Author: v

files111110225900

น้ำตกสายรุ้ง

อยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว ห่างจากตัวเมือง 35 กิโลเมตรจากเส้นทางอำเภอนาโยง เป็นน้ำตกสูงที่มองเห็นประกายรุ้งในละอองน้ำยามสะท้อนแดดบ่าย และเป็นต้นน้ำที่ไหลลงสู่งคลองลำพิกุล        

43174365_10217373842200890_7676760554152656896_o

น้ำตกช่อง

น้ำตกที่ลือชื่อในอดีตของเมืองตรังคือ น้ำตกช่อง หรือ น้ำตกกระช่อง อยู่ในเขตตำบลช่อง อำเภอนาโยง ห่างจากตัวเมือง 21 กิโลเมตร เป็นสถานที่ซึ่งพระมหากษัตริย์หลายพระองค์เสด็จประพาสมาแล้ว ทั้งรัชกาลที่5 รัชกาลที่6 รัชกาลที่7 รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมรินีนาถ บนก้อนหินใหญ่ริมโตนน้ำปลิว ยังมีพระบรมนามาภิไธยและพระนามาภิไธยย่อจารึกอยู่ให้ชาวตรังได้เห็นเป็นอนุสรณ์

files111110230731

ป่าชายเลน

จากป่าแปดยืนสุดท้ายซึ่งเป็นป่าบกในเขตตรังเขาให้กำเนิดธารน้ำนับร้อย ไหลผ่านที่ราบแห่งตรังนาออกสู่ทะเลอันดามัน ตรงช่วงรอยต่อผสมผสานระหว่างน้ำจืดน้ำเค็มไปจนถึงปากแม่น้ำ ยังมีมรดกชิ้นสำคัญเป็นผืนป่ากว้างใหญ่ที่เรียกกันว่า ป่าชายเลน

files111110235338

ป่าเขาหวาง ป่าควนแคง และป่าน้ำราบ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ซึ่งอยู่ในเขต 2 อำเภอ คือ อำเภอสิเกาและอำเภอกันตัง เป็นต้นกำเนิดคลองยูง คลองไม้แดง คลองห้วยไทร คลองน้ำเค็มไหลลงทะเลอันดามัน ส่วนคลองน้ำราบ คลองสิเหร่ และคลองลุ ไหลลงแม่น้ำตรังในเขตอำเภอกันตัง        

ป่าสายควนหละ และป่าเขาหวาง

ป่าสายควนหละ และป่าเขาหวาง

อยู่ในเขตอำเภอสิเกา เป็นต้นธารของคลองอ่างทอง น้ำตกอ่างทอง คลองผมเด็นจากตำบลไม้ฝาด ไหลผ่านตำบลนาเมืองเพชรรวมกันเป็นคลองสว่าง และลงสู่แม่น้ำตรังในเขตตำบลนาโต๊ะหมิง อำเภอเมือง อีกสายหนึ่งคือคลองหละ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับทำน้ำประปาใช้ในอำเภอสิเกา ไหลลงทะเลระหว่างหาดปากเมงกับหาดฉางหลาง      

files111110233941

ป่าสายคลองร่มเมือง ป่าสายควน และป่าเกาะอ้ายกลิ้ง

ป่าสายคลองร่มเมือง ป่าสายควน และป่าเกาะอ้ายกลิ้ง อยู่ในอำเภอสิเกา ให้กำเนิดคลองสำคัญของอำเภอคือคลองสิเกา ไหลลงสู่ทะเลอันดามัน      

kjopi

ป่าไส-ป่าแก่

พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม อำเภอวังวิเศษ เป็นต้นกำเนิดคลองลำลุง คลองช่องงาย คลองทรายขาว คลองส้านแดง รวมทั้งคลองชี คลองเหล่านี้ไหลรวมกับคลองชีลงสู่แม่น้ำตรังที่ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง และยังมีคลองกะลาเสใหญ่ ไหลผ่านอำเภอสิเกาลงสู่ทะเลอันดามัน ป่าแห่งนี้ยังเป็นต้นกำเนิดน้ำตกร้อยชั้นพันวังอีกด้วย      

