Author: v

นก

แหล่งนก

  จังหวัดตรังมีแหล่งนกที่นักดูนกรู้จักกันดี โดยเฉพาะที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเกาะลิบง นับเป็นแหล่งนกอพยพจากแดนไกลแหล่งใหญ่ที่สุดในฝั่งทะเลตะวันตก นอกจากนี้ยังมีแหล่งนกประจำถิ่นอีกหลายแห่ง เช่น วังนกน้ำ อำเภอวังวิเศษ อุทยานนกน้ำคลองลำชาน สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์หรือสวนสาธารณะทุ่งน้ำผุดของเทศบาลเมืองตรัง สระกะพังสุรินทร์ ทะเลสองห้อง ที่น้ำตกร้อยชั้นพันวังนั้นเป็นแหล่งของนกแต้วแร้วทองดำ ที่เขาหลักตำบลน้ำผุดจะมีนกเงือก ส่วนตามป่าโปร่งเชิงเขาแถบบ้านหาดเลา แหลมสอม และป่าดงใกล้เคียง จะมีเสียงเพลงเซ็งแซ่จากนกบินหลา หรือนกกางเขน และนกกรงหัวจุก หรือนกปรอด ต่อมานกเหล่านี้ถูกจับไปอยู่ในกรงตามบ้านนักนิยมทั้งในเมืองตรังและต่างจังหวัด เสียงเพลงจากนกน้อยจึงแผ่วลงทุกวัน

Holothuria_atra2 ปลิงทะเล

ปลิงทะเล

ปลิงทะเลมีชื่อวิทยาศาสตร์ Holothuria atra เป็นสัตว์ตัวสีดำแกมเทา ถ้าพลิกท้องจะเห็นเป็นสีขาว รูปร่างทรงกระบอก ยาวประมาณ 5-6 นิ้ว มีปากช่องขับถ่ายอยู่ที่ส่วนหัวและส่วนหาง ผิวขรุขระรอบตัว ฝังตัวอยู่ตามโคลน ทรายหรือตามกอหญ้าทะเล บางทีก็ถูกคลื่นซัดขึ้นมาอยู่ตามชายหาด พบมากตามเกาะต่างๆ ทั้งเกาะลิบง เกาะมุก และเกาะสุกร ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปลิงทะเลตากแห้งจากเกาะลิบงเป็นสินค้าออกที่สำคัญอย่างหนึ่ง

Donax scortum Linn. หอยตะเภา

หอยตะเภา

หอยตะเภา เป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปในท้องถิ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Donax scortum Linn. มีชื่อพ้องว่า Hecuba scortum Linn. บริเวณที่พบหอยตะเภามากที่สุดคือที่หาดปากเมง อำเภอสิเกา ที่หาดสำราญก็มีบ้าง บริเวณที่มีหอยตะเภามักจะพบหอยเจดีย์หรือหอยหลักไก่อาศัยอยู่ด้วย

Solen-strictus-Gould. หอยหลอด

หอยหลอด

หอยหลอด ชาวบ้านเรียกหอยชนิดนี้ว่าหอยยอน ชื่อวิทยาศาสตร์ Solen strictus Gould. พบมากที่บริเวณชายหาดสำราญของกิ่งอำเภอหาดสำราญ ชาวบ้านมีวิธีหาหอยหลอดแบบง่ายๆ คือสังเกตดูว่ามีมูลหอยอยู่ที่ใด เมื่อพบให้ใช้ส้นเท้าย่ำลงบนพื้นดินตรงนั้น ถ้ามีหอยอยู่ รูหอยจะเปิดขึ้นพร้อมกับที่หอยบ้วนน้ำ การจับหอยต้องใช้ก้านมะพร้าวอันเล็กๆ กัดปลายให้แตกบานออกเล็กน้อย เพื่อให้ติดน้ำยาซึ่งทำด้วยปูนขาวผสมพริกชี้ฟ้าตำละเอียด ละลายน้ำให้ข้นๆ เอาก้านมะพร้าวจุ่มน้ำยาแหย่ลงไปในรู หอยทนพิษยาไม่ไหวก็จะขึ้นมาให้เห็นจนถึงขึ้นมาได้

