

- เลี้ยงสัตว์

หน่วยธุรกิจ

ตลาดนัด จำนวน 5 แห่ง

ปั๊มน้ำมัน จำนวน 1 แห่งภาคธุรกิจ

ธุรกิจในตำบลหาดสำราญเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ดังนี้

- ร้านค้าปลีก ซึ่งขายเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ มีในทุกหมู่บ้านๆ ละประมาณ 2 – 4 ร้าน

- ร้านค้าขายอุปกรณ์ก่อสร้าง ในตำบลหาดสำราญมี 4 ร้าน

- ร้านซ่อมรถยนต์และมอเตอร์ไซต์ มีประมาณ 6 – 8 ร้าน

- ร้านซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า มี 1 ร้าน

- ร้านตัดเย็บเสื้อผ้ามีประมาณ 4 – 5 ร้าน

- ตลาดนัดทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ ของสัปดาห์

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มพัฒนาอาชีพ ที่ผลิตสินค้าจนกลายเป็นสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลที่มีชื่อเสียงของตำบลหาดสำราญ กลุ่มพัฒนาอาชีพที่ว่านี้มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ

- กลุ่ม กุ้งแห้ง ปลาเค็ม และกะปิ หมู่ที่ 1

- กลุ่มทำของประดับบ้านจากกะลา หมู่ที่ 3ภาคการประมง

ประชากรในตำบลหาดสำราญที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง คือการทำประมงชายฝั่ง การหาปลาที่ห่างฝั่งออกไป การเลี้ยงปลาในกระชัง

นอกจากนี้ยังมีการทำนากุ้ง ที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง ซึ่งเมื่อประมาณ 5 – 6 ปีที่แล้ว มีการทำนากุ้งกันมาก แต่ชาวประมงต้องประสบปัญหาหลายด้าน ทำให้บางรายขาดทุนหมดตัว จึงเลิกกันไปหลายรายภาคการเกษตร

ประชากรในตำบลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำสวนยางพารา การทำสวนปาล์ม โดยเฉพาะการทำสวนปาล์ม นิยมปลูกกันมากขึ้น เพราะปลูกง่าย ต้นทุนต่ำ และไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มากนัก ก็สามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ภายใน 4 – 5 ปี เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่ายางพาราต้องใช้เวลาถึง 7 ปี กว่าจะให้ผลผลิตhttp://www.hatsamran.go.th

พิธีเปิดงาน เปิดฟ้าหาดสำราญ ครั้งที่3 ปี2555 โดย นายก อบจ. จังหวัดตรัง นายกิจ หลีกภัย

ช่วงพิธีเปิดงาน

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>