iamtrang.com

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-สถาปัตยกรรมดีเด่น

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-สถาปัตยกรรมดีเด่น

อุโบสถวัดเขากอบ วัดเขากอบตั้งอยู่ที่ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด อุโบสถวัดเขากอบสร้างเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2503 โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคา 2 ชั้น หันหน้าทางทิศตะวันออก มีระเบียงโดยรอบ แต่มีลักษณะพิเศษ คือ มีมุข 3 ด้าน ได้แก่ ด้านหน้า ด้านหลัง และมุขข้างเพียงด้านเดียวคือด้านทิศใต้ ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายฉลุโปร่ง เป็นช่องลมในตัว

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-แหล่งประวัติศาสตร์

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-แหล่งประวัติศาสตร์

แหล่งประวัติศาสตร์เกาะลิบง ตามประวัติเมืองตรัง โต๊ะฮ้าหวาหรือโต๊ะปังกะหวา ผู้นำชุมชนในเกาะลิบง ได้เป็นพระยาลิบงตำแหน่งเจ้าเมือง ต่อมาเมื่อสิ้นพระยาลิบงแล้ว หลวงฤทธิสงครามได้เป็นเจ้าเมือง

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-แหล่งโบราณคดี

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-แหล่งโบราณคดี

แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาสามบาตร ถ้ำเขาสามบาตร บางแห่งเขียน สามบาทเป็นถ้ำบนภูเขาหินปูนเล็กๆ ใกล้แม่น้ำตรังและวัดไพรสณฑ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลนาตาล่วงอำเภอเมืองตรัง ชาวบ้านเล่าว่า มีผู้นำทรัพย์สมบัติมาซุกซ่อนไว้มากถึง 3 บาตรพระ และยังผูกปริศนาลายแทงไว้ว่า ขึ้นต้นขาม (มะขาม) ข้ามต้นทึง (กะทิง) ถึงต้นข่อยคอย (มอง) ลงมา ไม้ค่าวาคัดออก ใครทายออก กินไม่รู้สิ้น

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-โบราณวัตถุ

มรดกวัฒนธรรม-โบราณคดี-โบราณวัตถุ

พระงาม เป็นพระพุทธรูปประจำวัดพระงาม ประดิษฐานอยู่ในศาลาการเปรียญของวัด วัดตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง ตามประวัติกล่าวว่า วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2224 มีตำนานว่านางเลือดขาวเป็นผู้มาสร้างวัดพระงามและสร้างพระพุทธรูปไว้ในคราวเดียวกับที่สร้างวัดพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์

มรดกธรรมชาติ – แหล่งแร่

มรดกธรรมชาติ – แหล่งแร่

ตามโครงสร้างทางธรณีวิทยา การดันตัวของทิวเขานครศรีธรรมราชเมื่อประมาณ 120 ปีที่แล้ว ได้ดันเอาแร่สำคัญขึ้นมาด้วย แร่ที่พบมากที่สุดในเมืองตรังได้แก่ดีบุก ส่วนแร่อื่นๆ ก็มีบ้าง เช่น ถ่านหิน แบไรต์ โคลัมไบต์

มรดกธรรมชาติ – สัตว์

มรดกธรรมชาติ – สัตว์

ในพื้นที่จังหวัดตรังมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2 เขต และเขาห้ามล่าสัตว์ป่า 3 เขต ครอบคลุมพื้นที่ทั้งเป็นป่าดงดิบชื้น รวมลงมาถึงป่าผสมภูเขาหินตามเขาหินปูนโดด จนถึงเขตทะเลและชายฝั่ง เป็นที่อยู่ของสัตว์มากมายหลายชนิด รวมทั้งบรรดาสัตว์สงวนที่ปัจจุบันยังมีเหลืออยู่และที่เกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ยังมีผู้เคยได้เห็นในอดีต และร่วมกันถ่ายทอดเพื่อบันทึกไว้เป็นมรดกทางความทรงจำให้คนรุ่นหลังได้รับรู้

17353567_10212500708775600_1025375532598557347_n

มรดกธรรมชาติ – เกาะในทะเลตรัง

น่านน้ำเมืองตรัง มีเกาะใหญ่น้อยจำนวนทั้งหมด 46 เกาะ แต่ละเกาะมีลักษณะธรรมชาติแตกต่างกัน บางเกาะเป็นที่อยู่อาศัย บางเกาะเป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวหรือแห่งทรัพยากรสำคัญ