ป่าเขาบรรทัด

ป่าเขาบรรทัด

ป่าเทือกเขาบรรทัดสามารถแบ่งได้เป็น แปลงที่ 1 ตอนที่ 1 อยู่ในเขตอุทยานเขาปู่-เขาย่า พื้นที่อำเภอห้วยยอด เป็นต้นน้ำของน้ำตกปากแจ่ม คลองลำภูรา อีกกลุ่มหนึ่งคือ คลองท่างิ้ว จากตำบลในเตา คลองหินแทนจากตำบลปากแจ่ม ไปรวมกับคลองยางยวน ลงสู่แม่น้ำตรังที่ตำบลเขากอบ ป่าเทือกเขาบรรทัดแปลงที่ 1 ตอนที่ 3 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า อำเภอรัษฎา ซึ่งอยู่เหนืออำเภอห้วยยอดขึ้นไป เป็นต้นกำเนิดคลองสำคัญคือคลองมวน คลองกะปาง และคลองท่าประดู่ ป่าเทือกเขาบรรทัดแปลงที่ 2 ตอนที่ 1 อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัดท้องที่อำเภอปะเหลียน เป็นต้น

ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี : คำขวัญอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง

ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี : คำขวัญอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง

ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี แม้จะเหมือนกับคำขวัญจังหวัดอื่นตรงที่เป็นข้อธรรมะ เป็นนามธรรม แต่เป็นข้อธรรมะที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในหมวดธรรมโดยตรง เป็นการมุ่งเน้นคุณค่าทางด้านประชาธิปไตยมากกว่าคุณค่าทางด้านศีลธรรมดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะวรรคแรก ชาวตรังใจกว้าง ซึ่งถือเป็นความหมายหลัก ส่วนวรรคหลังสร้างแต่ความดี เป็นความหมายรองที่ตามมา

งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ

งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ

งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ : งานประจำปีที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ เป็นงานประจำปีจังหวัดเดียวในประเทศไทย ที่ได้นำเอาสถาบันพระมหากษัตรย์และสถาบันการปกครองแบบประชาธิปไตยมาผสมผสานเข้าไว้ในงานรื่นเริงประจำปีที่ทางรัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้จังหวัดต่างๆ จัดงานประจำปีได้ปีละครั้ง จังหวัดต่างๆ มีอิสระในการจัดงาน

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม-ขนมเค้กเมืองตรัง

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม-ขนมเค้กเมืองตรัง

ขนมเค้กเมืองตรัง : ของฝากที่เป็นเอกลักษณ์จากเมืองตรัง ขนมเค้กเมืองตรังของฝากที่ใครก็ตามได้รับ แค่เห็นกล่องก็บอกได้ว่า นี่เป็นเค้กเมืองตรัง โดยยังไม่ได้ลองลิ้มชิมรสแม้แต่น้อย การที่คนต่างบ้านต่างเมือง แค่เห็นกล่องขนมเค้กของเมืองตรัง ก็บอกได้ว่านั่นเป็นขนมของเมืองตรัง ก็เพราะขนมชนิดนี้บรรจุกล่องแบบนี้ไม่มีที่จังหวัดอื่น แต่ไม่ได้หมายความว่า ส่วนผสมหลัก เนื้อในแบบนี้ รสชาติแบบนี้ ไม่มีที่บ้านอื่นเมืองอื่น

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม-กินหมูย่างกับกาแฟ

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม-กินหมูย่างกับกาแฟ

กินหมูย่างกับกาแฟ : อาหารมื้อเช้า อันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง การกินกาแฟแทนอาหารมื้อเช้าเป็นปกติวิสัยของหมู่คนจีนในเมืองตรังมานานแล้ว และนิยมมาสู่หมู่คนตรังชั้นกลางที่เป็นข้าราชการ นักธุรกิจที่อยู่ในเขตตรังเมือง ชานเมืองเป็นลำดับต่อมา

