Category: ทรัพยากร

ปาล์มเจ้าเมืองตรัง

ปาล์มเจ้าเมืองตรัง

ปาล์มเป็นพันธุ์ไม้อีกกลุ่มที่พบมากในป่าดงดิบชื้นของเมืองตรัง สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้เขาช่องได้รวบรวมพันธุ์ปาล์มไว้มากมายหลายชนิด โดยเฉพาะพวกหวายจะมีเกือบครบทุกชนิด รวมทั้งไม้หายากที่กล่าวกันว่ามีถิ่นกำเนิดในเมืองตรังคือ ปาล์มเจ้าเมืองตรัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Licuala peltata Roxb.

ไม้เทพธาโร

ไม้เทพธาโร

ไม้เทพธาโร   ไม้เทพธาโร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจวงหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum Kosterm. และมีชื่อพ้องว่า C. parthenoxylon Nees มีทั่วไปในป่าดิบบนเขา เนื้อไม้สีเทาแกมน้ำตาล ริ้วสีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นหอมฉุน เนื้อเป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรงหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เหนียว แข็งปานกลาง เลื่อย ไส ตกแต่งง่าย ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง ทำเตียงนอน ตู้และหีบใส่เสื้อผ้าที่กันมอดและกันแมลงตัวอื่นๆ ได้ ในแถบพื้นที่ตำบลคลองมวนเคยมีไม้เทพธาโรนี้เป็นจำนวนมาก แต่ถูกโค่นทำลายปรับพื้นที่เป็นสวนยางหมดแล้ว ปัจจุบันมีผู้ไปขุดรากมาใช้แกะสลักเป็นรูปต่างๆ เพื่อนำมาขายเป็นของที่ระลึก    

ไม้มะริด

ไม้มะริด

ไม้มะริดคือไม้อีกชนิดหนึ่งที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์ของเมืองตรัง เป็นไม้ที่ใช้ส่งส่วยให้เมืองนครศรีธรรมราชมาแต่ดั้งเดิม ในคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเมืองตรัง พ.ศ. 2433 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ถึงเครื่องเรือนเครื่องใช้ประเภทตลับ โถ ที่ทำด้วยไม้มะริด และกล่าวถึงไม้มะริดในเมืองตรังว่า ได้ถามถึงไม้มะริดว่าไม่มีซื้อขายกัน แต่ต้นที่มีอยู่นั้นไม่ใช่บนเขาสูง ที่ต่ำๆ ก็มี

ไม้เคี่ยม

ไม้เคี่ยม

เป็นไม้มีชื่อของเมืองตรังชนิดหนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cotylelo bium melanoxylon Pierre, และมีชื่อพ้องว่า C.lanceolatum Craib เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีชุกชุมในป่าดิบทางภาคใต้ เนื้อละเอียด แข็ง เหนียว หนัก แข็งแรงมาก ใช้ในน้ำทนทานดี เลื่อยไส และตกแต่งได้ไม่สู้ยาก ใช้ทำบ้านเรือน เรือ แพ สะพาน เขื่อน ไม้หมอนรถไฟ และการก่อสร้างอื่นๆ ที่ต้องการความแข็งแรงทนทานมาก จากความแข็งแรงนี้เองทำให้มีสำนวนว่า หนักแน่แก่นเคี่ยม