oyster หอยนางรม

หอยนางรม

หอยนางรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crassostrea commerciallis ภาษาอังกฤษเรียก oyster ชาวบ้านเรียกว่าหอยแตะหรำ คำนี้ยังเป็นชื่อหมู่บ้านในอำเภอกันตัง คำว่า แตะหรำ มาจาก ติรัม ภาษามลายู แปลว่า หอย บริเวณปากแม่น้ำปะเหลียนโดยเฉพาะตรงบ้านแหลมเป็นแหล่งหอยนางรมธรรมชาติที่ใหญ่มากแหล่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นหอยสีขาวที่มีคุณภาพซึ่งราคาดีมาก แต่ด้วยการเก็บเกี่ยวเพื่อขายมากขึ้นทำให้หอยลดน้อยลงทุกที

ปลาตุหนา ปลาไหลดำ

ปลาตูหนา อาหารโปรดของ พระยารัษฎานุประดิษฐ์

มีตำนานชาวบ้าบกล่าวถึงปลาชนิดหนึ่งในแม่น้ำตรังว่ามีตัวใหญ่ขนาด หูเท่ากระด้ง ปลามีหูชนิดนี้คือปลาไหลหูดำ ปลาตูหนา ตุหนา หรือโตะหนา เรียก ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Anguilla bicolour และชื่อภาษาอังกฤษว่า True eel

Capricornis-sumatraensis

เลียงผา

เลียงผา เรียกชื่อตามชาวบ้านว่า คุรำ คูรำ หรือโครำ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis sumatraensis รูปร่างคล้ายแพะ ต่างกันแต่เลียงผาไม่มีเคราอย่างแพะ สีดำตลอดลำตัว มีเขาเป็นรูปกรวยโค้งไปข้างหลัง มีนิสัยชอบกระโดดปีนป่ายไปตามหน้าผาหิน เลือกกินใบไม้อ่อนๆ เป็นอาหาร ซึ่งมีหลายชนิด เช่น เหยื่อคุรำ เป็นไม้ล้มลุก มีผู้นิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับด้วย อื่นๆ ก็มี เกล็ดมังกร และใบเข็มป่า เป็นต้น

หญ้าทะเล

หญ้าทะเล

หญ้าทะเลเป็นพืชชั้นสูงชนิดหนึ่งที่สามารถเติบโตได้ดีในน้ำทะเล ซึ่งนักพฤษศาสตร์กล่าวว่า หญ้าทะเลเป็นพืชที่วิวัฒนาการมากสาหร่ายทะเล และเคยเป็นพืชที่เจริญเติบโตอยู่บนบก ต่อมาได้ปรับตัวลงไปเจริญเติบโตในทะเลอีกครั้ง เป็นพืชที่พบว่าสามารถเติบโตได้ดีในเขตอบอุ่นถึงเขตร้อน อยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นเป็นปล้องอยู่ใต้ดิน มีรากงอกออกมาตามข้อ กิ่งก้านใบจะงอกชูขึ้นข้างบน มีดอกและมีผล ในจังหวัดตรังพบหญ้าทะเลขึ้นชุกชุมตามแถบชายฝั่งหลายแห่ง ที่พื้นทะเลมีสภาพเป็นดินทรายปนโคลน เช่น เกาะสุกร เกาะลิบง เกาะนก ปากคลองเจ้าไหม เกาะมุก หาดฉางหลาง และแหลมไทร

nypa-3989109_1280

จาก

จาก พืชอีกชนิดหนึ่งที่เป็นพืชตระกูลปาล์มเช่นเดียวกับสาคูคือจาก (Atap palm) ที่อยู่ของจากคือป่าชายเลน บริเวณน้ำกร่อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nypa fruticans Wurmb แหล่งจากของจังหวัดตรังเป็นแนวขนานกับแม่น้ำตรัง เขตอำเภอกันตัง เริ่มตั้งแต่ตำบลบางหมากตอนล่าง ย่านซื่อ คลองลุ บ่อน้ำร้อน ลงมาจนถึงตำบลกันตังใต้ ตามชายฝั่งแม่น้ำปะเหลียนก็มีอยู่ตรงบริเวณบ้านแหลม ตำบลวังวน และพื่นที่อื่นๆ ที่น้ำทะเลขึ้นถึง หมู่บ้านริมแม่น้ำจึงมีอาชีพทำใบจากกันมาแต่ดั้งเดิม แหล่งใหญ่ที่สุดที่ยังคงทำใบจากสำหรับมวนยาสูบส่งขายและสืบทอดวิถีชีวิตริมแม่น้ำกับป่าจากมาจนปัจจุบันคือตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง