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-พะยูน

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-พะยูน

ตันหยง ตันหยง หยงไหรละน้อง เจ้าดอกเหฺมฺล บังไปไม่รอดเสียแล้วแด ถูกเหน่น้ำตาปลาดุหยง คดข้าวสักหวัก คิดถึงน้องรักบังกินไม่ลง ถูกเหน่น้ำตาปลาดุหยง บังกินไม่ลงสักคำเดียว บทเพลงรองเง็งบทนี้ร้องกันอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลตะวันตก ซึ่งรวมทั้งที่เมืองตรัง นอกจากการทำหน้าที่สะท้อนความเชื่อแล้ว ยังเป็นเครื่องยืนยันว่ปลาดุหยงหรือพะยูนเป็นที่รู้จักมานานแล้วในแถบนี้ ปลาดุหยงหรือพะยูน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตระกูลเดียวกับช้าง มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น หมูน้ำ เงือก วัวทะเล Dugong Sea cow มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugong มีนิทานชาวบ้าน กล่าวถึงหญิงมีครรภ์ที่อยากกินลูกหญ้าชะเงาซึ่งเป็นหญ้าทะเลชนิดหนึ่ง การกินหญ้านี้ทำให้นางกลายเป็นปลาดุหยงไปในที่สุด สมัยก่อน เรื่องราวของพะยูนคงเป็นรับรู้กันเฉพาะในหมู่เล ทั้งด้วยตำนาน...

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-ภูมิประเทศเมืองตรัง

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-ภูมิประเทศเมืองตรัง

จากเครื่องหมายภูเขา คือตลอดแนวเทือกเขาบรรทัดในเขตภูเขาและเชิงเขา และต่อลงมาถึงพื้นที่เขตลอนลูกฟูกคือที่ราบแคบๆ สลับควนหรือเนิน แทรกด้วยภูเขาหินปูนโดด ที่ลุ่มหนองน้ำอันเกิดจากหลุมยุและหลุมจม ทุกลักษณะมีครบถ้วนในเขตตัวเมืองตรัง กลายเป็นเอกลักษณ์แห่งเมือง พื้นที่ควนที่เหนได้ชัดคือบริเวณที่ตั้งศาล ศาลากลาง และจวนผู้ว่าราชการจังหวัด วัดควนวิเศษ อนุสาวรีย์พระยารัษฎาฯ

เกลอเขา-เกลอเล

นิทานพื้นบ้านเรื่องไอ้เกลอเขา – ไอ้เกลอเล

หากนิทานพื้นบ้านยังเป็นที่เชื่อถือและยอมรับกันว่า ตัวละครในเรื่องคือภาพลักษณ์และพฤติกรรมของสังคมนั้นในยุคนั้น ตัวละครคือสภาพทางสัมคมศาสตร์ อันหมายถึงนิสัยใจคอของผู้คน เรื่องราวไอ้เกลอเขา – ไอ้เกลอเล คือภาพลักษณ์และพฤติกรรมของคนเมืองตรังในครั้งกระโน้น แม้จะไม่ทุกส่วน แต่มีลักษณะเป็นองค์รวมของความเป็นคนเมืองตรังอย่างแน่นอน 

ภูมิปัญญาตรัง กับหมอยาพื้นบ้านและการใช้สมุนไพร

ภูมิปัญญาตรัง กับหมอยาพื้นบ้านและการใช้สมุนไพร

คงไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า สมุนไพรตัวใด ยาพื้นบ้านขนานใด เป็นการค้นพบโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นตรัง ด้วยความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรรักษาโรคนั้นมีมาช้านาน จากประวัติในสมัยพุทธกาลมีการบัญญัติและกล่าวถึงสมุนไพรในพระไตรปิฎก เช่น ขมิ้น ขิง ดีปลี สมอ มะขามป้อม มหาหิงค์ เป็นต้น จากการที่รัชกาลที่ 3 โปรดให้จารึกตำรายาไว้ที่ฝาผนังวัดพระเชตุพนฯ ถือเป็นการยืนยันความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรเป็นอย่างดี และถือเป็นการตรวจสอบมาตรฐานสรรพคุณไปด้วยในตัว ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อโรงเรียนแพทย์เปิดสอนครั้งแรก พ.ศ. 2432 โรงพยาบาลศิริราช ใช้ยาสมุนไพรตามแผนโบราณทั้งหมด