มรดกธรรมชาติ – หาดทราย

มรดกธรรมชาติ – หาดทราย

จังหวัดตรังมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 119 กิโลเมตร และมีหาดทรายสวยงามหลายแห่ง จนในคำขวัญ่งเสริมการท่องเที่ยววรรคหนึ่งของเมืองตรังกล่าวว่า เสน่ห์หาดทรายงาม

มรดกธรรมชาติ – ถ้ำ

มรดกธรรมชาติ – ถ้ำ

ในเขตพื้นที่ลอนลูกฟูก มีผลงานสร้างสรรค์ของธรรมชาติทำให้เกิดเขาหินปูนกระจายอยู่ในเขตเขาจนลงมาถึงกลางทุ่งของเมืองตรัง เบางลูกถูกน้ำกัดเซาะอย่างต่อเนื่องกลายเป็นโพรงประดับประดาด้วยหินงอกหินย้อยงดงาม บางแห่งมีสายน้ำคดเคี้ยวไปตามโพรง บางแห่งเป็นแหล่งโบราณคดี บางแห่งได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

มรดกธรรมชาติ – แหล่งน้ำ

มรดกธรรมชาติ – แหล่งน้ำ

การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของเปลือกโลกและการกระทำงน้ำใต้ดิน ก่อให้เกิดพื้นที่ซึ่งเรียกว่า หลุมยุบและหลุมจม และกลายป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ บางส่วนเคยเป็นที่น้ำทะเลท่วมถึง บางแห่งมีแร่ธาตุในดินทำให้เกิดน้ำร้อน น้ำพราย สภาพธรรมชาติเช่นนี้ปรากฎให้เห็นทั่วไปในเมืองตรัง ทั้งในรูปของห้วย หนอง คลอง วัง สระ บ่อ ดังนี้

43317173_10217373842840906_4413989953692762112_o

มรดกธรรมชาติ – น้ำตก

มรดกอันยิ่งใหญ่จากผืนป่าต้นน้ำ คือสายธารที่ไหลมาหล่อเลี้ยงชีวิตชาวตรังก่อนจะไหลลงสู่ที่ราบลุ่ม สายน้ำเหล่านี้ต่างเดินทางผ่านโขดเขา ผาสูง และแนวป่า กลายเป็นน้ำตกที่ยังนับจำนวนได้ไม่หมด มีทั้ง โตน น้ำตกที่กระโจนจากหน้าผาสูง และหนาน น้ำตกที่ไหลเลาะผ่านชั้นหินเตี้ยๆ

มรดกธรรมชาติ – พื้นที่ป่า

มรดกธรรมชาติ – พื้นที่ป่า

พื้นที่ป่าในจังหวัดตรังสามารถแบ่งออกได้เป็น ป่าต้นน้ำ และ ป่าชายเลน ป่าต้นน้ำ ในพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดตรัง ตามหลักฐานเดิมกล่าวว่ามีพื้นที่ป่าไม้ถึง 1,890,021 ไร่ แต่พอถึงปี พ.ศ. 2538 สภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์จริงๆ ยังคงเหลือเพียง 596,719 ไร่ หรือ 19.42 % ของเนื้อที่ทั้งจังหวัดเท่านั้น

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-พนม ลักษณะพริ้ม : ดวงใจคือดวงตา

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-พนม ลักษณะพริ้ม : ดวงใจคือดวงตา

 พนม  ลักษณะพริ้ม เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2512 เป็นบุตรของนายมนัส และนางเคลื่อนลักษณะพริ้ม บ้านควนหินหมู่ที่ 4 ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว คือที่เกิดของนักกีฬาผู้มีดวงใจใช้แทนดวงตา จนกระทั่งขึ้นสู่ความเป็นผู้มีชื่อเสียงในวงการกีฬาระดับชาติและระดับนานาชาติ

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-อาคม เฉ่งไล่ : นักมวยเหรียญทองแดงโอลิมปิก

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-อาคม เฉ่งไล่ : นักมวยเหรียญทองแดงโอลิมปิก

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2513 คือวันกำเนิดทารกน้อยเพศชายของแม่ชีพ และพ่อแวก หรือสุกเฉ่งไล่แห่งบ้านเลขที่ 50/1 หมู่ที่ 1 ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง เมื่อเล็กๆตอนเพิ่งเข้าเรียนขั้รประถมอาคมชอบเล่นต่อยมวยคู่ซ้อมที่ชกกันประจำคือธัญญ่าเฉ่งไล่พี่ชายคนติดกันแม่ชีพได้นวมเก่าๆ มาคู่หนึ่งเย็บชุนให้ลูกเล่น