sago-palm-6576817_1280

สาคู

จากมรดกพืชพรรณแห่งตรังเขาลงมาสู่พื้นล่าง ตามที่ราบลุ่มตรังนาที่ยังคงความชุ่มชื้นอยู่ได้ เพราะมีพืชพรรณชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เป็นหย่อมๆ ตามแหล่งน้ำกลางทุ่ง นั่นคือ สาคู เป็นพืชตระกูลปาล์ม มี 2 ชนิด ชนิดที่ก้านช่อดอกไม้ไม่มีหนาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Metroxylon sagu Rottb. ส่วนชนิดที่ก้านช่อดอกมีหนามชื่อ Metroxylon rumphii Mart. คำว่าสาคู มาจากภาษามลายู ภาษาอังกฤษเรียกว่า Sago palm

paco fern 3

ผักกูด

  ตรังเป็นเมืองที่แสนอุดมสมบูรณ์ และหนึ่งในผักพื้นถิ่นยอดนิยมของบ้านเรา ก็คือ ผักกูด ซึ่งเอามาทำอาหารอร่อยได้หลายชนิด โดยเฉพาะยำผักกูด ที่ใครเคยชิมแล้วต้องชอบใจ นึกอยากกินจนน้ำลายสอ ผักกูดเป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Athyrium esculentum Copel. วงศ์ Athyriaceae ชื่อพ้องคือ Diplazium esculentum Sw. ชอบขึ้นตามที่ชื้น พบบริเวณที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ลำน้ำทั่วไป ตั้งแต่ที่ราบตรังนาจนไปถึงตามริมห้วย ในป่าต้นน้ำของเมืองตรังยังมีผักกูดอยู่อีกมาก นับเป็นพืชชั้นล่างที่เป็นตัวดัชนีชี้วัดความชุ่มชื้นของแผ่นดิน เพราะที่ใดมีผักกูดที่นั้นจะไม่ขาดน้ำ

pepper-525696_1280

พริกไทย

พริกไทยเป็นพืชเมืองร้อน ถิ่นกำเนิดเดิมคืออินเดีย จัดเป็นประเภทเครื่องเทศและสมุนไพร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum Linn. วงศ์ Piperaceae พริกไทยที่มีชื่อของเมืองตรังคือพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน

จั๋งน้ำพราย

จั๋งน้ำพราย

พืชสกุลปาล์มในประเทศไทยมีไม่ต่ำกว่า 150 ชนิด อยู่ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ประมาณ 100 ชนิด แต่ละชนิดมีรูปทรง ก้าน ใบ แตกต่างกันออกไปเป็นเสน่ห์เฉพาะตัว ในป่าเมืองตรังมีปาล์มอีกชนิดหนึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักนิยมปาล์มคือจั๋งน้ำพราย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhapis siamensis Hodel ส่วนในภาษาอังกฤษเรียก Lady palm หรือ Rhapis palm ชื่อจั๋งน้ำพรายเป็นการเรียกตามถิ่นกำเนิด เพราะพบครั้งแรกในบริเวณเขาน้ำพราย ตำบลปากคม อำเภอห้วยยอด

ปาล์มเจ้าเมืองตรัง

ปาล์มเจ้าเมืองตรัง

ปาล์มเป็นพันธุ์ไม้อีกกลุ่มที่พบมากในป่าดงดิบชื้นของเมืองตรัง สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้เขาช่องได้รวบรวมพันธุ์ปาล์มไว้มากมายหลายชนิด โดยเฉพาะพวกหวายจะมีเกือบครบทุกชนิด รวมทั้งไม้หายากที่กล่าวกันว่ามีถิ่นกำเนิดในเมืองตรังคือ ปาล์มเจ้าเมืองตรัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Licuala peltata Roxb.