ตรังเมือง : กับภูมิปัญญาการสื่อสารข่าว

ตรังเมือง : กับภูมิปัญญาการสื่อสารข่าว

ตรังเมืองมีคนจีนพลัดถิ่นมาทำมาหากินในยุคแรกๆ อย่างน้อยสามกลุ่มคือ เปิดร้านขายน้ำชากาแฟ ซื้อของเก่า และปลูกผักขาย ความเป็นคนพลัดถิ่นได้ถักทอความรักความอาทรห่วงใยไว้อย่างเหนียวแน่น แม้ว่างานบีบรัดแบบปากกัดตีนถีบ ไปมาหาสู่ไม่ได้ แต่ข่าวคราวติดต่อสื่อสารกันมิได้ขาด ร้านนน้ำชากาแฟคือศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน มีทั้งสื่อตรงระหว่างกัน และบอกต่อปากต่อปาก

ตรังเล

ตรังเล : กับภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่ทำลายล้าง

ตลอดระยะเวลา 119 กิโลเมตรของทะเลตรัง ชุมชนตรังดำรงชีวิตอยู่ด้วยทรัพยากรทางทะเลเกือบร้อยเปอร์เซนต์ ในช่วงแรก ทำการประมงแบบยังชีพ ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมไม่ทำลายล้าง ตามชายฝั่งน้ำตื้น แต่ต่อมารัฐได้ให้สัมปทานป่าชายเลนเพื่อเผาถ่าย ใช้เรืออวนลากทำการประมงเชิงพาณิชย์เพื่อการส่งออก ป๊ะบู นวลศรี ปราชญ์ชาวบ้านตรังเล บ้านแหลมมะขาม อำเภอสิเกา ได้ฉายภาพความเป็นตรังเลแต่อดีตสู่ปัจจุบันไว้ดังนี้

ตรังเขา : กับภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่เกิดจากการสั่งสมสืบทอดบนวงเวียนชีวิต

ตรังเขา : กับภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่เกิดจากการสั่งสมสืบทอดบนวงเวียนชีวิต

ความเป็นตรังเขา เริ่มต้นชีวิตกลางป่า และจบชีวิตลงกลางป่า มาหลายชั่วอายุคนแล้ว คือ ใบปริญญาที่รับรองว่า หมู่ตรังเขา มีภูมิปัญญา ดำรงชีพ ดำรงชีวิตอยู่กับป่า กับสัตว์ป่า ภายใต้กฎเกณฑ์ เสพ – สร้าง ระหว่างกันโดยไม่เสียสมดุล กลมกลืนอยู่ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ดังจะยกให้เห็นพอเป็นรูปธรรม

บทสรุปบนเส้นทางภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ตรังเขา ตรังนา ตรังเล

บทสรุปบนเส้นทางภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ตรังเขา ตรังนา ตรังเล

บนเส้นทางภูมิปัญญาและเทคโนโลยี ตรังเขา ตรังนา ตรังเล บนเส้นทางการพึ่งพาตนเอง และการพึ่งพิงเพื่อนบ้านย่านเคียงภายใต้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมไม่ทำลายล้าง ทั้งตนเอง ผู้อื่น และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของตรังเขา ตรังนา และตรังเล ที่ผ่านมาถูกละเลยลืมเลือนไปบ้าง แต่วันนี้ของตรังเขา ตรังนา ตรังเล รู้แล้วว่า อะไรเป็นอะไร