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-พุฒ ล้อเหล็ก

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-พุฒ ล้อเหล็ก

 พุฒ ล้อเหล็ก  คือนามของนักมวยไทยที่เป็นที่รู้จักกันดีในอดีตตำแหน่งยอดมวยไทยที่ไร้คู่ต่อสู้และตำแหน่งรองแชมเปี้ยนโลกในรุ่นไลต์เวตสองสถาบันคือประกาศนียบัตรรับรองความเป็นนักสู้ที่มีชั้นเชิงลีลาตลอดจนปฏิภาณไหวพริบของชายชาวตรังผู้มีนามจริงว่า ทวี พิพัฒกุล

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-ขุกมิ่ง แซ่งเฮง : ผู้สร้างตำนานเค้กลำภูรา

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-ขุกมิ่ง แซ่งเฮง : ผู้สร้างตำนานเค้กลำภูรา

ในห้วงเวลาที่ไม่ต่ำกว่ากึ่งศตวรรษ ผู้คนต่างถิ่นที่เดินทางไปมาโดยมีเมืองตรัง เป็นเมืองผ่านหรือเป็นเมืองจุดหมายปลายทางมีไม่น้อย ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน และถามถึงเรือกันตังพร้อมกับขนมเค้กนามแรกเป็นท่าเรือเก่าแก่เป็นเส้นทางคมนาคมจากแผ่นดินถึงเกาะที่มีชื่อเช่นเกาะภูเก็ตและปีนังอีกนามหนึ่งเป็นชื่อขนมที่ซื้อติดมือเป็นของฝากเรียกกันว่า เค้กขุกมิ่ง

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-สนธิกาญจน์ กาญจนาสน์ : ผู้ก่อฐานวงการกลอน

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-สนธิกาญจน์ กาญจนาสน์ : ผู้ก่อฐานวงการกลอน

แม้อยู่ห่างต่างถิ่นแผ่นดินไหน ถ้าวันใดคิดถึงถิ่นแผ่นดินสยาม จงมองดาวพราวพร้อยลอยฟ้างาม เพราะทุกยามฝากใจไว้กับดาว กลอนบทนี้คือตอนขึ้นต้นของจาก เจ้าพระยาถึงฝั่งโขง บทกลอนที่กลายเป็นบทเพลงไพเราะ สามารถตรึงความรู้สึกของผู้ฟังไว้ด้วยความงดงามของถ้อยคำ คือผลงานสำคัญชิ้นหนึ่งของ สนธิกาญจน์ กาญจนาสน์ นักกลอนผู้ก่อฐานวงการกลอน

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-ชื้น ขวัญเยื้องพันธุ์ : ช.สัจจวจี กวีเพื่อชีวิต

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-ชื้น ขวัญเยื้องพันธุ์ : ช.สัจจวจี กวีเพื่อชีวิต

ชื้น ขวัญเยื้องพันธุ์ เจ้าของนามปากกา ช.สัจจวจี กวีในยุควรรณกรรมเพื่อชีวิต มีผลงานกลอนและเรื่องสั้นลงในหนังสือพิมพ์ต่างๆ มากมาย ชื้น ขวัญเยื้องพันธุ์ เกิดที่อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เมื่อวันศุกร์ที่ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2475 เป็นบุตรของนายหมุ่ย และนางซ้วน ขวัญเยื้องพันธุ์ สมรสกับนางชุติมา (ชุลี) จันทร์เพ็ญ มีบุตรชาย 2 คน หญิง 1คน

files110411114513

บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม-จิระนันท์ พิตรปรีชา : กวีซีไรต์ชาวตรัง

ดอกไม้ ดอกไม้จะบาน บริสุทธิ์กล้าหาญ จะบานในใจ ดอกไม้จะบาน คือชื่อของบทกวีชิ้นนี้ผลงานเด่นยุคแรกๆซึ่งสามารถแปรเปลี่ยนเป็นบทเพลงและแพร่หลายในสื่อต่างๆ ยืนยงมาจนปัจจุบันบอกถึงความเป็นตัวตนบางด้านของผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งผสานสายเลือดความเป็นตรังเข้ากับประสบการณ์แต่ละย่างก้าวของชีวิตจนในที่สุดได้รับการประกาศชื่อเป็น “กวีซีไรต์” หรือรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์จากอาเซียน(THE S.E.A. WRITE AWARD) ประจำปี 2532 จากบทกวีนิพนธ์เรื่องใบไม้ที่หายไป