ไม้เทพธาโร

ไม้เทพธาโร

ไม้เทพธาโร   ไม้เทพธาโร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจวงหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum Kosterm. และมีชื่อพ้องว่า C. parthenoxylon Nees มีทั่วไปในป่าดิบบนเขา เนื้อไม้สีเทาแกมน้ำตาล ริ้วสีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นหอมฉุน เนื้อเป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรงหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เหนียว แข็งปานกลาง เลื่อย ไส ตกแต่งง่าย ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง ทำเตียงนอน ตู้และหีบใส่เสื้อผ้าที่กันมอดและกันแมลงตัวอื่นๆ ได้ ในแถบพื้นที่ตำบลคลองมวนเคยมีไม้เทพธาโรนี้เป็นจำนวนมาก แต่ถูกโค่นทำลายปรับพื้นที่เป็นสวนยางหมดแล้ว ปัจจุบันมีผู้ไปขุดรากมาใช้แกะสลักเป็นรูปต่างๆ เพื่อนำมาขายเป็นของที่ระลึก    

ไม้มะริด

ไม้มะริด

ไม้มะริดคือไม้อีกชนิดหนึ่งที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์ของเมืองตรัง เป็นไม้ที่ใช้ส่งส่วยให้เมืองนครศรีธรรมราชมาแต่ดั้งเดิม ในคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเมืองตรัง พ.ศ. 2433 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ถึงเครื่องเรือนเครื่องใช้ประเภทตลับ โถ ที่ทำด้วยไม้มะริด และกล่าวถึงไม้มะริดในเมืองตรังว่า ได้ถามถึงไม้มะริดว่าไม่มีซื้อขายกัน แต่ต้นที่มีอยู่นั้นไม่ใช่บนเขาสูง ที่ต่ำๆ ก็มี

ไม้เคี่ยม

ไม้เคี่ยม

เป็นไม้มีชื่อของเมืองตรังชนิดหนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cotylelo bium melanoxylon Pierre, และมีชื่อพ้องว่า C.lanceolatum Craib เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีชุกชุมในป่าดิบทางภาคใต้ เนื้อละเอียด แข็ง เหนียว หนัก แข็งแรงมาก ใช้ในน้ำทนทานดี เลื่อยไส และตกแต่งได้ไม่สู้ยาก ใช้ทำบ้านเรือน เรือ แพ สะพาน เขื่อน ไม้หมอนรถไฟ และการก่อสร้างอื่นๆ ที่ต้องการความแข็งแรงทนทานมาก จากความแข็งแรงนี้เองทำให้มีสำนวนว่า หนักแน่แก่นเคี่ยม

rubber-5191097_1280

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-ยางพารา

เมืองตรังเป็นถิ่นกำเนิดยางพารา หลักฐานคือต้นยางพาราต้นแรกของประเทศไทยที่อำเภอกันตัง ชาวตรังจึงเห็นว่าต้นยางพาราเป็นต้นไม้คู่เมือง ยางพาราเป็นต้นไม้ที่มีมากที่สุดของจังหวัด ในปี พ.ศ. 2541 จังหวัดตรังมีพื้นที่ปลูกยางพาราถึง 1,173,468 ไร่ ซึ่งนับเป็นร้อยละ 71.46 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดในจังหวัด ยางพารามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hevea Brasiliensis (Willd. Ex A. Juss.) Muell .Arg. มีต้นกำเนิดมาจากแถบลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ ต่อมามีผู้นำมาปลูกที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย หรือชวาและมลายูในสมัยโน้น

ดอกสรีตรัง

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ-ศรีตรัง

ศรีตรังเป็นไม้เมืองร้อน มีต้นกำเนิดที่บราซิล มีผู้นำพันธุ์เข้ามาปลูกในแหลมมลายู เช่นเดียวกับต้นยางพารา ผู้นำเข้ามาปลูกในเมืองตรังคือพระยารัษฎาฯ ชื่อวิทยาศาสตร์ ของศรีตรังคือ Jacaranda obtusifolia ssp. rhombifolia (Meijer) Gentry มีชื่อพ้องว่า J. acutifolia Humb. & Bonpl. และ J.filicifolia (Anders) D.Don วงศ์ Bignoniaceae

files111110225900

น้ำตกไพรสวรรค์

อยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลโพรงจระเข้ ห่างจากน้ำตกสายรุ้งเพียง 3 กิโลเมตรบนถนนสายเดียวกัน ทางเดินของสายน้ำจากไพรสวรรค์คือคลองสอ ซึ่งลงสู่คลองปะเหลียน